การลงทุนแบบ DCA | ซีรี่ย์การลงทุน EP.8

หลายคนที่ติดตามเพจของผมอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมานั่งแบงค์ 20 กับเหรียญที่หยอดกระปุกทุกเดือน ไม่รอให้ครบปีหรือครบตามเวลาที่ต้องการก่อนค่อยนับทีเดียว วันนี้จะมาเฉลยครับ จริงๆ ทุกคนสามารถรอนับตอนสิ้นปีทีเดียวเลยก็ได้จะได้รู้ว่าเราเก็บเงินได้เท่าไหร่แล้ว ค่อยเอาไปใช้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรก แต่สำหรับผมที่ต้องนับทุกเดือนเพราะผมใช้หลักการ DCA หรือ “Dollar Cost Averaging” เพื่อลงทุนในกองทุนรวมครับ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า DCA ที่ลงทุนในกองทุนรวมเป็นยังไงขอยกตัวอย่างบัญชีออมทรัพย์แบบทวีทรัพย์ละกันครับ บัญชีประเภทนี้คือเราเปิดบัญชีเท่าไหร่ เดือนต่อไปก็ต้องฝากเท่าๆ กันทุกเดือนจนครบสัญญา 12 เดือนหรือ 24 เดือน เพื่อฝึกนิสัยการออมของเรา สิ่งที่ได้เพิ่มมาคือดอกเบี้ยที่ฝากในแต่ละเดือน จากการที่เราฝากเงินเพิ่มขึ้นเพราะดอกเบี้ยคำนวณเป็นรายวัน DCA คืออะไร? สำหรับการ DCA ในกองทุนรวมคือการที่ซื้อกองทุกๆ เดือน ในยอดเงินที่เท่ากัน วันที่เดียวกัน ถ้ากองทุนนั้นมีมูลค่าหน่วยลงทุนสูง (NAV) ก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยลง แต่ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยลงต่ำ (NAV) ก็จะได้หน่วยลงทุนเยอะขึ้น เราก็จะได้มูลค่าที่เฉลี่ยๆ ครับ แต่สำหรับผมไม่ได้ DCA ตรงตามสูตรขนาดนั้น ผมซื้อทุกๆเดือน มีจำกัดว่าขั้นต่ำจะซื้อเท่าไหร่เช่น 1,000 บาท แต่ถ้าเดือนไหนมีเงินเพิ่มเยอะก็อาจจะซื้อเพิ่มมากขึ้นตามกำลังและอาจจะไม่ได้ซื้อวันที่เดิมของทุกเดือน ของเรียกของตัวเองว่า “DCA ประยุกต์” […]

ดอกเบี้ยเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้

ผมว่าทุกคนในเพจนี้น่าจะรู้จักคำว่าดอกเบี้ยกันแต่จะรู้จักมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคน บางคนอาจจะเคยเรียนมานาน จบแล้วก็ลืมไปแล้ว วันนี้มารื้อฟื้นกันนะหน่อยนะครับ เด็กๆ อาจจะรู้จักดอกเบี้ยเงินฝากเพราะพ่อแม่สอนให้ออมเงินตั้งแต่เด็ก สอนให้ลูกฝากเงินแล้วบอกว่ามันได้ดอกเบี้ยนะลูก เข้าสู่วัยทำงาน มีเงินเดือนใช้ ก็สมัครบัตรเครดิตก็เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีก พอโตขึ้นอยากได้บ้านอยากได้รถ ไปกู้เงินมาซื้อ ก็เรื่องดอกเบี้ยอีก เชื่อไหมครับเราอยู่กับดอกเบี้ยแทบจะตั้งแต่เกิดจนแก่เลย แต่บางคนยังไม่รู้ว่าดอกเบี้ยมันคิดยังไง มีแบบไหนบ้าง และแต่ละแบบมันต่างกันยัง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการคิดดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของทุกคนกันครับ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยรถ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเรารู้ดอกเบี้ยแต่อย่างเป็นยังไงจะ เราก็จะรู้ว่าการจ่ายดอกเบี้ยแบบไหน ช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายได้ ✅ ดอกเบี้ยคืออะไร ✅ ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ ✅ การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก ✅ การคิดดอกเบี้ยอย่างง่าย ✅ การคิดดอกเบี้ยทบต้น ✅ ดอกเบี้ยคงที่ (FlatRate) ✅ ดอกเบี้ยลอยตัว (Amortization) =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

3 เทคนิคลงทุน | ซีรี่ย์การลงทุน EP.7

การลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ลงทุน แต่จะมี 3 วิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมกัน โดยทั้ง 3 วิธีหรือ 3 เทคนิคนี้เป็นเทคนิคสำหรับการซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมที่ทุกคนควรรู้จักก่อนที่จะไปลงสนามจริง บางคนอาจจะเคยใช้วิธีเหล่านี้มาบางแล้ว แต่ไม่รู้ว่าทางทฤษฎีเรียกว่าอะไร วันนี้มาทำความรู้จักกับทั้ง 3 เทคนิคการลงทุน.กองทุนรวมกันครับ 1. Market Timing  Timing the Market คือ การลงทุนโดยการจับจังหวะหรือหาเวลาลงทุนที่เหมาะสม หาโอกาสที่จะซื้อหุ้นหรือกองทุนในราคาต่ำเพื่อรอวันที่ปรับตัวขึ้น จะทำให้ไก้กำไร โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเวลาในการติดตามตลาดหรืออุตสาหกรรมที่ลงทุน โดยจะต้องรู้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจเกี่ยวกับประเทศที่เราจะลงทุน หรือหมวดอุตสาหกรรมที่เราสนใจนั้นเป็นยังไงบ้าง 2. Dollar Cost Averaging หรือ DCA Dollar Cost Averaging คือ การลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆ เดือนหรือช่วงเวลาที่เท่ากัน โดยเป็นการถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่า ณ เวลานั้นราคากองทุนหรือราคาหุ้นถูกหรือแพง บางเดือนอาจจะได้ราคาถูก บางเดือนอาจจะได้ราคาแพง แต่การซื้อแบบเฉลี่ยทุกเดือนทำให้เรามีโอกาสได้กำไรมากกว่า เหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร ดูตัวอย่าง 3. Combined Method Combined Method คือ […]

กองทุนรวม | ซีรี่ย์การลงทุน EP.6

กองทุนรวม คือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมากที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุนไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามประเภทของกองทุนและนโยบายของกองทุนนั้นๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารกองทุนให้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะนำมาปันผลให้กับผู้ที่ถือกน่วยลงทุนหรือผู้ที่ซื้อกองทุน (กองที่มีนโยบายปันผล) แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายปันผลก็จะสะสมกำไรไว้ทำให้เงินในกองทุนเพิ่มขึ้น ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องลงทุน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ มีมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ดูแลให้ มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายบริษัทหรือหลายประเภทสินทรัพย์ ประเภทกองทุนรวม การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน โดยการแบ่งกองทุนรวมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้ แบ่งตามการไถ่ถอนคืน กองทุนเปิด (Opened – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุโครงการไว้หรือไม่กำหนดก็ได้ เมื่อกองทุนมีการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ไปแล้ว ก็ยังสามารถซื้อได้อยู่  การขายกองทุนก็สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆ เช่น ก่อนเวลา 15.30 น. จะได้เงินเมื่อผ่านไป T+1 วัน กองทุนปิด (Closed – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุไว้ ไม่สามารถซื้อระหว่างที่กองทุนยังดำเนินการอยู่ หรือว่าขายกองทุนก่อนครบกำหนดได้ แบ่งตามนโยบายการลงทุน กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นหรือเงินฝากอายุไม่เกิน 1 […]

หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5

จากบทความเรื่อง หุ้นสามัญ ยังมีหุ้นอีกหนึ่งประเภทที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันแต่อาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างต่างกัน วันนี้จะพามารู้จักกับอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หุ้นบุริมสิทธิ” ครับ หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของร่วมเหมือนกับหุ้นสามัญ แต่ต่างกันตรงผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญและอัตราคงที่ สิทธิของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ มีความเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราคงที่ กรณีธุรกิจเลิกกิจการจะมีสิทธิในทรัพย์สินหลังจากเจ้าหนี้แต่ได้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ หุ้นสามัญมีสิทธิลงคะแนนเสียงแต่หุ้นบุริมสิทธิ ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ สะสมและไม่สะสมเงินปันผล เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิขึ้นอยุ่กับผู้บริหารว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลต่างกับการจ่ายดอกเบี้ย ถ้าหากไม่มีการจ่ายเงินปันผลก็จะสะสมมูลค่าไปเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าของบริษัทหรือหน่วยลงทุนเติบโตขึ้น ไถ่ถอนคืนและไม่สามารถไถ่ถอนคืน กรณีที่บริษัทต้องการเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทสามารถเลือกออก หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืน เพื่อที่จะสามารถเรียกคืนจากผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ร่วมรับและไม่ร่วมรับ หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับคือมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับคือ ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดไว้ แปลงสภาพได้และแปลงสถาพไม่ได้ หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพได้คือสามารถแปลงเป็นหุ้นสมัญได้ส่วน หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพไม่ได้ก็เหมือนหุ้นบุริมสิทธิทั่วไปประ รวมซีรีย์บทความการลงทุน การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1 ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2 ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3 ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4 หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5 […]

1 22 23 24 25 26 50