4 ทริค สู่อิสระภาพทางการเงิน (ฉบับมือใหม่)

หนึ่งในแผนของชีวิตของมนุษย์เงินเดือนหลายคนคือการเกษียณให้เร็วที่สุด อาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น อยากใช้ชีวิต อยากมีเวลามากขึ้น รวมถึงการไม่อยากทำงานอีกแล้ว แต่เราต้องเข้าใจก่อนครับว่าการที่จะชีวิตแบบนั้นได้คือคุณต้องมีอิสระภาพทางการเงิน หรือกล่าวคือไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไป และนี่เป็นตัวอย่าง 4 ทริค เร่งเวลาที่จะทำให้คุณมีอิสระภาพทางการเงินครับ 1.เริ่มออมเงิน: ‘ออมเร็วกว่า รวยเร็วกว่า’ ประโยคนี้ยังคงใช้ได้กับปัจจุบัน แน่นอนว่าหลายคนอาจเริ่มต้นไม่เท่ากัน โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มทำงานเงินเดือนอาจจะยังไม่มาก แต่ก็สามารถเข้าใกล้คำว่าอิสระภาพทางการเงินได้ก่อน หากรู้จักวางแผนการเงินที่ดี แบ่งเงินส่วนหนึ่งเพื่อออมและทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อได้เงินก้อนแล้วจึงนำไปต่อยอดในการลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยมากยิ่งขึ้น การแบ่งเงินเพื่อออมจึงไม่ได้มีสูตรตายตัวครับ เราควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพื่อไม่ให้ลำบากกับชีวิตจนเกินไป บางคนอาจจะออมได้ 10% ของเงินเดือน หรือบางคนอาจน้อยกว่า แม้จะเริ่มออมน้อยๆ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ออมเลย 2.เริ่มลงทุน: สิ่งที่จะทำให้เรามีอิสระภาพทางการเงินได้เร็วที่สุดนั้นคือการลงทุนครับ เช่น หุ้น กองทุน ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ หรืออื่นๆ อย่างน้อยควรได้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า 3% ที่ตะสามารถชนะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการลงทุนบางประเภทยังจ่ายปันผลอีกด้วย และหากนำปันผลที่ได้ไปลงทุนต่อก็จะได้เห็นพลังของดอกเบี้ยทบต้น ที่จะทำให้เงินของคุณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การลงทุนขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ 3.ไม่ก่อหนี้เกินความจำเป็น: การไม่มีหนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือน แต่หากจำเป็นต้องเป็นหนี้ก็ควรวางแผนการเงินให้ดีทั้งรายได้ที่จะเข้ามาและเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน แม้แต่งานประจำที่ว่ามั่นคงก็อาจได้รับผลกระทบ ยกตัวอย่าง จากการระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายคนตกงานอย่างไม่ทันตั้งตัว ดังนั้นแล้วการไม่ก่อหนี้ดีที่สุด […]

มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! 4 วิธีการวางแผนชีวิตวัยทำงาน มีอะไรบ้างที่เราต้องทำ มาดูกันเลย

เริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานแน่นอนว่านอกจากการปรับตัวแล้ว สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนต้องเตรียมคือต้องเริ่มวางแผนชีวิตได้แล้ว! ตั้งแต่การเข้าสังคม การวางตัวในที่ทำงาน ตลอดจนไปถึงการวางการเงิน วันนี้เลยอยากมาแชร์ให้พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ฟังถึง 4 วิธีการวางแผนเมื่อต้องก้าวเข้าสู่วัยทำงาน 1. วางแผนการเงิน เมื่อเรียนจบแล้วเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับการสนับสนุนจากทางบ้านเหมือนเคย ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนมักมีปัญหาในเรื่องการเงิน เนื่องจากไม่เคยวางแผนมาก่อน บ้างก็เดือนชนเดือน เงินไม่พอใช้ หรือแม้กระทั้งเริ่มเป็นหนี้บัตรเครดิต ดั้งนั้นแล้วทางที่ดีที่สุดคือวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่แค่ระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องวางแผนระยะยาวไปถึงหลังเกษียณ โดยอาจเริ่มจากแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน แบ่งเงินส่วนหนึ่งมาออม เมื่อได้จำนวนมากพอก็นำไปลงทุนต่อเพื่อให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ ช่วงแรกอาจจะทำได้ยากหน่อยแต่อยากให้อดทนนะครับ ลำบากวันนี้สบายวันหน้า 2. วางแผนสุขภาพ สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! ช่วงวัยเรียนหลายคนอาจจะรู้สึกว่าสุขภาพไม่ใช่ปัญหาเรื่องใหญ่ แต่เมื่อเข้าสู่วัยทำงานที่ต้องใช้ทั้งสมอง และร่างกายในการทำงาน ประกอบกับการเสื่อมถอยของร่างกาย บางทีอาจจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ไม่ยาก ดังนั้นจึงควรวางแผนในการดูแลสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย หากิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน และควรทำประกันสุขภาพติดไว้สักหน่อย เพราะค่ารักษาพยาบาลแพงมาก! 3. วางแผนป้องกันความเสี่ยงในชีวิต เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น การวางแผนป้องกันความเสี่ยงถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว หรือคนที่เป็นคนหลักในการหาเงินเข้าบ้าน ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับเราอาจจะมีอีกหลายชีวิตในบ้านที่ลำบากมนุษย์เงินเดือนหลายคนมักมองข้ามการทำประกันไป ทั้งประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และประกันเพื่อการออม นอกจากจะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในชีวิตได้ ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษี และสร้างเงินก้อนให้กับลูกหลานในอนาคตได้ ดังนั้นควรเริ่มศึกษาไว้ก็ไม่เสียหายนะครับ […]

ตั้งเป้าหมายการเงินในปีใหม่ให้สำเร็จตามที่หวัง

สวัสดีปีใหม่อย่างเป็นทางการครับ ปีใหม่แบบนี้สิ่งที่หนีไม่พ้นคงเป็นเรื่องของการรีวิวความสำเร็จและประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาในปีที่แล้ว รวมถึงการตั้งเป้าหมาย การเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ที่มาถึงหรือการนำสิ่งที่ตั้งไว้ปีที่แล้วมาทำใหม่ปีนี้ ปัญหาที่พบทุกๆ ปีคือเป้าหมายที่เราตั้งใจจะทำมากมายและเขียนไว้ตั้งแต่ต้นปี พอผ่านไปไม่กี่สัปดาห์หรือเดือนเราก็ล้มเลิกความตั้งใจนั้นแล้ว พอสรุปสิ้นปีอาจจะมีเพียงไม่กี่ข้อที่ทำได้สำเร็จหรือบางคนทำได้เลย สิ่งนี้ไม่ได้แปลกแต่อย่างใดเพราะใครๆ ก็เป็นกันรวมถึงผมด้วย ตัวอย่างเป้าหมายที่เรามักตั้งกันไว้ เช่น ปีนี้จะเก็บเงินให้ได้มากขึ้น รักตัวเองมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ใช้เงินให้น้อยลง หาเงินให้ได้เยอะขึ้น จากตัวอย่างเป้าหมายพวกนี้ผมก็เคยเป็นหนึ่งคนที่เขียนแบบนี้เหมือนกันและสุดท้ายล้มเลิกไป จนเมื่อได้เข้าเรียนหลักสูตร Self Masterity หรือการเรียนรู้ตัวเองของ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ก็รู้ว่าที่เราเขียนนั้น มันยังขาดอีกหลายอย่าง หรือเรียกว่าเป้าหมาย ไม่ชัดเจน เลยอยากจะเอามาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกันครับ เป้าหมายที่ต้องการ “เราจะทำอะไร” วิธีการที่จะทำให้เป้าหมายนั้นเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาของการทำให้สำเร็จ ทำไปเพื่อใคร จากตัวอย่างเป้าหมายแบบแรกที่ผมเขียนไว้ ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อ (หรืออาจะไม่ต้องครบทั้ง 4 ข้อแต่อย่างน้อยควรที 3 ข้อ) พอเป้าหมายไม่ชัดเจนก็ทำให้เราไม่รู้วิธีการหรือไม่มีแรงผลักดันที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ มาลองเขียนเป้าหมายใหม่ให้ชัดเจนขึ้นโดยเรียบเรียงและเติมองค์ประกอบจากหลักการที่ผมได้อธิบายไปครับ ปีนี้จะเก็บเงินให้ได้มากขึ้นเป็นเดือนละ 1,000 บาทโดยหักจากเงินเดือนมาออมภายใน 5 เดือน เพื่อให้เป็นของขวัญวันเกิดแม่ ฉันจะรักตัวเองมากขึ้น โดยเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างน้อยเดือนละ […]

3 วิธีวางแผน เตรียมตัวรับมือก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

หากพูดถึงความชราแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ตามมานั้นคือร่างกายหมดแรงไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเดิมและอาจรุมเร้าด้วยปัญหามากมาย เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาด้านการเงิน จะดีกว่าไหมถ้าเราเริ่มวางแผนรับมือตั้งแต่ตอนนี้ และนี้คือ 3 วิธีวางแผน เตรียมตัวก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 1. วางแผนสุขภาพ การไม่มีโรคเป็นลาภอัญประเสริฐแต่บางครั้งโรคร้ายก็มาอย่างไม่ทันตั้งตัว ยิ่งเมื่อเราแก่ตัวลงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บเป็นถือเป็นเรื่องธรรมดามากที่อาจต้องเผชิญ ดังนั้นเราจึงควรวางแผนสุขภาพแต่เนิ่นๆ หันมาดูแลสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เริ่มจากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และฝึกสุขภาพจิต แต่ก็ควรทำประกันสุขภาพไว้ในกรณีฉุกเฉิน 2. วางแผนที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีลูกหลาน ดังนั้นแล้วจึงควรวางแผนก่อนล่วงหน้าว่าถ้าแก่แล้วจะอยู่ที่ไหน บ้านตนเอง หรือบ้านพักคนชรา หากเป็นบ้านของตนเองถ้าเป็นไปได้ควรออกแบบบ้านให้สามารถรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกสบายที่สุด แต่หากเป็นบ้านพักคนชราต้องมีการวางแผนการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ราคาก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตที่จะได้รับ 3. วางแผนการเก็บเงิน เมื่อเราแก่ตัวลงแน่นอนว่าทำให้มีแรงลดน้อยลงไปด้วย ไม่สามารถหาเงินได้เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นการวางแผนการเงินหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตได้ต่อหลังเกษียณและไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน จึงต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่เริ่มทำงาน รู้จักออมเงิน และศึกษาการลงทุน โดยแบ่งเงินได้ส่วนหนึ่งออกมาเพื่อลงทุนให้เงินงอกเงยเพื่อสู้กับค่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเงินนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมากในทุกช่วงวัย ยิ่งผู้สูงอายุแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากการวางแผนการเงินและการลงทุนแล้ว อีกหนึ่งทางที่จะป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงควรมองหาประกันออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีๆ อย่าง ‘เมืองไทยรีไทร์เมนท์ พลัส 60’ ที่จะได้รับเงินคืนทุกช่วงอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี […]

ทำไมต้องทำประกันบำนาญ?

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบอกบอกว่าปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและนั่นหมายความว่า จำนวนประชากรของคนสูงอายุมากขึ้นแต่คนวัยทำงานน้อยลง และคนวัยทำงานรุ่นใหม่แต่งงานและมีลูกน้อยลงด้วย ข้อมูลนี้ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้นโดยเฉพาะการวางแผนเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่หรือตอนเกษียณเพราะการรอพึ่งพาเงินผู้สูงอาหารจากรัฐบาลกับเงินประกับสังคมอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของประกันแบบบำนนาญ ซึ่งประกันแบบบำนาญ ไม่ใช่แค่การทำเพื่อการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณเท่านั่น แต่ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เนื่องจากรัฐบาลอยากส่งเสริมให้คนออมเงิน และเก็บเงินไ้ว้ใช้ตอนแก่ ประกันบำนาญเหมาะกับใครบ้าง? คนที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ตอนหลังเกษียณ คนที่รับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อยกว่าการลงทุนอื่นๆ คนที่ต้องการแผนการออมเงินที่มีการการันตีเงินคืนชัดเจน คนที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ทำไมต้องเป็นประกันบำนาญ? บางคนอาจจะมีประกันสังคมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้ไว้ใช้หลังเกษียณแต่เงินก้อนนั้นอาจจะไม่พอต่อการใช้จ่ายที่จะมากขึ้นในอนาคต การทำประกันบำนาญไว้จะเป็นอีกตัวเช่นหนึ่ง ที่จะมาซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายให้เรา ซึ่งประกันบำนาญสามารถเลือกรับเป็นรายปีก้อนเดียว หรือรับเป็ยรายเดือนทุกๆ เดือนก็ได้ มีรายได้หลายช่องทางยังดีกว่าข่องทางเดียวครับ ประกันแบบบำนาญ เอาไปลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ นอกจากจะเป็นการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณแล้ว ยังได้ภาษีคืนอีกด้วยครับ ประกันแบบบำนาญให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3% แต่ก็การันตีผลตอบแทนที่แต่นอน และยังเห็นตัวเลขเงินบำนาญที่ได้รับชัดเจนในแต่ละปีตามตารางเรียนผลประโยชน์ ประกันแบบบำนาญมีความคุ้มครองชีวิตสูงหากเสียชีวิตก่อนรับบำนาญ ผู้รับประโยชน์ยังจะได้เงินก้อนจากความคุ้มครองไป หากเสียชีวิตหลังเริ่มรับบำนาญยังมีการกรันตีเงินบำนาญและความความคุ้มค่องที่จะได้รับ ควรทำประกันแบบแบบบำนาญไหม? นอกจากประกันบำนาญแล้วยังมีผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆที่ ช่วยในเรื่องวางแผนเกษียณและลดหย่อนภาษีเช่น กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม RMF ซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อด้อย ถ้าใครที่ต้องการวางแผนสำหรับหารออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณและลดหย่อนภาษี แบบการันตีแน่นอนประกันแบบบำนาญก็ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีข้อดีหลายๆ อย่างที่ผมได้อธิบายไปด้านบน ทั้งนี้แล้วก็ต้องดูว่าแผนประกันนั้นตอบโจท์หรือไม่ ทั้งในเรื่องของระยะเวลาการจ่ายเบี้ย ภาษีที่ได้คืน ที่สำคัญต้องดูเป้าหมายของตัวเราเองด้วยแล้วค่อยเลือกผลิตภัณฑ์การเงินมาเป็นตัวช่วยวางแผน […]

1 2 3 4 15