ถ้าต้องอยู่เป็นโสดควรมีประกันชีวิตอะไรเตรียมบ้าง?ถ้าต้องอยู่เป็นโสด

ประกันถือว่าเป็นสินค้าทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้สำหรับวางแผนการเงินได้ เพราะประกันนั้นมีหลากรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เกิดจนตาย ทำให้หลายคนที่เห็นความสำคัญของประกันเลือกที่จะใช้สินค้าชนิดนี้มาวางแผนการเงินให้กับตัวเอง แต่จะเลือกประกันแบบไหนนั้น เราต้องมีเป้าหมายหรือความต้องการก่อนว่าเราอยากได้อะไรเพื่อที่จะเลือกประกันได้ถูกต้อง โดยบทความนี้ผมเอาคำถามจากเพื่อนที่ถามว่า “อยู่เป็นโสดควรมีประกันชีวิตอะไรบ้าง?” มาช่วยวางแผนให้กับคนที่กำลังโสดและวางแผนว่าจะอยู่เป็นโสดได้ลองเลือกกันดูครับ “ประกันสุขภาพ” เพราะชีวิตเราสำคัญที่สุด ห่วงตัวเองก่อนที่จะห่วงคนอื่น เมื่อเราเจ็บป่วย เราต้องได้รับการช่วยเหลือและการรักษาที่ดี เพื่อมีชีวิตอยู่ต่อดูโลกอันโหดร้ายนี้ 555 และที่สำคัญจะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาหรือยืมเงินคนอื่นมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตอนแก่ อีกหนึ่งเหตุผลคือ ค่ารักษาสมัยนี้แพงมาก ถ้าเรามีประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยจะได้ไม่ต้องเอาเงินเก็บที่มีอยู่มาใช้ เสียดายเปล่าๆ แบ่งเงินส่วนหนึ่งมาจ่ายเบี้ยประกันดีกว่าครับ (ดูประกันสุขภาพ) “ประกันชีวิตแบบบำนาญ” แผนนี้อาจะออมสั้นหรือออมยาว และได้เงินคืนตอนเกษียณหรือตอนแก่ หรือตอนที่ไม่มีรายได้แล้ว แนะนำว่าควรเป็นแผนที่ได้เงินคืนทุกปีไปจนเสียชีวิต เพราะถ้าได้เป็นเงินก้อน ความบรรลัยจะมาเยือนครับ ลูกหลานเห็นมีเงินก็เข้ามาขอ หรือเราจัดการไม่ดีได้เงินก้อนมาก็เอาไปใช้หมด สุดท้ายไม่มีเงินเหลือ ฉะนั้นไม่อยากพึ่งเบี้ยผู้สูงอายุเดือนละ 800 บาทก็จะต้องวางแผนประกันสำหรับรับเงินบำนาญด้วยนะครับ (ดูประกันแบบบำนาญ) “ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์” ประกันแบบออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์มักจะมีเงินคืนระหว่างสัญญาและรับเงินก้อนเมื่อครบสัญญา ประกันแบบนี้เราจะไว้ใช้จ่ายตอนช่วงทำงานนี้ ทำให้เรามีเป้าหมายในการออม เลือกสัญญาแบบสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน พอได้เงินก้อนก็จะได้ไปใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว ออกรถใหม่ ซ่อมแซมบ้าน ถึงแม้เราจะใช้เงินก้อนนี้หมด เรายังสามารถทำเล่มใหม่เพื่อเป้าหมายใหม่ได้ (ดูประกันสะสมทรัพย์) “ประกันชีวิตควบการลงทุน” สำหรับคนที่เป็นสายการลงทุนไม่ค่อยอินกับประกันเท่าไหร่แต่ก็อยากมีความคุ้มครองไว้ เพื่อว่ามีคนมาเลี้ยงดูตอนแก่จะได้มีเงินก้อนไว้ให้เค้าบ้าง แต่ตอนนี้ก็อยากลงทุนมากกว่าเพราะมองว่าสามารถบริการจัดการเงินได้เอง เลือกลงทุนได้เอง ผลตอบแทนดีกว่าก็เลือกแบบที่มีเงินลงทุนได้ เพราะเราสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้เองหรือให้บริษัทจัดการให้ […]

3 เหตุผลที่ทำให้เราไม่เริ่มลงทุน

ถ้าถามว่าเมื่อไหร่เราจะเริ่มออมเงินหรือลงทุน หลายคนคงบอกว่ารอให้พร้อมก่อน แต่คำว่าพร้อมของการเริ่มต้นออมเงินคืออะไร ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพราะพร้อมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมสอบถามเพื่อนๆ หลายคนที่อยากเริ่มเก็บเงิน ซื้อประกันหรือลงทุน และปัญหาของตัวเองว่ามีแบบไหนที่ตรงกับคนอื่นบ้างและสรุปได้ 3 ข้อใหญ่  คือ รายจ่ายเยอะ ก่อนที่เราจะเริ่มออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนคิดว่ารายจ่ายเยอะทำให้ไม่ได้เริ่มสักที และก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ แต่พอถ้าเราได้ตัดสินใจเริ่มออมเงินหรือซื้อประกันแล้วจะรู้ว่ารายจ่ายก็ยังเยอะเหมือนเดิม บางคนเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แต่เราก็สามารถบริการจัดการกับเงินเราได้ ซึ่งรายจ่ายในส่วนของการออมเงินหรือลงทุนนี้มันช่วยให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นเหมือนมันเป็นเงินที่ถูกบังคับให้จ่าย พอเรามีรายได้เข้ามาก็จะคิดถึงส่วนนี้ก่อน ที่จะเอาไปใช้อย่างอื่น พอเริ่มทำไปสักพักแม้ว่ารายจ่ายเราจะยังเยอะอยู่แต่เราว่าก็มีเงินเก็บ เงินออมเพิ่มขึ้น โชคดีที่เพื่อนๆ หลายคนรวมถึงผมด้วยตัดสินใจทำประกันแบบเงินออมไปตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้ว เพราะถ้ามัวแต่คิดว่ารายจ่ายเยอะและไม่เริ่มสักที ตอนนี้ก็คงยังไม่มีเงินเก็บสักบาท ไม่มีเงินเหลือ หลายคนมักจะคิดว่าการออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนจะต้องนำเงินที่เหลือจากที่ใช้ก่อน ซึ่งผมก็เคยคิดแบบนั้นเหมือนกันเลยเป็นเหตุผลว่า ออมเงินไม่ได้สักที พอได้รู้เคล็ดลับว่า การออมเงินหรือลงทุนจะต้องหักจากรายได้เข้ามาเลย เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปใช้ จะหักไปออมมาก ออมน้อยก็ขอให้ได้หักไว้ มันทำให้เริ่มเก็บเงินหรือลงทุนได้ เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัทก็มักจะหักเงินพนักงานก่อนที่จะโอนเข้าบัญชีให้ ถ้าเราทำตามวิธีนี้แล้ว เงินเดือนเข้าหักออมไว้ก่อนเหลือเท่าไหร่ค่อยใช้ รับรองว่ามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแน่นอน ยังไม่จำเป็น บางคนอาจจะคิดว่าการเริ่มออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนนั่นยังไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเพราะยังเริ่มต้นทำงาน เงินเดือนไม่เยอะ หรือยังมีเวลาอีกนาน แต่ผมอยากบอกว่า เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็นอาจจะไม่ได้มีโอกาสแล้วก็ได้ […]

เริ่มต้นออมเงินเท่าไหร่ให้พอใช้หลังเกษียณ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราทำงานทุกวันนี้ก็เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณใช่ไหมครับ ตอนนี้ใครยังทำงานใช้เดือนชนเดือนหรือใช้หนี้บัตรเครดิตอยู่จนไม่มีเงินเก็บอยู่ อาจจะต้องคิดหนักขึ้นเพราะระยะเวลาการทำงานที่น้อยลงไปทำให้เราต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณในแต่ละเดือนมากขึ้น ทุกคนเคยคิดหรือวางแผนกันหรือไม่ว่าในวันที่เกษียณจะต้องมีเงินเท่าไหร่จะพอใช้และตอนนี้นี้มีเงินเท่าไหร่แล้ว ขาดอีกเท่าไหร่ที่จะต้องหาเพิ่ม ตัวอย่างคำนวณเงินออมแบบไม่คิดผลตอบแทน สมมติง่ายๆ คำนวณโดยไม่คิดเรื่องผลตอบแทนที่ควรได้ หรือการลงทุนนะครับ เมื่อ 30 ปีก่อนกินข้าวราดแกงจานละ 20 บาท ตอนนี้ขึ้นเป็นจานละ 50 บาท ราคาขึ้นมา 1.5 เท่า ฉะนั้นเมื่ออายุ 60 ปี ข้าวราดแกงน่าจะประมาณจานละ 75 บาท ( อาจจะสูงกว่านี้ได้) ฉะนั้นในวันที่เรามีอายุ 60 อยู่ไปจนถึง 85 ปี รวม 26 ปี กินข้าวปีละ 365 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 2,135,250 บาท หู้วววววว เยอะอะไรขนาดนั้น นี่แค่ค่าอาหารธรรมดาๆ นะครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล […]

3 วิธีสร้างวินัยการออม

หากคุณเป็นเด็กจบใหม่หรือทำงานมาจนเป็นรุ่นพี่ ความฝันอย่างหนึ่งก็คือ อยากมีอิสรภาพทางการเงิน มีรายได้โดยไม่ต้องทำงานกันใช่ไหมครับ แต่อิสรภาพทางการเงินนั้นไม่เข้าใครออกใคร แต่ไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะถ้าอย่างนั้นทุกคนก็คงไม่ต้องทำงานกันแล้ว ทุกวันนี้เรามักจะเห็น คนรุ่นใหม่หรือที่เรียกว่า Gen Y ที่โตมาพร้อมกับเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและหลากหลาย แสวงหาความสำเร็จได้รวดเร็ว หากต้องการทำอะไรก็ตัดสินใจเร็ว หรือต้องการความรู้เรื่องใดก็สามารถค้นหาได้เร็วเช่นกัน เราจึงมักเห็นคนกลุ่มนี้หันมาทำธุรกิจของตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการหรือการลงทุนต่างๆ เช่น หุ้นหรือกองทุนรวม เหตุผลเพราะอยากมีอิสรภาพทางการเงิน มีรายได้โดนไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินแต่ยังขาดทักษะการบริหาร การวางแผนการเงินสุดท้ายเงินที่ได้มาก็หมดไป หลายคนไม่มีความรู้พื้นฐานวางแผนการเงิน จึงไม่รู้ว่าหากจะมีอิสรภาพทางการเงินนั้นจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ลองมาดู 3 วิธีสร้างวินัยการออมเพื่อไปสู่อิสรภาพทางการเงินกันครับ ลดรายจ่าย  การจะเริ่มออมเงินเพื่อไปสู่อิสรภาพทางการเงินได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือลดรายจ่าย บางคนอยากมีเงินเก็บ อยากรวย เลยทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อดูว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและตัดออก ซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานที่ดีและควรทำที่สุด แต่นิสัยปกติของคนเราเมื่อเวลาผ่านไปเรามักจะลืมสิ่งที่จดไว้ หรือเห็นสินค้าต่างๆ ก็อดใจไม่ได้ที่จะซื้อ การลดรายจ่ายอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่หมด เพราะวันใดหากมีรายจ่ายจำเป็นเกิดขึ้น ก็ต้องใช้เงินอยู่ดี เหมือนประโยคที่ว่า “การประหยัดไม่ได้ช่วยให้คนรวย” เพิ่มรายได้ เมื่อเราลดรายจ่ายแล้ว รู้ว่ารายจ่ายที่ใช้ไปมีอะไรบ้าง ส่วนไหนตัดออกได้ ยังไม่พอ เราควรมีรายได้เพิ่มเติมด้วย โดยรายได้เพิ่มเติมอาจจะมาจากงานเสริม จากความถนัดที่มี เพราะรายได้ทางเดียว […]

เคล็ดลับออมเงินให้ถูกจริตพิชิตเป้าหมาย

  ถ้าพูดถึงเรื่องเป้าหมายทางการเงินว่าอยากมีเงินเก็บเท่าไหร่หรือเป้าหมายที่จะซื้อของต้องใช้เงินเท่าไหร่ ทุกคนคงอยากมีเงินเก็บและมีเป้าหมายกันหมดแน่ๆ แต่การจะมีเงินเก็บนั้นไม่ใช่อยู่ดีๆ เงินจะลอยมากองอยู่ตรงหน้าเลยมันต้องมีการเริ่มต้นก่อนซึ่งเป็นจุดสำคัญของการออมเงินเลย เพราะในช่วงแรกถ้าเราไม่มีวินัยมากพอจนทำให้มันติดเป็นนิสัย สุดท้ายเราก็จะล้มเลิกมันไป นั่นเป็นเพราะวิธีการที่เราเลือกไม่ถูกจริตหรือนิสัยของเรานั่นเอง ลองมาดู การออมเงินนั้นแบบต่างๆ ว่ามีแบบไหนบ้างที่ถูกจริตกับนิสัยของเราเพื่อจะได้นำไปใช้จนทำให้การออมเงินนั้นติดเป็นนิสัยและออมเงินได้จนเร็จ หยอดกระปุก วิธีพื้นฐานการเริ่มต้นออมเงินที่ทุกคนถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ คือการหยอดกระปุก เราอาจจะเริ่มจากการเก็บเศษเหรียญหรือแบงค์ 20 ก่อนก็ได้ครับ ออมที่ไม่ต้องมาก แต่ขอให้ออม เมื่อเราฝึกวินัยการออมด้วยวิธีนี้ได้ ค่อยต่อยอดไปอีกขั้น การออมวิธีนี้มีข้อดีคือเราสามารถนำเงินเก็บมาใช้ยามจำเป็นได้ แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียคือ ออมเท่าไหร่ไม่ถึงเป้าหมายสะที พอสิ้นเดือนก็ควักออกมาใช้หมด และที่สำคัญถ้าทิ้งเงินไว้ในกระปุกก็ทำให้ขาดโอกาสที่เงินจะสร้างผลตอบแทนได้ แม้ว่าจะหนึ่งเดือนหรือสองเดือนถ้าออมเงินได้แล้วนำไปลงทุนต่อก็สร้างผลตอบแทนได้เยอะเหมือนกัน ฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ สำหรับคนที่มองวางเก็บเงินไว้ในกระปุกไม่ได้ดอกเบี้ย อาจจะต่อยอดจากการนำเงินที่ได้ไปฝากบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร หากต้องการเก็บเป็นเงินออม ไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็มและไม่ผูกบัญชีกับมือถือเพราะจะได้ไม่เผลอกดมาใช้ แต่ถ้าต้องการเก็บเป็นเงินฉุกเฉินก็อาจจะเพิ่มบริการโมบายแบงก์กิ้งไปด้วย ข้อดีคือได้ดอกเบี้ย ดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ และยังสามารถเบิกมาใช้ยามจำเป็นได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็อาจจะไม่สูงมา ฝากธนาคารแบบฝากประจำ หากฝากแบบออมทรัพย์แล้วยังเผลอกดมาใช้ แนะนำว่าเปลี่ยนไปฝากแบบประจำ เพราะบัญชีฝากประจำจะมีเงื่อนไขคือจะถอนเงินได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาตามแบบที่เราเลือก และยังได้ดอกเบี้ยสูงกวว่าแบบออมทรัพย์ด้วย และควรกระจายไว้ทั้งสองบัญชีทั้งออมทรัพย์เพื่อจะได้ถอนมาใช้เมื่อจำเป็น แล้วตอนนี้เกือบทุกธนาคารก็มีบัญชีแบบใหม่ที่อาจจะไม่ต้องฝากประจำก็ยังได้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ด้วย (อ่านบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง) ออมในหุ้น ซื้อกองทุน จากการออมทั้งสามแบบที่ผ่านมาจะเห็นว่า เป็นการฝึกวินัยการออมเงิน ยังไม่มีเรื่องของผลตอบแทนมาเกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ เพราะวินัยสำคัญกว่าผลลตอบแทนเราจึงควรให้ความสำคัญกับวินัยการออมก่อน เมื่อเรามีวินัยและทำเป็นนิสัย ขั้นต่อไปเราก็จะเลือกออมในกองทุน […]

1 10 11 12 13 14 15