ควบคุม/ลดรายจ่าย vs เพิ่มรายได้ แบบไหนง่ายกว่ากัน

ใครที่กำลังเริ่มทำงานหรือทำงานมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัย 20 ปลายๆ ถึง 30 ต้นๆที่กำลังสนุกกับการใช้เงินที่หาได้คงคิดว่า ตอนนี้มีงานทำและมีรายได้แล้วจะซื้อของที่อยากได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ในชีวิตจริงเราที่เราอยากได้คงไม่ได้มีแค่ชิ้นเดียว แต่มีของที่อยากได้เยอะไปหมด ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ด้วยข้อจำกัดของเรื่องรายได้ที่ไม่ได้เพิ่มเพิ่มง่ายๆ เหมือนของที่เราอยากได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อของได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ และเราจะทำยังไงเมื่อรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการของเรานั้นไม่ได้จำกัด   ผมเคยอ่านมาว่าถ้าเราอยากมีเงินเก็บหรืออยากได้ของบางอย่างแต่รายได้เรามีอยู่จำกัด สิ่งที่เราจะต้องทำคือ การควบคุมหรือลดรายจ่าย เพื่อให้มีเงินเหลือมาซื้อของที่อยากได้ กับอีกหนึ่งวิธีคือการหารายได้เพิ่มเพื่อจะได้มีเงินซื้อของที่อยากได้ไปเลย ทั้งสองอย่างนี้บางคนอาจจะบอกว่าการควบคุมหรือลดรายจ่าย เป็นเรื่องง่าย บางคนบอกว่าเป็นเรื่องยาก หรือการหารายได้เพิ่มบางคนบอกเป็นเรื่องง่าย บางคนบอกเป็นเรื่องยาก มาดูกันครับว่าแบบไหนที่จะเหมาะกับเรา   ควบคุมหรือลดรายจ่าย ข้อดี ทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มรายได้ เพราะสามารถทำได้เลยด้วยตัวเอง ทำให้เรามีวินัยในการใช้เงิน รู้จักการวางแผนการเงิน ข้อเสีย สำหรับคนที่มองว่าอะไรก็จำเป็นการลดรายได้อาจจะเป็นเรื่องยากเพราะไม่รู้จะลดตรงไหน อะไรก็จำเป็นไปหมด การลดรายจ่ายอาจจะไม่ได้ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นมาก ถ้ายังมีรายได้คงที่ ไม่ยั่งยืนในระยะยาว เพราะการควบคุมหรือลดรายจ่าย เพื่อเก็บเงินหากมีเหตุจำเป็นต้องเอาเงินเก็บก้อนนั้นมาใช้จนหมดก็ต้องเริ่มต้นใหม่และต้องควบคุมหรือลดรายจ่าย ไปตลอด เพิ่มรายได้ ข้อดี ส่งผลดีระยะยาว เพราะการเพิ่มรายได้คือการหาช่องรายได้อื่นๆ เพิ่ม ถ้าเราสามารถสร้างรายได้จากช่องทางอื่น เช่น งานเสริม หรือการลงทุน หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็จะทำให้เรามีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง ไม่ต้องกังวลเรื่องของที่อยากได้ […]

ทำไมคนรุ่นใหม่เก็บเงินไม่อยู่?

ในยุคที่ทุกคนต่างล้วนต้องการแสดงตัวตนบนสื่อออนไลน์ การซื้อของเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วกด และความต้องการอยากได้ อยากมี อยากเป็น ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น คำกล่าวที่ว่า “ของมันต้องมี” หรือ “คนอื่นมี ฉันก็ต้องมี” สร้างความเสียหายให้กับผู้คนมานักต่อนัก แต่น้อยคนที่จะหยุดคิดสักนิดแล้วถามตัวเองว่า “เราต้องการสิ่งนั้นจริงหรือไม่?” ‘คนรุ่นใหม่’ ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบการจากกระแสวัตถุนิยม ทั้งจากการเสพสื่อออนไลน์ กลุ่มเพื่อน และสังคม อีกทั้งยังขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้กลุ่มคนรุ่นใหม่กำลังเผชิญกับปัญหา…เก็บเงินไม่อยู่!!! ยิ่งกลุ่มคนที่เพิ่งเรียนจบใหม่และเริ่มเข้าสู่สังคมการทำงาน การจ่ายภาษีสังคมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับว่าอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ นั้นอาจเกิดจากความคิดที่ว่า “ฉันสามารถหาเงินได้แล้ว” นำไปสู่การใช้จ่ายอย่างขาดสติ จนลืมนึกถึงปัจจัยอื่นซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ เช่น ตกงานกระทันหัน ภาวะทดถอยทางเศรษฐกิจ หรืออย่างที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ตอนนี้นั้นคือการระบาดของไวรัส ซึ่งเหตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบกับเงินได้ของเพื่อนๆทั้งสิ้น และยิ่งหากขาดการวางแผนทางการเงิน ท้ายที่สุดก็จะตกอยู่ในสภาวะ ‘สิ้นเดือน เหมือนสิ้นใจ’ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอดคงค้างเงินรับฝากแยกตามขนาดและอายุของเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563) พบว่า คนไทยที่มีเงินในบัญชีออมทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท มีมากถึง 81.8 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 76% จากจำนวนบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด 92.93 […]

เงินเฟ้อ เงินฝืดคืออะไร

ถ้าพูดถึง “เงินเฟ้อ เงินฝืด” ทุกคนน่าจะรู้จักสองคำนี้จากวิชาสัมคมศึกษาในสมัยมัธยมใช่ไหมคับ? และมันยังคงวนเวียนอยู่ในชีวิตของพวกเรามาจนถึงทุกวันนี้ เพราะทั้ง เงินเฟ้อ เงินฝืด ก็ต่างเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราทั้งนั้น หลายคนอาจจำความหมายของทั้งสองคำนี้สลับกันหรืออาจหลงลืมไปบ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็เเล้วเเต่ อย่ากังวลไปครับ! เพราะวันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะมารื้อฟื้นและทบทวนมมันอีกครั้ง ทุกครั้งเวลาที่ผมไปทานก๋วยเตี๋ยวกับแม่ แม่มักบ่นให้ฟังเสมอว่าเมื่อก่อนเงินแค่ 20-30 บาทก็ซื้อได้เเล้ว ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ราคาก๋วยเตี๋ยวสูงขึ้นถึงชามละ 60 บาท เห็นได้ชัดว่ามูลค่าของเงิน 20 บาทนั้นลดลง นี่แหละคือผลของเงินเฟ้อ ว่าเเต่เงินเฟ้อคืออะไร แล้วมันต่างจากเงินฝืดอย่างไร และทำไมจึงทำให้ราคาสินค้าเเละบริการของเราแพงขึ้น วันนี้เราจะมาพูดถึงมันกันครับ เงินเฟ้อ (Inflation) คือภาวะที่ทำให้ราคาสินค้าเเละบริการแพงขึ้น โดยเงินตราหนึ่งหน่วยสามารถซื้อสินค้า บริการได้น้อยลง และการที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ เงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทานหรือความต้องการสินค้าและบริการมีมากกว่าจำนวนสินค้าเเละบริการนั้นๆ กล่าวคือเมื่อมีผู้บริโภคมีจำนวนมาก คนที่เสนอราคาสูงสุดมักได้สินค้านั้นไป จึงทำให้ราคาสินค้าเเละบริการสูงขึ้นไปเรื่อยๆฃ การที่ผู้ขายมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทำให้ต้องขึ้นราคาสินค้าเเละบริการให้สูงตามไปด้วยเพื่อรักษากำไรของตนไว้นั่นเอง ส่งผลอะไร เนื่องจากต้นทุนการผลิต (เช่น วัตถุดิบ ค่าเเรง ค่าน้ำมัน และค่าขนส่ง) สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ขายต้องขึ้นราคาสินค้าเเละบริการ กล่าวคือแม้สินค้าและบริการจะมีราคาสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเนื่องจากเงินมีค่าน้อยลงทำให้คนซื้อสินค้าและบริการน้อยลง เช่นกัน ส่งผลให้ผู้ขายเลิกผลิตสินค้าเเละเลิกจ้างพนักงานในที่สุด […]

FATCA คืออะไร? เเละเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินของไทยอย่างไร?

FATCA คืออะไร? เเละเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินของไทยอย่างไร? สวัสดีครับ เพื่อนๆเคยสังเกตไหมครับว่าเวลาไปเปิดบัญชีกับธนาคาร ซื้อกองทุนรวม ประกัน หรือสินค้าและบริการต่างๆ ของธนาคารจะมีเอกสารชุดหนึ่ง ที่เจ้าหน้าที่ให้เรากรอก ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ทำไมต้องกรอก เกี่ยวข้องอะไรกับเรา เเล้วเจ้าหน้าที่จะเอาข้อมูลนั้นไปไหน ซึ่งเพื่อนๆอาจไม่รู้มาก่อนเลยว่าถูกตรวจสอบสัญชาติเเล้ว และการตรวจสอบสัญชาตินี้แหละเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่เรียกว่า “FATCA” ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ที่มาของ FATCA ก่อน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาเผชิญปัญหางบขาดดุล ส่งผลให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเม็ดเงินในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ถามว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะหาเงินได้จากที่ไหน? คำตอบคือ “ภาษี” ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา USA ไม่สามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากประชากรของตน โดยเฉพาะชาวอเมริกันที่อาศัยในต่างประเทศ มีเพียงจำนวนน้อยที่จ่ายภาษีกลับสู่สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐฯสูญเสียเงินจำนวนนี้ไป นี่จึงเป็นที่มาของ FATCA นั่นเอง FATCA หรือที่ย่อมาจาก Foreign Account Tax Compliance Act คือกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีของบุคคลและนิติบุคคลชาวอเมริกันในต่างประเทศและเนื่องจาก FATCA เป็นการทำความตกลงระหว่างประเทศ คือระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ทำให้สถาบันการเงินทั่วโลกที่เข้าร่วม FATCA มีหน้าที่ 3 ข้อดังนี้ Documentation สถาบันการเงินต้องมีกระบวนการสืบค้น ติดตาม ตรวจสอบและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลลูกค้าตั้งแต่การเปิดบัญชีและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆอย่างต่อเนื่อง […]

6 วิธีจัดการหนี้บัตรเครดิต

พูดถึงเรื่องหนี้กับความรวยแล้ว หลายคนฟังดูคงคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เพราะคิดว่า “คนรวยจะต้องไม่มีหนี้ มีเงินแล้วจะสร้างหนี้ทำไม ส่วนคนมีหนี้ก็คิดว่าไม่มีทางรวยหรอก เพราะแค่มีหนี้ก็หาเงินมาใช้หนี้แทบไม่ทันแล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาเก็บ เอาเงินที่ไหนมาลงทุนให้รวย” มันสัมพันธ์กันอะถูกแล้ว แต่เดียวก่อนนะทุกคนๆ ใครที่กำลังคิดแบบนี้บอกได้เลยว่า อาจจะคิดผิดได้ จริงๆ ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องของความเชื่อและทัศนคติมากกว่า เมื่อก่อนผมก็เคยคิดแบบข้างบนว่าเห้ย มีหนี้หว่ะ ทำงานได้เงินเดือนมาก็ต้องใช้หนี้ดิ เอาไปเก็บไปลงทุนทำไม แบบนี้หนี้ก็ไม่หมดสักทีดิวะ ซึ่งมันก็เป็นแบบนี้จริงๆครับ หนี้ไม่หมดสักทีมีแต่เพิ่มขึ้น วันนึงเลยมานั่งคิดว่า ทำไมหนี้ไม่หมดสักทีแบบนี้เมื่อไหร่จะมีเงินเก็บ เลยไปหาหนังสือเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน การบริการเงิน การใช้หนี้มานั่งอ่านนั่งทำตาม จนสุดท้ายก็จัดการหนี้พวกนั้นได้หมด หนี้นั่นก็คือ “หนี้บัตรเครดิต” วันนี้เลยอยากมาแชร์ไอเดียวจัดการหนี้บัตรเครดิตที่เคยได้ใช้และได้ฟังมาจากหลายๆ ที่ครับ ข้อ 1 ก่อนอื่นที่เราจะจัดการหนี้เราต้องจัดการตัวเองก่อน มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือ ความคิดและทัศนคติตัวเราเอง เปลี่ยนความคิดใหม่ จากข้ออ้าง “เพราะเป็นหนี้ไม่มีเงินเก็บ” เป็น “แม้จะเป็นหนี้ก็มีเงินเก็บได้” ผมเชื่อว่าถ้าความคิดเราเปลี่ยน การกระทำเราก็จะเปลี่ยน เมื่อการกระทำเปลี่ยนผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนด้วย ช่วงแรกอาจจะยากหน่อย แต่ถ้าผ่านด่านนี้ไปได้ด่านอื่นจะสบายมาก ข้อ 2 เลิกสร้างหนี้เพิ่มสักที เวลาที่เป็นหนี้บัตรเครดิตไม่รู้ทุกคนคิดเหมือนกันรึป่าว ว่ามันเหมือนมีพลังบางอย่างซ่อนอยู่ พอรูด […]

1 2 3 4 5 6 15