กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จาก…ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ลดหย่อนภาษีปี 2563 สวัสดีครับทุกคน มีแฟนเพจหลายท่านทักมาถามว่า เมื่อไหร่จะถึงคิวของธนาคารกรุงศรีอยุธยาบ้าง เพราะมีกองทุนหลายกองที่น่าสนใจเลย วันนี้มาตามคำขอแล้วครับ เนื่องจากทางกรุงศรีเค้ามีกองทุนให้เลือกเยอะตั้ง 7 กองเลยมาช้านิดนึงค้าบ Recap ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีแบบนี้ หลายคนกำลังหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีกันอยู่ใช่ไหมครับ จะให้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อย่างเดียวก็จะกระจุกตัวเกินไปเพราะไม่มีการกระจายความเสี่ยงเอาเสียเลย ฉะนั้นเราทุกคนจะต้องกระจายความเสี่ยงโดยการใช้สิทธิอื่นๆ ด้วยนะครับ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่เพิ่งเปิดใหม่ มาแทนกองทุน LTF ที่ปิดไปเมื่อปีที่แล้ว กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คืออะไร กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกสิกรไทย (บลจ.กสิกร) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกรุงเทพ (บลจ.บัวหลวง) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จาก บลจ.วรรณ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา (บลจ.กรุงศรี) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สำหรับลงทุนระยะยาวเพื่อการออมและนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ดูแลโดย บลจ.กรุงศรี มีให้เลือกลงทุนทั้งหมด 7 กองทุน […]

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จาก บลจ.วรรณ

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จาก บลจ.วรรณ ลดหย่อนภาษีปี 2563 สวัสดีครับทุกคน ครั้งก่อนผมได้พูดถึงกองทุนรวมเพื่อการออมของ บลจ.กสิกรและ บลจ.บัวหลวงไปแล้ว ครัวนี้ขอเอาที่สรุปของบลจ.วรรณ มาเล่าบ้าง ฝั่งนี้เค้าก็มีกองทุนดีๆ ไม่แพ้กันเลยครับ Recap ช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีแบบนี้ หลายคนกำลังหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีกันอยู่ใช่ไหมครับ จะให้ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อย่างเดียวก็จะกระจุกตัวเกินไปเพราะไม่มีการกระจายความเสี่ยงเอาเสียเลย ฉะนั้นเราทุกคนจะต้องกระจายความเสี่ยงโดยการใช้สิทธิอื่นๆ ด้วยนะครับ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่เพิ่งเปิดใหม่ มาแทนกองทุน LTF ที่ปิดไปเมื่อปีที่แล้ว กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คืออะไร กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกสิกรไทย (บลจ.กสิกร) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกรุงเทพ (บลจ.บัวหลวง) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จาก บลจ.วรรณ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา (บลจ.กรุงศรี) ประวัติความเป็นมาของ บลจ.วรรณ บลจ.วรรณ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 19 มีนาคม […]

ฟรีแลนซ์จัดพอร์ตสุขภาพและเงินออม สร้างอิสระภาพทางการเงินแบบไหนดี | มีเรื่องมาเล่า

สวัสดีครับทุกคน สำหรับกลุ่มอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ เรามักจะมีรายได้ที่ไม่แน่นอนเหมือนอาชีพที่ทำงานรับเงินเดือนประจำ บางเดือนได้เยอะมาก บางเดือนได้น้อย ฉะนั้น ควรจะต้องมีการวางแผนการออมและดูแลสุขภาพเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มอาชีพอิสระจะไม่มีสวัสดิการที่จะเข้ามาช่วยดูแลเรื่องของสุขภาพเหมือนอย่างพนักงานประจำ ถ้าไม่มีการบริหารความเสี่ยงและวางแผนกาเงินอย่างเหมาะสม ในช่วงที่สามารถหารายได้อย่างเพียงพอแล้ว หากเกิดเหตุไม่คาดฝันจนได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ก็อาจจะต้องใช้เงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เป็นฟรีแลนซ์ต้องรู้จักบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับปัจจัยที่จะมากระทบต่อเงินออมของกลุ่มอาชีพอิสระคือ 1.ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เพราะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยทำให้ไม่มีรายได้ 2.ค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะไม่ว่าจะกรณีใด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มอาชีพอิสระจะขาดรายได้ทันที หากไม่มีเงินสำรองก็จะกระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำทันที เช่น เคยมีรายได้วันละ 5,000 บาท เมื่อต้องเข้าโรงพยาบาลเท่ากับรายได้หายไปวันละ 5,000 บาททันที ดังนั้นสิ่งที่กลุ่มอาชะอิสระ ควรจะทำเพิ่มเติมนอกจากการออมเงินและประกันสุขภาพ คือการทำประกันที่มีเงินชดเชยรายได้ต่อวันด้วย เพื่อไม่ให้รายได้ต่อวันหายไป เนื่องจากกลุ่มอาชีพอิสระ จะไม่มีสวัสดิการมาช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายหากเดินเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ จนต้องเข้าพักรักษาตัวในโณงพยาบาล ดังนั้น จึงคควรที่จะทำประกันสุขภาพเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเฉลี่ย 8-10% โดยควรเลือกวงเงินความคุ้มครองให้เหมาะสมตามกำลังซื้อของแต่ละคน เช่น เลือกค่าห้องในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายเพื่อให้ครอบคลุ่มค่ารักษาพยาบาลให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ค่ารักษาพยาบาลแบบ IPD จะมีความจำเป็นและต้องมีไว้ เพื่อลดผลกระทบในการต้องไปดึงเงินเก็บมาใช้จ่าย แต่ก็ควรเลือกทำประกันสุขภาพในวงเงินที่เหมาะสมตามกำลังซื้อด้วย รายได้น้อยแต่สร้างความคุ้มครองได้ ตัวอย่างอย่างอาชีพอิสระ ที่เริ่มต้นทำงานและยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่มากพอที่จะเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองวงเงินสูง ก็สามารถเลือกวงเงินที่ต่ำเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงไว้บางส่วนก่อน […]

เช็คสักนิดก่อนใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

เช็คสักนิดก่อนใช้สิทธิลดหย่อนภาษี สวัสดีครับทุกคน เหลืออีกเพียงไม่กี่เดือนก็สิ้นปี 2563 แล้วเหมือนเพิ่งจะขึ้นปีใหม่มาไม่นาน บางคนพึ่งจะยื่นภาษีของปี 2562 ไป เผลอแป้บเดียวจะจบปีละ เราทุกคนต้องมาเตรียมตัวยื่นภาษีของปีหน้าอีกแล้ว เวลาไม่เคยรอเลยจริงๆ บางคนวางแผนจะเริ่มออมเงินตั้งแต่ต้นปีก็ยังไม่ได้เริ่มสักที เลื่อนไปเลื่อนมาหลายเดือนจนจะสิ้นปีอีกแล้ว วันนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะกลับมาทบทวนเป้าหมายการออมเงินที่เราตั้งไว้อีกครั้งก่อนปีนี้จะผ่านไป มาดูกันว่าถ้าเราวางวางแผนภาษี และใช้สิทธิตามที่สรรพกรให้ นอกจากเราจะได้เริ่มต้นออมเงินแล้ว เราจะได้เงินคืนจากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีหรือประหยัดเงินภาษีที่จ่ายไปเท่าไหร่ ก่อนอื่นเรามาคำนวณรายได้กันก่อนครับว่ารายได้สุทธิเราเท่าไหร่ เพื่อจะได้คำนวณว่าควรออมเงินหรือใช้สิทธิลดหย่อนตัวไหนบ้าง ที่ลิ้งค์นี้ครับ www.mtl-insure.com/article/คำนวณภาษี/ เมื่อคำนวณรายได้สุทธิแล้วมาดูว่าเงินคืนที่เราจะได้เมื่อใช้สิทธิที่สรรพกรให้ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,ซื้อกองทุน SSF,RMF, ซื้อประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ ฯลฯ จะได้เงินคืนภาษีหรือช่วยลดการจ่ายภาษีไปเท่าไหร่บ้าง สมมติว่าเราใช้สิทธิลดหรือจากที่ผมเขียนไว้ข้างบนไป 20,000 บาทต่อปี มาดูว่านอกจากเราจะได้ออมเงิน หรือได้ความคุ้มครองจากประกันชีวิตแล้ว จะได้เงินคืนจากการลดหย่อนภาษีได้กี่บาท – เงินได้สุทธิต่อปี 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ได้เงินคืนจากภาษีเพราะรายได้สุทธิช่วงนี้นี้ไม่เสียภาษี – เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) จะได้เงินภาษีคืนประมาณ 1,000 บาท – เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท […]

ไม่มีประกันสุขภาพวันนี้ อาจเป็นหนี้ก้อนโต ในวันหน้า

ไม่มีประกันสุขภาพวันนี้ อาจเป็นหนี้ก้อนโต ในวันหน้า สวัสดีครับทุกคน เราทุกคนรู้ว่าการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้เสมอ อาจจะเจ็บป่วยเล็กน้อยที่รับมือไหว หรือเจ็บป่วยใหญ่ที่เกินจะรับมือ วันนี้ถ้าทุกคนกังวลเรื่องนี้ อาจจะต้องรีบวางแผนซื้อประกันสุขภาพ เพื่อมาช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในวันที่เราอาจจะไม่มีเงินก้อนเป็นค่ารักษา เพราะไม่มีประกันสุขภาพวันนี้ อาจเป็นหนี้ก้อนโต ในวันหน้า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม กับแผนประกันสุขภาพ ดีเฮลท์ ที่เหมาจ่ายตามจริง ทั้งค่าห้องเดียวมาตรฐานโรงพยาบาลที่เข้า และเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าหมอ ค่าผ่าตัด ค่ายา และทุกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ด้วยเบี้ยเพียง 23,577 บาท (1) คุ้มแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว เบี้ยถูกกว่าและความคุ้มครองมากขึ้น หลายท่านกำลังเปรียบเทียบว่าจะเลือกแผนไหนดีระหว่างค่ารักษาวงเงิน 1 ล้านบาทกับ 5 ล้านบาท แต่ผมขอแนะนำว่า แผนคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่าย 5 ล้านบาทต่อครั้งเบี้ยแพงกว่าแผนที่คุ้มครองค่ารักพยาบาลเหมาจ่าย 1 ล้านบาทประมาณ 1,500-2,000 บาทเท่านั้น (1) ชายอายุ 35 ปี (รวมสัญญาหลักแผนเมืองไทย สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/20) แผน 1 ล้าน เบี้ย 22,080 […]

1 16 17 18 19 20 50