แบ่งเงินออมยังไงดีให้มีเหลือใช้ มีเงินเก็บและเงินงอกเงย

หลายคนยังไม่รู้ว่าเงินออมมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็ออมไว้ใช้ในวัตถุประสงต์ต่างกัน เราก็เลยเก็บเงินไว้ก้อนเดียว ทำให้นำไปใช้หมดหรือไม่กล้าใช้เลย ซึ่งอาจจะเสียโอกาสได้ ลองมาดูประเภทของการออมเงินแบบต่างๆ เพื่อให้เรามีเงินใช้ในวันนี้และวันข้างหน้ากันครับ 50% เงินส่วนนี้ใช้สำหรับออมเป็นค่าใช้จ่ายยามจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าส่วนกลาง ค่าประกันชีวิต หรือเมื่อยามจำเป็น 20% ออมไว้สำหรับท่องเที่ยวที่อยากจะไปหรือใช้ช่วงเทศการต่างๆ 20% ออมไว้ใช้ในระยะยาว เมื่อเกษียณหรือช่วงที่ไม่มีงานทำแล้วในอนาคต 10% ออมไว้สำหรับเรียนรู้เพิ่มเติมหรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่ตัวเองสนใจ เช่นไปเรียนภาษาเพิ่ม หรือเรียนทำทำอาหาร เมื่อเราแบ่งเงินออมเป็นสัดส่วนแล้วจะเห็นภาพชัดกว่ารวมเงินไว้ก้อนเดียว จะเห็นว่าเงินแต่จะส่วนเราออมไว้ใช้ทำอะไรบ้าง ไม่ต้องเสียดายที่จะนำเก็บออกมาใช้ แผนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามแบบที่เหมาะสมของแต่ละคนนะครับ ผมเชื่อว่าถ้ามีการวางแผนที่ดีแล้ว ไม่มีคำว่าลำบากแน่นอน =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

เริ่มต้นออมเงินวันละ 20 บาท

ออมเงินวันละ 20 บาท ทุกคนเคยเป็นกันไหมครับ อยากออมเงินแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง เห็นคนอื่นอวดเงินออมเป็นกองก็อยากทำได้บ้าง พอเริ่มทำไปได้สักพักก็ มีข้ออ้างนู่น ข้ออ้างนี่ทำให้ต้องเอามาใช้หมด แล้วก็เริ่มต้นออมใหม่ วนลูปเป็นแบบนี้จนไม่เคยออมให้ได้ถึงเป้าหมายหรือได้เงินก้อนสักที วันนี้ผมมาแชร์ไอเดียการออมเงินที่ตัวเองได้ทำตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่าทำยังไงถึงออมเงินได้จนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ครับ จุดเริ่มต้นของการออมเงิน ผมเชื่อว่าการจะออมเงินได้หรือไม่ได้เป็นนิสัยอย่างนึงที่เราต้องฝึก พอเราชินกับการออมแล้วเราจะทำเป็นนิสัยโดยไม่ต้องฝืน จากนั้นก็จะทำเองได้โดยอัติโนมัติ ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ยายสอนให้หยอดกระปุกทุกวัน ถ้าได้เงินจากน้าๆ ที่กลับจากกรุงเทพฯ ก็ให้แบ่งไปหยอดกระปุก ส่วนที่เหลืออยากได้อะไรก็เอาไปซื้อ พอโตขึ้นมาการออมเงินแบบหยอดกระปุกกับกก็ไม่ได้ทำเลย กลายเป็นการออมโดยหักจากเงินเดือน เงินพิเศษ หรือรายได้ที่เข้ามาตามที่เหมาะสมเช่น 500 บ้าง 1,000 บ้าง ตามแบบที่ผู้ใหญ่เค้าทำกัน จนเมื่อหลายปีก่อนอยู่ๆ เรื่องออมเงินเมื่อตอนเด็กของผมมันก็ผลุดขึ้นมาในหัว การออมเงินเล็กๆน้อยๆ จากการหยอดกระปุกที่ยายเคยสอนไว้ แม้จะไม่ได้เป็นเงินที่เยอะไรแต่ก็เป็นความสุขเล็กๆ ที่ทำให้คิดถึงตอนเป็นเด็ก แม้ว่าวันนี้ถึงจะทำงาน มีเงินเดือนแล้วจะหักเงินไว้ออมตามสัดส่วนที่ต้องการแล้ว ผมก็ยังกลับมาเก็บเศษแหรีญและออมแบงค์ 20 ควบคู่ไปด้วย ทำไมต้องวันละ 20 บาท หลังจากเรื่องออมเงินเมื่อตอนเด็กของผมมันก็ผลุดขึ้นมาในหัว ทำให้ผมอยากกลับมาออมเงินเหมือนตอนเด็กอีกครั้ง โดยได้ทดลองเริ่มจากเก็บเหรียญที่เหลือแต่ละวันมาใส่กระปุกที่เตรียมไว้ สิ้นเดือนก็เอามานับ รวมถึงลองวิธีอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น เก็บแบงค์ 50 บาท แต่โอกาสที่จะได้แบงค์ […]

วิธีการกดเงินของคนรวย

ปัญหาอย่างหนึ่งของการใช้เงินคือเงินมักหมดจากกระเป๋าโดยที่ไม่รู้ว่าใช้ไปกับอะไรบ้างและต้องเดินหาตู้เอทีเอ็มเพื่อกดเงินอยู่บ่อยๆ จนรู้สึกหงุดหงิดที่เราไม่สามารถบริหารเงินที่กดมาได้ คนบางประเภทจะกดเงินที่ละน้อยๆ เพราะกลัวว่ากดมาเยอะอาจจะเผลอใช้ไปจนหมด แต่หารู้ไม่ว่าการกดเงินที่ละน้อยและหลายครั้ง ยิ่งทำให้ใช้เงินเยอะกว่าเดิม ปัญหาคือถ้าเราเงินมาครั้งเดียวตั้งแต่ต้นเดือนก็อาจเผลอใช้ไปจนหมดก่อนจะถึงสิ้นเดือนเพราะเห็นว่ามีเงินอยู่เยอะ บางคนไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ใช้เงินและวางแผนเงินก้อนนั้นให้อยู่จนถึงสิ้นเดือนได้ มาดูทฤษฏี จากหนังสือ “ไม่ชอบประหยัด ไม่ถนัดตัวเลข ก็รวยได้” บอกว่า ถอนเงินเดือนละไม่เกิน 2 ครั้ง หนังสือ “สมองคนรวย สมองคนจน” ได้บอกไว้ว่า คนรวยมักจะกดเงินเป็นจำนวนเท่าเดิมในช่วงเวลาเท่ากัน ในหนังสือบอกไว้ว่า ให้วางแผนแต่จะเดือนสามารถใช้เงินได้เท่าไหร่และแบ่งครึ่ง เพื่อจะได้กดเงินมาใช้ 2 ครั้ง อาจจะเป็นวันที่ 1 และวันที่ 15 ในจำนวนที่เท่ากันจะช่วยให้เราควบคุมเงินก้อนนี้ภายใน 15 วันได้ แต่สำหรับผมที่เคยกดเงินบ่อยๆ การกดเดือนละสองครั้งยังรู้สึกว่านานเกินไป จึงเปลี่ยนมาเป็นกดเงินเดือนละ 3 ครั้ง ทุกวันที่ 1, 10 และ 20 ของทุกเดือน ในจำนวนเงินที่เท่ากัน หรือหากอาทิตย์ไหนที่มีรายจ่ายพิเศษเพิ่มเข้ามาก็เพิ่มจำนวนเงินในรอบนั้นๆ ทั้งนี้แต่ละคนอาจจะมีการใช้ชีวิตและการใช้เงินที่แตกต่างกันก็สามารถปรับวันที่และจำนวนได้ตามสไตล์ของตัวเอง วิธีนี้ทำให้ผมช่วยบริหารและใช้เงินตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละครั้งได้ เมื่อครบรอบวันกดเงินและยังมีเงินเหลือในกระเป๋าแสดงว่าเราบริหารเงินได้ดีและไม่ใช้จ่ายเกินกำหนดแถมยังมีเงินเก็บเพิ่ม หากครั้งไหนใช้เงินหมดก่อนรอบที่กำหนดต้องทบทวนดูว่าเราใช้เงินไปกับค่าอะไรบ้างเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปดูบัญชีรายรับรายจ่ายของเดือนก่อน ลองนำวิธีกดเงินของคนรวยจะหนังสือทั้งสองเล่มนี้ไปใช้ดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าการเกิดเงินทุกวันที่ที่เรากำหนดมันรู้สึกดีแค่ไหนและยิ่งมีเงินเหลือในวันที่ครบรอบมันยิ่งทำให้เรารู้สึกดีมากขึ้นที่สามารถบริหารการใช้เงินของตัวเองได้ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา […]

เก็บเงินทิ้งไว้ในกระปุกทำไม  เปลี่ยนมาออมแบบอื่นกันเถอะ

“เงินเดือนออกออมก่อน” ตอน….เก็บเงินทิ้งไว้ในกระปุกทำไม  เปลี่ยนมาออมแบบอื่นกันเถอะ ทุกวันนี้การหยอดกระปุกออมสินถือเป็นสิ่งที่ดี และว่าการทิ้งเงินไว้เฉยๆ อาจจะทำให้มูลค่าของเงินลดลง เนื่องจากค่าเงินเฟ้อ ทำให้สินค้าปรับตัวสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อน บ้านหลังละ 2 ล้าน บาท แต่ตอนนี้ปรับขึ้นเป็น 3-5 ล้านบาท หากเรามีเงินเก็บ 2 ล้านบาทตั้งแต่ตอนนั้นแต่ทิ้งไว้เฉยๆ ก็ไม่เพียงพอที่จะซื้อในในสมัยนี้ได้แล้ว การลงทุนมีหลากช่องทางแตกต่างกันไป – ฝากธนาคารสะดวกต่อการถอนมาใช่ แต่อาจจะได้ดอกเบี้ยน้อย กว่าอัตราเงินเฟ้อ – ออมกับประกัน ได้ทั้งเงินคืนและความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต แต่อาจจะมีระยะเวลานานหรือสั่นตามแผนประกันที่เลือก – ซื้อกองทุนตราสารทุน/ หุ้น ได้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ แต่มีความเสี่ยงขาดทุนและผันผวนของตลาด – ซื้อกองทุนตราสารหนี้ /พันธบัตร มีความน่าเชื่อถือเพราะออกโดยรัฐบาล แต่อาจจะต้องถือไว้ให้ครบกำหนด – กองทุน RMF ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี มีผลตอบแทนตามแบบกองทุนนั้นๆ วันนี้ทุกคนเลือกแผนการออมแบบไหนบ้างครับ? =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure […]

คุณพร้อมแค่ไหนถ้าเกษียณไปไม่อยาก “แก่และจน”

ช่วงนี้เห็นคนพูดถึงเรื่องเกษียณจนผมอยากหยิบยกประเด็นนี้มาพูดบ้างจะได้ไม่ตกเทรนด์ จากข่าวการยืดอายุเกษียณพนักงานราชการจากอายุ 60 ปี เป็น 70 ปี สาเหตุอาจมาจากปัจจุบันคนอายุ 60 ปียังสุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้และเทคโนโลยีทันสมัยใหม่ช่วยให้คนอายุยืน เจ็บป่วยน้อยลง รัฐบาลอาจจะกังวลว่าจะไม่มีคนทำงานต่อหรือเกษียณไปแล้วไม่มีรายได้เลยขยายเวลาออกไป ก่อนอื่นมาดูข้อมูลสถิติประชากรไทยก่อนดีกว่าครับ ข้อมูลสถิติประชากรไทย ข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กราฟสีฟ้าแสดงจำนวนประชากรแบ่งตามช่วงอายุในปี 2551 (10 ปีที่แล้ว) ส่วนกราฟสีชมพูแสดงจำนวนประชากรแบ่งตามช่วงอายุปี 2561 (ปีปัจจุบัน) จะเห็นว่าสัดส่วนของประชากรแต่ละช่วงอายุเปลี่ยนไป จำนวนประชากรแรกเกิดและเด็ก ช่วงอายุ 0-29 ปี ในปี 2551 มีจำนวน 14% เหลือเพียง 11% จำนวนประชากรวัยกลางคนและวัยทำงานช่วงอายุ 30-59 ปี ปี 2551 มีจำนวน 44% เพิ่มขึ้นในปี 2561 เป็น 45% วัยสูงอายุ/วัยเกษียณเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากโดยช่วงอายุ 60-69 ปี ในปี 2551 มีจำนวน 6% เพิ่มขึ้นในปี 2561 เป็น […]

1 43 44 45 46 47 50