แชร์ไอเดียอายุ 30+  ออมเงินแบบไหนดี

ถ้าวันนี้ทุกคนอายุ 30 แล้วเราคือเพื่อนกัน ถ้าเราเป็นเพื่อนกันเราก็คงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งๆ ดีเหมือนกับที่เราได้ จริงไหมครับ?? “ประโยคนี้คือคำพูดที่ผมได้บอกไว้กับเพื่อน ว่าพวกเมิง (ขออนุญาติใชคำหยาบเพื่อให้ได้อถรรถเหมือนตอนที่คุยกับเพื่อนครับ) ควรเริ่มเก็บเงินได้แล้วนะ ไม่ใช่มัวแต่ใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด เนี่ย แป้บๆ ตอนนี้พวกเราก็อายุ 30 แล้ว เวลาผ่านมาไวมาก และเวลาไม่เคยรอ อีกไม่นานก็คง 35 40 45 50 55 60 แล้วก็เกษียณ ถ้าไม่เริ่มออมเงินวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่วะ อีกอย่างนึงอย่างน้อยตอนแก่ไป อยากไปเที่ยวไหนด้วยกันก็ยังมีเงินที่เราเก็บนี้ไปเที่ยวเดียวไง ถ้ามีแต่กุเก็บคนเดียว ไปเที่ยวคนเดียวมันก็เหงาสิว่ะ อยากให้เพื่อนไปด้วย ขนาดตอนนี้พวกเราทำงานมีเงินกัน บ้างครั้งจะเที่ยวทีก็ต้องวางแผนเก็บเงินกันก่อน แต่พอถึงตอนนั้นงานก็ไม่มีให้ทำแล้วไม่เริ่มเก็บตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน” เรื่องที่คุยกับเพื่อนตอนนี้กลายเป็นว่าเรื่องเก็บเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัวเรื่องลูก เรื่องเก่าๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่คุยเรื่องเรื่องเที่ยวกัน ตามทฤษฏีว่ากันว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 10% ของรายได้ที่ได้ต่อเดือน ถ้ารายได้เยอะก็ออมเยอะ ถ้ารายได้น้อยก็ออมน้อย รายได้เฉลี่ยของคนอายุ 30 ปีทำงานบริษัทเอกชน ที่ได้ฟังมาส่วนใหญ่ก็มีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า ฉะนั้นเงินที่เราควรออมก็อยู่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่จะว่าไปแล้วออม […]

คุณมีประกันสุขภาพรุ่นไหนกับเมืองไทยประกันชีวิต

วันนี้อยากชวนทุกคนที่มีประกันสุขภาพกับเมืองไทยประกันชีวิตมาทำเช็คลิสกันสะหน่อยว่าตอนนี้ประกันกันสุขภาพที่มีอยู่ใช้รุ่นไหนกันบ้างครับ รุ่น1+  H&S + Extracare 80% Smart Health + Extracare 80% เรียกได้ว่าเป็นรุ่นแรกๆ ของประกันสุขภาพและทุกบริษัทก็ต้องมีแผนนี้ แผน H&S หรือประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย แผนนี้จะแยกค่าใช้จ่ายในการรักษาออกเป็นข้อๆ เช่น ค่าห้อง/ค่าอาหาร/ค่าบริการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าหมอ ค่าผ่าตัด เวลาเราเข้ารักษาตัว โรงพบาลก็จะเบิกค่ารักษาเป็นข้อๆ ตามสิทธิ์ที่เรามี มีเท่าไหร่บริษัทจ่ายเท่านั้น เกินก็จ้องออกเอง พิเศษกว่านั้นเมืองไทยประกันชีวิตมีตัวช่วยที่เรียกว่า Extracare ซึ่งจะได้ค่าห้องเพิ่มเข้ามา และค่ารักษาในข้อไหนเกิน Extracare จะช่วยจ่ายให้อีก 80% เช่น มีวงเงินค่ารักษา 20,000 บาทแต่โรงพยาบาลเรียกเก็บ 40,000 บาท มีส่วนต่าง 20,000 บาท Extracare ช่วยจ่ายให้อีก 16,000 บาท แผน Smart Health เหมาจ่ายหายห่วงได้ค่ารักษาเป็นก้อน ไม่ต้องมาคิดเล็กคิดน้อยเหมือนแผน H&S ได้ค่ารักษา 500,000 […]

อยากลดหย่อนภาษีเลือกอะไรดี

เรื่องเล่าจากรุ่นพี่ “ถ้าพี่เลือกได้พี่คงจะซื้อประกันมากกว่ากองทุน” เค้าบอกว่าคนเรามักจะเผยความในใจเวลากินเหล้าหรือพูดเรื่องบางอย่างออกมาเวลานั่งกินข้าว มากกว่าพูดบนโต๊ะทำงาน ไม่รู้ทุกคนเคยได้ยินเรื่องนี้ไหมครับ วันก่อนผมไปกินข้าวกับพี่คนนึงมา ช่วงนี้ตัวเองกำลังหัดเล่นหุ้น เลยไปขอคำปรึกษาพี่ว่าจะเลือกหุ้นตัวไหนดี ซื้อ-ขาย ยังไง ดูผลตอบแทนยังไงบลาๆ เพราะตอนนี้ผมซื้อแต่ประกันไว้ลดหย่อนภาษีกับกองทุนรวมนิดหน่อยที่เอาไว้ลงทุน พูดถึงเรื่องกองทุนแล้วก็เลยได้แชร์เรื่องกองทุนที่สนใจว่าตอนนี้ลงในกองไหนบ้าง กองไหนจะปันผล กองไหนดูแล้วกำลังขึ้น และที่สำคัญกองไหนที่ซื้อไว้ติดลบอยู่ พอมาถึงกองไหนที่ติดลบนี่แหละครับ ของขึ้นทั้งคู่เลย เพราะกองทุน LTF ที่ผมซื้อไว้ลดลงภาษีตอนนี้ติดลบ เกือบ 20% (15-19%) ส่วนของพี่เค้าก็ติดลบเยอะไม่แพ้กันเลย ดูแล้วยิ่งช้ำใจเพราะมันถึงครบกำหนดที่ขายคืนได้ แต่ดันขายไม่ได้เพราะมันติดลบอยู่ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะกลับมาเท่าเดิมหรือเป็นบวกอีกครั้ง ของผมซื้อไว้ไม่เยอะ ติดลบไปก็แค่ไม่กี่พัน แต่ของพี่เค้าน่าจะหลายหมื่นทีเดียว “รู้งี้พี่ซื้อประกันไว้ลดหย่อนแทนดีกว่า” ประโยคนี้แหละครับที่อยากนำมาเล่าต่อ หลายคนรู้ว่าการลงทุนในตราสารทุนหรือหุ้นมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงสูงที่จะติดลบเช่นกัน แต่กลับมองว่าประกันชีวิตให้ผลตอบแทนน้อยไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ความจริงแล้วประกันชีวิตออมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่ไม่เหมาะกับการลงทุนจริงๆแหละครับ การทำประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ไม่ใช่เป้าหมาบของการลงทุน แต่เพื่อคุ้มครองชีวิต คนทำได้ใช้เงิน มีเงินคืน ลดหย่อนภาษี ได้เงินก้อนเป็นอะไรไปคนที่เรารักก็รับผลประโยชน์ไป ที่สำคัญไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำขาดไหน GDP ติดลบ ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยลงแล้วลงอีก กองทุนจะติดลบ หุ้นจะล่วง ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็ยัง “การันตีผลตอบแทนและเงินคืน” ตามแบบที่ได้ทำไว้เหมือนเดิม ไม่ได้มาขอยกเว้นเงินคืน หรือขอเลื่อนจ่ายเงินคืนเลย ฉะนั้นแล้วการลงทุนหรือการลดหย่อนภาษีที่ดีทุนสุดคือการกระจายไว้หลายๆที […]

Mid Year Plan : วางแผนภาษีดีมีเงินคืน

ถ้าพูดถึงชีวิตปี 2563 วันนี้ก็น่าจะเดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว ห้างต่างๆ ก็รีบจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นยอดขายหลังจากที่ปิดห้างไปนานกว่าหลายเดือน ทำให้ลูกค้าอย่างเราๆ อัดอั้นจนอยากช้อปปิ้ง แต่ๆๆ ก่อนจะออกไปช้อปปิ้ง กับโปร Mid Year Sale มาทำ Mid Year plan กันก่อนเถอะ ปกติแล้วคนส่วนใหญ่ก็มักจะวางแผนการเงิน วางแผนลดหย่อนภาษีกันปลายปี รอดูรายได้ทั้งปีและโบนัสที่จะได้ก่อน แต่ก็มีหลายคนที่พลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกปีเพราะกว่าจะถึงตอนนั้นก็เตรียมตัวไม่ทันแล้ว วันนี้อยากจะชวนทุกคยมาสำรวจภาพรวมรายได้ของตัวเองว่าครึ่งปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้างและจะเตรียมตัว วางแผนภาษีกันยังไงบ้าง กลุ่มคนที่น่าจะคำนวณรายได้ ได้ง่ายสุดน่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะมีรายได้คงที่ทุกเดือน หรือถ้าถูกลดเงินเดือนก็ยังพอประมาณได้ สมมติมีรายได้เดือนละ 35,000 บาท ทั้งปีน่าจะมีรายได้รวมทั้งหมด 420,000 บาท – หักประสังคม 9,000 บาท – ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท – ค่าลดหย่อน 60,000 บาท – เหลือรายได้สุทธิไปคำนวณภาษี 191,000 บาท แต่ถ้าเรามีสิทธิลดหย่อนอื่นๆ […]

เหตุผลที่ต้องเริ่มออมเงิน ตั้งแต่วันที่ยังมีรายได้

มีเรื่องมาเล่าเป็นเรื่องเมื่อตอนผมเริ่มทำงานที่แรกเลยครับ วันนั้นได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินที่บริษัทจัดให้ มีกราฟนึงน่าสนใจมาก ผมได้ถ่ายรูปไว้และเขียนเป็นบล๊อกไว้ในเว็บไซต์ของตัวเอง พอได้เข้าไปอ่านอีกครั้งยอมรับว่าเขียนได้แย่มาก อ่านแล้วงงไปหมด ฮ่าๆ วันนี้ขอยกกราฟนั่นมาเขียนอธิบายใหม่อีกครั้ง หวังว่าจะอธิบายได้เข้าใจและละเอียดมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาหลายปี ในกราฟแบ่งข้อมูลของเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนอายุ 30 ปี, อายุ 30-60 ปีและอายุ 60 ปีขึ้นไปหลายคนพอเดาได้ว่าสาเหตุที่แบ่งแบบนี้เพราะแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุตามรายได้หรือการทำงานของเรานั่นเอง ช่วงก่อนอายุ 30 ปี เป็นช่วงที่เริ่มทำงานกัน บางคนเริ่มตอนอายุ 20 ปี บางคนเริ่ม 25 ปีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เยอะแต่มีรายจ่าย ตามการใช้ชีวิตในสังคมของแต่ละคน ยิ่งถ้าเป็นคนตามกระแสทุกอย่างอาจจะต้องเป็นหนี้เลยก็ได้ ช่วงอายุ 30-60 ปี หลังจากทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ สามารถเปลี่ยนงานหรือหางานที่มีรายได้สูง แต่อย่าลืมว่าบางคนรายได้ที่สูงมาพร้อมกับราจ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน อาจจะเป็นตำแหน่งงานที่ต้องเจอคน ต้องดูแลลูกน้องหรือค่าจ่ายส่วนตัวตามฐะนะทางสังคม ช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไปใกล้วัยเกษียณ รายได้จากงานประจำที่เรียกว่า Active Income ที่ได้ตลอดก็จะเริ่มหมดไปเพราะไม่ได้ทำงานแล้ว อาจจะเหลือรายได้เสริมบ้าง ที่เรียกว่า Passive […]

1 24 25 26 27 28 50