แชร์ไอเดียอายุ 30+  ออมเงินแบบไหนดี

ถ้าวันนี้ทุกคนอายุ 30 แล้วเราคือเพื่อนกัน ถ้าเราเป็นเพื่อนกันเราก็คงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งๆ ดีเหมือนกับที่เราได้ จริงไหมครับ?? “ประโยคนี้คือคำพูดที่ผมได้บอกไว้กับเพื่อน ว่าพวกเมิง (ขออนุญาติใชคำหยาบเพื่อให้ได้อถรรถเหมือนตอนที่คุยกับเพื่อนครับ) ควรเริ่มเก็บเงินได้แล้วนะ ไม่ใช่มัวแต่ใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด เนี่ย แป้บๆ ตอนนี้พวกเราก็อายุ 30 แล้ว เวลาผ่านมาไวมาก และเวลาไม่เคยรอ อีกไม่นานก็คง 35 40 45 50 55 60 แล้วก็เกษียณ ถ้าไม่เริ่มออมเงินวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่วะ อีกอย่างนึงอย่างน้อยตอนแก่ไป อยากไปเที่ยวไหนด้วยกันก็ยังมีเงินที่เราเก็บนี้ไปเที่ยวเดียวไง ถ้ามีแต่กุเก็บคนเดียว ไปเที่ยวคนเดียวมันก็เหงาสิว่ะ อยากให้เพื่อนไปด้วย ขนาดตอนนี้พวกเราทำงานมีเงินกัน บ้างครั้งจะเที่ยวทีก็ต้องวางแผนเก็บเงินกันก่อน แต่พอถึงตอนนั้นงานก็ไม่มีให้ทำแล้วไม่เริ่มเก็บตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน” เรื่องที่คุยกับเพื่อนตอนนี้กลายเป็นว่าเรื่องเก็บเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัวเรื่องลูก เรื่องเก่าๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่คุยเรื่องเรื่องเที่ยวกัน ตามทฤษฏีว่ากันว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 10% ของรายได้ที่ได้ต่อเดือน ถ้ารายได้เยอะก็ออมเยอะ ถ้ารายได้น้อยก็ออมน้อย รายได้เฉลี่ยของคนอายุ 30 ปีทำงานบริษัทเอกชน ที่ได้ฟังมาส่วนใหญ่ก็มีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า ฉะนั้นเงินที่เราควรออมก็อยู่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่จะว่าไปแล้วออม […]

วิธีคิดดอกเบี้ยเงินฝาก

ช่วงกลางปีแบบนึ้น่าจะเป็นช่วงที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้กับคนที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร มีใครได้ลองเช็คดูหรือยังครับว่าได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันบ้าง จริงๆ ผมก็ลืมไปแล้วเหมือนกันว่าธนคารจ่ายดอกเบี้ยแต่เห็นเพื่อนโพสในเฟสบุ๊คเลยเข้าไปดูของตัวเอง ได้ดอกเบี้ยพอกินปิ้งย่างได้สักมื้อนึง ?? วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมดอกเบี้ยบ้างคนได้น้อยทบางคนได้เยอะ ธนาคารคิดดอกเบี้ยยังไงกันนะ สิ่งที่นำมาใช้คิดดอกเบี้ย เงินต้นที่เราฝากไว้ อัตราดอกเบี้ยของบัญชีนั้นๆ ระยะเวลาที่เราฝาก อีกนิดนึงครับแม้ว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารแจ้ง เช่น 1.6% หรือ 0.5% ต่อปี ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราแบบรายวันเลยนะครับ แต่แค่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยแบบทุกครึ่งปีหรือเมื่อครบปี นั่นเองมาดูตัวอย่างกันครับ แบบที่ 1 ฝากเงินเต็มปีหรือครึ่งปี 1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท 2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ […]

ประกันชีวิตพ่อแม่ – ประกันสุขภาพพ่อแม่

เมื่อประกันชีวิตและประกันสุขภาพไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่อื่นต่อไป สมัยนี้วัยหนุ่มสาวที่เริ่มทำงานหรือวัยกลางคน เริ่มทำประกันชีวิตไว้กันแล้วเพราะพวกเค้าคิดว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย และไม่ใช่แค่พวกเค้าทำให้ตัวเองนะครับ ยังทำเผื่อไปถึงพ่อกับแม่ด้วย มาดูเหตุผลที่ผมได้รวบรวมมาว่า ทำไมวัยหนุ่มสาวเค้าถึงทำประกันชีวิตเผื่อไปยังพ่อแม่ด้วย “เอาตามตรง พ่อแม่ไม่ได้รวยมาก ถ้าท่านเป็นอะไรไป มันต้องมีค่าใช้จ่ายแน่ๆ ทั้งค่าจัดงานศพ หนี้ที่ท่านมีไว้อีก คนที่รับผิดชอบต่อก็เป็นเรา ถ้าท่านไม่มีประกันชีวิต เราคือคนที่จะลำบาก”  จากเพื่อนคนหนึ่งที่สนใจทำประกันให้พ่อกับแม่ “พ่อ แม่ของใครๆ ก็รักนะ เวลาท่านจากไปเป็นใครก็ต้องเสียใจปะ แต่ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ไม่ได้ว่าเราเห็นแก่เงินนะ แต่เงินมันก็สำคัญในการใช้ชีวิตมีเงินก้อนที่ท่านทิ้งไว้ให้สักก้อนก็ยังดี” น้องท่านหนึ่งที่ทำประกันให้กับแม่ เอาละ มาต่อที่เคล็ดลับการเลือกประกันชีวิตให้พ่อกับแม่ครับ ผมเชื่อว่า พ่อ แม่ แต่ละคนอายุไม่เท่ากันแน่ อายุเป็นตัวกำหนดเบี้ยประกัน ถ้าอายุมากเบี้ยก็ประกันก็จะสูง อายุน้อยเบี้ยก็จะถูก แล้วเราจะเลือกทำประกันแบบไหนได้บ้าง ถ้าอยากทำประกันชีวิตแบบที่ท่านเสียไปแล้วได้เงินก้อน 1. ประกันชีวิตพ่อแม่ แผน 1 คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี ,จ่ายเบี้ย 20 ปี ทุนประกันที่คุ้มครองเริ่มต้น 200,000 บาท เบี้ยจะคิดตามอายุ ณ วันที่ทำและคงที่ตลอดสัญญา […]

ซื้อประกันแบบไหนเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

วางแผนซื้อประกันลดหย่อนภาษีกับอู๋และเมืองไทยประกันชีวิต มีแผนไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูกันแบบไหนเหมาะกับเรา ปัจจุบันการออมเงินในประกันชีวิตหรือการซื้อประกันชีวิตสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ มี 3 แบบดังนี้ ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์, ประกันสุขภาพ, ประกันแบบบำนาญ ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ หลายคนสับสนว่าประกันชีวิตแบบไหนบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ คำตอบคือ ประกันชีวิตทั้งแบบตลอดชีพที่คุ้มครองยาวๆ ไปจนถึงอายุ 80 ปีหรือ 99 ปี หรือประกันชีวิตที่หลายคนเรียกว่าประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ประชีวิตตลอดชีพ เมืองไทย สมาร์ทโพรเทคชั่น 99/20 ประชีวิตตลอดชีพ เมืองไทย แฮปปี้ รีเทิร์น 99/7 ประกันสะสมทรัพย์ รับบำนาญ แฮปปี้ รีไทร์  60 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย ซุปเปอร์ เซฟเวอร์ 25/16 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย เอ็กซ์ตร้า เซฟวิ่ง 15/5 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย สมาร์ทลิงค์ 15/6 (Global) ประกันสุขภาพ ลดหย่อนด้วยประกันสุขภาพได้ทั้งเงินภาษีคืนและได้ความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วย ซ่าได้ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน […]

ประกันชีวิตและสุขภาพสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน (LGBT)

ปัจจุบันโลกเราเต็มไปด้วยความหลากหลาย ต่างเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งความคิด มุมมอง ทัศนคติ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องความรัก…ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ทุกวันนี้คู่รักไม่จำกัดให้อยู่เฉพาะเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น เพราะ “เพศ” ไม่ใช่ข้อจำกัดสำหรับความรักอีกต่อไป เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกวันนี้โลกเราก้าวไปไกลกว่านั้น ผ่านการเติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐาน และสิทธิบางประการที่พึงมีในฐานะคู่รัก เช่น การบริหารจัดการทรัพย์สิน ตลอดจนการทำประกันชีวิต ในเมื่ออนาคตคู่รักอาจจะไม่มีลูก หลานหรือคนที่ค่อยพึ่งพาและสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าท่องเที่ยว ฯลฯ ทำให้ต้องมีการวางแผนการเงินและสร้างรายรับที่จะนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำมากเป็นพิเศษ นั่นก็คือ “การวางแผนเกษียณ” จะเพศไหนก็รักกันได้ เพราะความสุขคือความรักที่เท่าเทียม ด้วยความเข้าใจและให้ความสำคัญกับทุกความรัก โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกรูปแบบของความรักและการใช้ชีวิตให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ซึ่งรวมถึงกลุ่มคู่รัก LGBT ที่สามารถเลือกแบบประกันชีวิต  ให้ทุกๆ ความรักสามารถเข้าถึงทุกบริการได้อย่างเท่าเทียม พร้อมส่งต่อความรักและความสุขให้กับคนที่คุณรักอย่างมั่นคง โดยสามารถระบุผู้รับประโยชน์เป็นคนที่คุณรักแม้จะเป็นเพศเดียวกันได้ เพียงระบุความสัมพันธ์ ด้วยคำว่า “คู่ชีวิต” โดยไม่มีการขอเอกสารแสดงความสัมพันธ์เพิ่มเติม   แบบประกันที่รองรับ : สมัครได้ทุกแบบประกันของเมืองไทยฯ ไม่มีข้อจำกัด   ระบุความสัมพันธ์ : ระบุว่า “คู่ชีวิต”  เอกสารที่ใช้ […]

1 2 3