อิสรภาพทางการเงินมีไปเพื่ออะไร

ทุกวันนี้ทุกคนก็ล้วนอยากมีอิสรภาพทางการเงินรวมถึงอู๋ด้วยที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินมานานแล้วและก็ได้เริ่มสร้างอิสรภาพทางการเงินของตัวเองมา 2-3 ปีแล้ว แต่ว่าหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอิสรภาพทางการเงินคืออะไร เราจะเริ่มต้นยังไง อู๋ได้มีโอกาสฟังคลิปของคุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ได้เล่าไว้เกี่ยวกับเรื่องอิสรภาพทางการเงิน อยากสรุปที่ฟังมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ อิสรภาพทางการเงินคืออะไร การใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากจะเป็นซึ่งมาตรฐานของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน โดยไม่ต้องทำงานหรือกังวลเรื่องของการใช้เงิน การจะมีอิสรภาพทางการเงินได้คือต้องมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้เกี่ยวกับคำว่ารวย แต่การมีเงินมากหรือเงินน้อยก็สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยรายได้แบ่งเป็น 2 แบบคือ รายได้ที่ต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน (Active Income) เช่น ทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ ธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไงก็ต้องทำทุกวันไปเรื่อยๆ หยุดเมื่อไหร่ก็จะไม่มีรายได้ รายได้ที่เราไม่ต้องทำงาน (Passive Income) ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการแบ่งเงินในส่วนรายได้ที่เราทำงาน แบ่งออกมาเก็บสะสมไว้หรือลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน เช่น ฝากไว้รับดอกเบี้ย ซื้อหุ้นโดยได้ผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า แต่บางสินทรัพย์อาจจะไม่ใช้การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Passive Income เพราะต้องมีการติดตามผลทุกวัน มีการเก็งกำไร มีการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นเก็งกำไร ทองคำที่ซื้อๆขายๆ หรือ เหรียญดิจิตัล ฉะนั้นการจะมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน (Passive Income) […]

5 สิ่งต้องรู้สู่อิสรภาพทางการเงิน

การมีอิสรภาพทางการเงินก็เหมือนการเดินทางที่เราต้องอาศัยแผนที่เช้ามาช่วยเพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น การมีอิสรภาพทางการเงินก็เช่นกันก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทิศทางที่ถูกต้อง โดยทุกคนควรจะต้องรู้ 5 สิ่งต่อไปนี้ 1. เป้าหมายต้องชัดเจน เป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำงานราชการมา พอใช้กับรายได้ เงินบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณ พอใจกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ได้รับหลังเกษียณ อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนที่ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้มีเงินบำนาญแต่ยังจำเป็นที่ต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้หลังเกษียณ ฉะนั้นจะต้องรู้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเงินก้อนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ตัวอย่างบทความการคำนวณเงินใช้หลังเกษียณที่ได้เคยเขียนไว้ (คลิ๊ก) 2. ขยันและประหยัด ขยันคือการทำงานที่สร้างรายได้ให้สม่ำเสมอหรือเกือบสม่ำเสมอ เช่น งานประจำ ธุรกิจส่วนตัว งานฟรีแลนซ์ หรือเป็นงานที่เราทำแล้วได้เงิน ที่สำคัญเมื่อหาเงินได้แล้วต้องประหยัดนำเงินก้อนที่ได้มาสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย เนื่องจากในแต่ละปีเราอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เราอาจจะเผลอใช้ชีวิตหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่าต้องสร้างหนี้ไปตลอด จึงควรกันเงินที่ได้จากการทำงานมาออมหรือลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นเพื่อสามารถออมให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1 3. ศึกษาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ (Passive Income) Passive Income คือรายได้ที่จะเข้ามาโดยที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ควรมีความรู้และเข้าใจสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ ด้วยและที่สำคัญคือต้องรู้ว่าสินทรัพย์นั้นๆเป็นสินทรัพย์ที่จะมีกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า หรือไม่มีกระแสเงินสดรับแต่คิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ นาฬิกา พระเครื่อง อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 4. อดทนและมีวินัย […]

3 คำศัพท์ที่ควรรู้ในการอ่าน Fund Fact Sheet กองทุนรวม

ความผันผวนของผลตอบแทน ความผันผวนของผลตอบแทน (Standard Deviation: S.D.) คือ ค่าความเบี่ยงเบนของผลตอบแทน ตัวอย่าง: กองทุน A มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 5 % มีค่าความผันผวน (S.D.) 3 % หมายความว่า กองทุนรวม A คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5 ต่อปี แต่มีโอกาสที่ผลตอบแทนจะไม่เป็นไปตามคาดหวังคือจะผันผวนอยู่ในช่วง 5 % และ + S.D. ( 3 %) คืออยู่ระหว่าง 2 % ถึง 8% อันดับ Percentile เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับกองทุนอื่น ที่มีนโยบายการลงทุนในรูปแบบเดียวกัน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ได้จัดทาตารางเพื่อเปรียบเทียบผลการดาเนินงานและความผันผวนของผลตอบแทนในรูปแบบ Peer Percentile Percentile ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลำดับ 5th Percentile หมายถึง ผลการดำเนินการอยู่ใน […]

5 อันดับ โรคมะเร็งในหญิงและชาย

มะเร็งเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่คนไทยเจ็บป่วยมากที่สุดและยังมีแนงโน้มว่าจะเพิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจุบันรักษามะเร็งนั้นจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น รักษาได้ดีขึ้นแต่ก็ต้องตรวจเจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะได้วางแผนในการรักษา หลายคนยังคิดว่ามะเร็งเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัวและคิดว่าคงไม่เกิดกับเรา แต่ลืมไปว่ามะเร็งต่างๆ ล้วนเกิดจากการใช้ชีวิตของเราทั้งนั้น และคนรอบข้างของคนที่ป่วยเป็นมะเร็งมักจะเคยพูดคุยกับผู้ป่วยบ้าง สิ่งที่ได้ยินคือ “ก็ไม่คิดว่าจะเป็นเหมือนกัน” รู้หรือไม่ หญิง-ชายไทย ป่วยเป็นโรคมะเร็งอะไรเยอะที่สุด โรคร้ายแห่งยุคสมัยที่คร่าชีวิตคนปีละหลายล้านคนคงหนีไม่พ้น “โรคมะเร็ง” ติดอัยดับท็อป 3 อันดับโรคที่ผู้คนป่วยละเสียชีวิตมากที่สุดมายาวนาน และไม่เคยลงจากอันดับเลย แถมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 5 อันดับโรคมะเร็งของเพศหญิง อันดับ 1 มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเต้านม พบมากในผู้หญิงตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไป โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม โดยสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมมีหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ อายุ มีประจำเดือนตอนอายุน้อย ๆ หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ เป็นต้น อันดับ 2 มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนทำงาน อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่มักปรากฏให้เห็นเช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด มีอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น อันดับ 3 มะเร็งตับ โรคมะเร็งตับ เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ […]

“เงินเฟ้อ” ต้องวางแผนการเงินอย่างไร?

ช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีเหตุการณ์โลกมากมายเปลี่ยนแปลงแบบรายวัน แม้กระทั่งเรื่องของ “เงินเฟ้อ” ในประเทศไทย ที่มีอัตราเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ราคาปรับขึ้นส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่เพียงแค่นั้นยังสงผลกระทบกับเงินเก็บของเราด้วยเนื่องจากเงินเฟ้อที่ทำให้สินค้าและบริการราคาสูงขึ้น แต่เงินที่เราเก็บหรือลงทุนนั้นไม่สามารถให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อได้ อยากรู้ว่าเงินเฟ้อส่งผลกระทบยังไงบ้าง อ่านต่อกันได้ที่นี่เลย หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแบบนี้เราจะรับมือได้ยังไง ลองมาดูวิธีรับมือหรือการวางแผนการเงินในภาวะเงินเฟ้อกัน แผนที่ 1 แบ่งเงินบางส่วนฝากธนาคารแทนการเก็บเงินไว้ที่ตัว เพราะเงินเฟ้อ หมายถึง มีเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป ทำให้สินค้าต่างๆ พากันขึ้นราคา ธนาคารอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อดึงดูดให้คนหันมาฝากเงินเยอะขึ้น เพื่อให้เงินในระบบไม่เยอะเกินไป รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันการกู้เงินไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน แผนที่ 2 ต่อมาจากการฝากเงินบางส่วน การแบ่งใช้จ่ายอย่างประหยัดก็คือข้อสำคัญ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะไหน การประหยัดเงิน รู้จักการออม เป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตมีหลายคนที่ได้รับผลกระทบ หากเรามีเงินสำรอง จากการใช้จ่ายอย่างฉลาด ทำให้เราไม่ล้มไปกับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ ถ้าใครที่มีการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เห็นว่าในแต่ละเดือนนั้น เรามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายไหนที่สามารถปรับลดหรือตัดออกได้ แต่ถ้าใครยังไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายก็อยากให้ลองเริ่มทำดูครับ แผนที่ 3 ซื้อของต่างๆที่จำเป็น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ราคาข้าวของจะค่อยๆ ทยอยขึ้นราคา จนถึงจุดที่เรารู้สึกว่าของแพง สิ่งที่ช่วยเราได้นั้นคือการซื้อของใช้จำเป็นกักตุนไว้เมื่อของเหล่านั้นยังราคาปกติ อย่างน้ำมัน หรือข้าวสาร […]

1 5 6 7 8 9 50