ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

หลายคนกำลังกังวลเกี่ยวกับการเสียภาษีดอกเบี้ย ที่กรมสรรพากรได้ประกาศไป ซึ่งมีเงื่อนไขว่า หากบุคคลใดได้รับดอกเบี้ยเงินฝากทุกบัญชีจากธนาคาร ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 15% ลองคำนวณอย่างง่ายเพื่อดูว่าเราต้องมีเงินต้นเท่าไร จึงจะเสียภาษีดอกเบี้ย ถ้าเป็นบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี เงินต้น = 20,000 บาท/0.5% ต้องมีเงินฝาก 4,000,000 บาท ถ้าเป็นบัญชีฝากประจำดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เงินต้น = 20,000 บาท/1.5% ต้องมีเงินฝาก 1,333,333 บาท จะเห็นว่า ถ้าหากเราจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15% ต้องมีเงินฝากถึง 4 ล้านบาท หรือ 1.3 ล้านบาทสำหรับบัญชีฝากประจำครับ ถ้าใครหากยังกังวลเกี่ยวกับการเสียภาษีดอกเบี้ย สามารถออมเงินไว้กับประกันชีวิต โดยเงินคืนที่ได้รับแต่ละปี ไม่ต้องเสียภาษีครับ ได้รับเต็มจำนวนเลย แผนเมืองไทย ซุปเปอร์ เซฟวิ่ง 15/3 เบี้ยประกัน 200,000 บาท ชำระเบี้ย 3 […]

พ่อแม่สอนลูกออมเงิน

#เงินทองต้องวางแผน ตอน..วางแผนการเงิน หากถามว่าอะไรจำเป็นในการใช้ชีวิต หลายคนคงตอบคำถามแตกต่างกันออกไป แต่คงมีหลายคนตอบเหมือนกันว่า “เงิน” เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในชีวิต ใช่ไหมครับ เกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนใช้เงิน ตั้งแต่ซื้อข้าว น้ำ เดินทาง ที่พัก เรียนหนังสือ บลาๆๆ พูดถึงเรื่องการวางแผนการเงิน หลายคนคงจะรู้สึกปวดหัว เพราะเรื่องเงินๆ ทองๆ เรื่องจัดการตัวเลขมันดูซับซ้อน แต่ถ้าพูดถึงเรื่องใช้เงิน กลับกลายเป็นเรื่องถนัดไม่ต้องฝึกไม่ต้องสอนก็ทำกันเองได้ เพราะตั้งแต่เด็กๆ เรามีพ่อแม่ คอยจัดการเรื่องเงินให้ หาเงินใช้ ให้เงินมาใช้โดยเราไม่ต้องคิดอะไร พ่อแม่บางครอบครัวก็รู้จักสอนลูกให้รู้จักเก็บเงิน รู้จักใช้เงินจนติดเป็นนิสัย แต่บางครอบครัว พ่อแม่ก็ไม่ได้มีเวลามาสอนรู้เรื่องพวกนี้ อีกทั้งในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยยังไม่มีวิชาเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน การวางแผนภาษี เมื่อนักเรียน นักศึกษาจบออกไปก็ต้องไปศึกษาเอง เรียนรู้ด้ายตัวเอง ทั้งๆ ที่เรื่องวางแผนการเงินเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับทุกคน หากมีคำถามว่าทำไมต้องวางแผนการเงิน ก็เพราะว่าชีวิตเราไม่ได้หยุดอายุไว้แค่ 10 ขวบ เราโตขึ้นทุกวัน วันใดวันหนึ่งก็ต้องหาเงินเองและใช้เงินที่หามาได้เอง ถ้าหากไม่มีความรู้เรื่องวางแผนการเงิน เราก็คงไม่สามารถจัดการกับเงินที่หามาได้ เงินที่ได้มาก็อาจหมดไปกับสิ่งไร้สาระ มีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา หรือเงินไม่พอใช้ได้ ชีวิตต้องแก่ขึ้นทุกวันหากวันที่เราไม่มีแรงทำงาน ก็จะไม่มีรายได้เข้ามาแต่ยังคงมีรายได้ต่อเนื่อง การวางแผนการเงินในวันนี้จึงมีความสำคัญไปถึงในอนาคตด้วย ถ้าหากวางแผนการออมเงิน […]

การใช้เงิน vs การหาเงิน

การใช้เงินมันง่าย แค่หยิบจ่าย ไม่ต้องคิดมาก แต่การหาเงิน ออมเงินมันยาก คนถึงไม่ยอมทำกัน เคยเป็นไหมครับ จะหาเงินแต่ละบาทมันยากจริงๆ คิดแล้วคิดอีกจะทำอะไรดี คิดแล้วก็ปวดหัว คิดไม่ออก เลิกคิดดีกว่า มัวแต่คิดไม่ยอมลงมือทำสักที แต่การใช้เงินมันง่ายเสียจริง อยากได้นั่น อยากได้นี่ ก็หยิบจ่าย ยิ่งตอนนี้ไม่จำเป็นต้องมีเงินสด แค่มีบัตรเครดิตก็ซื้อของได้แล้ว ซื้อมาก่อน เงินมีจ่ายหรือไม่มีไม่รู้ เอาความสุขตอนนี้ก่อนแค่นี้ครับ ง่ายมาก คนเรามักจะไม่อยากเครียด ไม่อยากปวดหัว ชอบอะไรสบายๆ ที่ไม่ต้องคิดเยอะ ผมก็เป็น ไม่ค่อยได้วางแผนรายรับรายจ่าย ไม่ได้พิจารณาให้ดีว่าของที่จะซื้อมันจำเป็นหรือแค่อยากได้ บางอย่างซื้อมาก็ใช้แปปเดียวหรือไม่ได้ใช้เลย เห็นบางคนบ่นมีรายได้เยอะ ทำงานมานาน แต่ไม่มีเงินเก็บเลย เป็นเพราะขาดการวางแผน ขาดการทบทวนรายจ่ายตัวเอง พอรู้ตัวอีกทีเงินที่ได้ก็หมดแล้ว ถ้าอยากเปลี่ยนนิสัยตัวเอง อยากมีเงินเก็บ ลองฝึกคิดฝึกวางแผนกันดูครับ รายได้เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายจำเป็นเท่าไหร่ จะออมเท่าไหร่ เขียนบนกระดาษไว้เลย ให้เห็นจนจำและทำเป็นนิสัย แค่เปลี่ยนความคิดชีวิตก็เปลี่ยน

ความคุ้มค่าของประกันโรคร้ายแรง

“หนูอยากทำประกันโรคร้ายแรงนะคะ แต่เบี้ยจ่ายไปไม่ได้คืน คิดว่าไม่คุ้ม” “อย่าคิดเรื่องกลัวไม่ได้คืนเลยครับ คิดดูว่าถ้าเป็นแล้วจะเอาเงินที่ไหนมารักษา” เบี้ยประกันชีวิตทุน 200,000 บาท โรคร้ายแรงทุน 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิต รวม 1,200,000 บาท เบี้ยต่อปี 8,000 บาท เป็นอะไรไป ได้ทุนชีวิต 1,200,000 บาท แม้จะเป็นเบี้ยทิ้ง หากคิดรวมๆ ต้องจ่าย 8,000 บาท 150 ปี ถึงจะเท่ากับเงิน 1,200,000 บาท คิดว่าจะอยู่ถึงไหม 150 ปี ตายปีที่ 20 จ่ายรวมๆ ก็แค่ 160,000 บาท แต่ได้ตั้ง 1,200,000 บาท มีเหตุผลอะไรที่ไม่คุ้ม ขอสรุปแบบดาร์คๆ นะครับ “ยิ่งตายเร็ว ยิ่งป่วยเร็วยิ่งคุ้ม”

ประกันชีวิต vs ประกันสังคม

สำหรับลูกค้าที่บอกว่ามีประกันสังคมอยู่แล้ว ลังเลว่าควรมีประกันสุขภาพเพิ่มไหม เพราะค่ารักษาแพงเหลือเกิน มาดูว่าประกันสังคมเบิกอะไรได้บ้าง ผมขอไม่พูดถึงการรักษาผู้ป่วยนอก เพราะค่ารักษาส่วนนี้เราสามารถรับผิดชอบเองได้สูงสุดไม่น่าเกิน 2,000 บาทต่อครั้ง สำหรับการรักษาผู้ป่วยใน รพ. เอกชน ค่าห้องวันละ 700 บาท ถือว่าน้อยมาก เพราะค่าห้องค่าอาหาร รพ เอกชน ราคาประมาณ 2,500 บาทขึ้น ถ้าอยากได้ห้องที่สะดวกสบายก็ประมาณ 4,000 ขึ้นไป (ขึ้นกับ รพ. ด้วยครับ) ค่าผ่าตัด 8,000-16,000 บาท ไม่ได้ถือว่าน่าเกลียดแต่ก็ยังถือว่าน้อยไป มีเพื่อนเคยเข้า รพ ผ่าตัดริดสีดวง หมดไปก็เกือบ 20,000 บาท และเคยอ่านเจอในกระทู้ แค่ผ่าตัดไส้ติ่งหมดเกือบ 200,000 บาท กรณีนี้หลายคนอาจจะเลือกใช้ รพ รัฐบาลได้ แต่ก็อย่างที่เห็น เพราะคิวเยอะมากและค่อนข้างรอนาน ถ้าคิดว่าเบี้ยไม่เหลือบ่ากว่าแรง การมีประกันสุขภาพก็น่าจะช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลไม่ต้องควักเงินตัวเองมาจ่ายได้ครับ

1 45 46 47 48 49 50