class="post-template-default single single-post postid-11004 single-format-standard siteorigin-panels siteorigin-panels-before-js">

เมืองไทย 9960 (บำนาญแบบลดหย่อนได้)

จำนวนคนที่ดู 258 ครั้ง

 อายุรับประกันภัย : 20-55 ปี
 ระยะเวลาคุ้มครอง : ครบอายุ 99 ปี
  ระยะเวลาชำระเบี้ย : ถึงอายุ 59 ปี

รายละเอียดแผนความคุ้มครอง

  • ทำได้ตั้งแต่อายุ 20 - 55 ปี
  • รับเงินบํานาญตั้งแต่อายุ 60 - 99 ปี (รวม 40 ปี)
  • รับเงินบำนาญคืนปีละ 12%
  • เลือกรับเงินบำนาญแบบรายปีหรือรายเดือนก็ได้
  • ลดหย่อนภาษีได้
  • รับรองเงินบำนาญที่จ่าย 10 ปี
  • จุดเด่นของแผนนี้จะได้ความคุ้มครองเมื่อเสียชีวิตตามจำนวนทุนประกัน (ไม่ใช่ตามเบี้ยประกันที่จ่ายมา) ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มคุ้มครอง เช่นในตัวอย่างก็จะได้ความคุ้มครอง 1,000,000 บาท

ตัวอย่างตารางผลประโยชน์ เพศหญิง อายุ 35 ปี

  • เบี้ยประกัน 63,620 บาทต่อปี จ่ายเบี้ยถึงอายุ 59 ปี
  • รับเงินคืน 12% คิดเป็นปีละ 120,000 บาท (หรือขอรับเป็นรายเดือนๆละ 10,000 บาท) ตั้งแต่อายุ 60-99 ปี
  • จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท และถ้าลูกค้าเสียชีวิตในปีที่มูลค่าเวณคืนมากกว่าทุนประกัน ก็จะได้รับเงินเท่ากับมูลค่าเวณคืณ (ได้จำนวนที่มากกว่า) เช่น เสียชีวิตตอนอายุ 54 ปี ผู้รับผลประโยชน์จะได้ 1,332,000 บาท (ทั้งๆ ที่ทุนประกันแค่ 1,000,000 บาท)
  • รวมเงินบำนาญทั้งหมดกรณีอยู่ครบสัญญา 4,800,000   บาท

คำถามที่พบบ่อย

Q: ใครที่สามารถทำประกัน เมืองไทย 9960 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) ได้บ้าง
A: ทำได้ตั้งแต่อายุ 20 - 55 ปี

Q: ความคุ้มครองขั้นต่ำที่สามารถซื้อได้ของ แบบประกันภัย เมืองไทย 9960 (บำนาญแบบลดหย่อนได้) คือเท่าไร
A: 100,000 บาท

Q: ต้องตรวจสุขภาพไหม
A: ผู้ทำประกันต้องแจ้งข้อมูลสุขภาพตามจริงให้บริษัทฯ ทราบ โดยการขอตรวจสุขภาพจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทฯ

Q: ถ้าทำประกันนี้แล้วจะยังสามารถซื้อสัญญาอื่นเพิ่มเติมได้ไหม
A: สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมต่างๆ แนบท้ายกรมธรรม์ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณารับประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมนั้น

Q: ถ้าหากสมัครทำประกันนี้และผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว เบี้ยประกันจะถูกปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ทำประกันหรือไม่
A: เบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายสำหรับปีกรมธรรม์ถัดไปจะเท่าเดิม (เบี้ยประกันภัยไม่ปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ) โดยลูกค้าจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยปีต่ออายุก่อนหรือภายใน 31 วัน นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย

Q: ประกันนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม
A: สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงิน ฉบับ 194 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

Q: จะได้รับเงินบำนาญตอนไหน
A: จะได้รับเงินบำนาญแบ่งเป็น 2 กรณี

  1. ผู้ทำประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา : จะได้รับเงินบำนาญตั้งแต่วันครบรอบปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยครบอายุ 60 ปี จนถึงวันครบรอบปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยอายุครบ 99 ปี โดยรับเงินบำนาญปีละ 12% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มสัญญา
  2. กรณีผู้ทำประกันภัยเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับเงินบำนาญครบ 10 ปี : บริษัทฯ จะรับรองการจ่ายเงินบำนาญจนครบ 10 ปี โดยรับเงินเป็นจำนวนเดียว ซึ่งเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินบำนาญที่ยังไม่ได้จ่ายจนครบ 10 ปี (ตามตารางมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญ) และถือว่าสัญญาประกันภัยสิ้นสุด

Q: ประกันนี้ให้ความคุ้มครองยังไงบ้าง

  1. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ในช่วงก่อนรับเงินบำนาญ (ก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยครบอายุ 60 ปี) บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เท่ากับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มสัญญา หรือมูลค่าเวนคืนในขณะนั้น (แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
  2. กรณีผู้ทำประกันภัยเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับเงินบำนาญครบ 10 ปี : บริษัทฯ จะรับรองการจ่ายเงินบำนาญจนครบ 10 ปี โดยรับเงินเป็นจำนวนเดียว ซึ่งเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินบำนาญที่ยังไม่ได้จ่ายจนครบ 10 ปี (ตามตารางมูลค่าปัจจุบันของเงินบำนาญ) และถือว่าสัญญาประกันภัยสิ้นสุด

Q: ถ้าทำประกันนี้แล้วอยากยกเลิกกรมธรรม์(เวนคืนกรมธรรม์)จะได้ไหม
A: ถ้าต้องการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนที่จะได้รับเงินบำนาญ สามารถยกเลิกได้ โดยรับเงินค่าเวนคืนตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ แต่หากรับเงินบำนาญแล้วจะไม่สามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ได้ ทั้งนี้การขอเวนคืนกรมธรรม์ผู้เอาประกันภัยอาจจะถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร

Q: บริษัทฯ จะไม่คุ้มครองในกรณีใดบ้าง

  1. กรณีผู้ทำประกันภัยฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ หรือตามการต่ออายุ หรือตามการกลับคืนสู่สถานะเดิมของกรมธรรม์ครั้งสุดท้าย หรือวันที่บริษัทฯ อนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งนี้เฉพาะในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
  2. กรณีผู้ทำประกันถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
  3. กรณีผู้ทำประกันแจ้งอายุไม่ถูกต้อง และบริษัทฯ พิสูจน์ได้ว่าในขณะทำสัญญาประกันภัยอายุที่ถูกต้องอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติของบริษัท

แบบประกันที่เกี่ยวข้อง