เงินสำรองฉุกเฉินของมันต้องมี

หลังจากที่เริ่มวางต้นวางแผนการเงินโดยทำบัญชีรายรายรายจ่ายเพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายของตัวเองไปเรียบร้อย (จากโพสก่อนหน้า) ขั้นตอนต่อมาที่จะต้องทำคือการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งหลายคนอาจจะมีคำถามว่า ทำไมทำไมต้องมีส่วนนี้ด้วย เงินออมสำรองฉุกเฉินเอามาจากไหน? จากโพสก่อนหน้า หลังจากที่เรามีรายได้เข้ามาก่อนใช้ออมไปจะต้องออมก่อนใช่ไหมครับ เงินสำรองฉุกเฉินก็สามารถกันมาจากเงินออมส่วนนี้ได้ หรือจะแยกออกมาออมอีกต่างหากก็ได้ ออมฉุกเฉินไปเพื่อออะไร? ผมขอแยกเป็น 2 แบบคือฉุกเฉินเบาและฉุกเฉินหนักเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ ฉุกเฉินเบา เคยเจอไหมครับ อยู่ๆ บางเดือนก็มีเหตุให้ใช้เงินนอกเหนือจากรายจ่ายประจำเดือน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าก็พัง รถก็มีปัญหา ซ่อมแซมบ้าน ไม่อยู่ในแผนค่าใช้รายเดือนที่เตรียมไว้ จึงต้องมีเงินสำรองสำหรับส่วนนี้ด้วย บางท่านบอกว่าในสมัยนี้สะดวกมากขึ้นเพราะสามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสนใจการผ่อนได้แล้ว แต่อย่าลืมกว่า เงินที่รูดหรือกดมาใช้ยังไงก็ต้องคืนอยู่ดีซึ่งก็ต้องไปหักจากรายได้ สำหรับฉุกเฉินหนักอาจจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วอาจจะสร้างผลกระทบที่รุนแรง เช่น บริษัทปรับเปลี่ยนโครงสร้างทำให้ต้องออกจากงาน ครอบครัวมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือช่วงหลายปีที่ผ่านมาโควิดระบาดทำให้หลายคนต้องตกงาน หรือบริษัทปิดโดยไม่ทันได้เตรียมตัว ถ้ามีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพออาจจะให้เรายังพออยู่ได้แบบไม่ลำบาก หรือถ้ามีเงินสำรองฉุกเฉินไว้บางส่วนก็ยังพอมาบรรเทาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อนได้ ต้องมีเงินออมสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอ? ถ้าจะให้บอกเป็นตัวเลขหรือเปอร์เซ็นต์ก็คงยาก เพราะแต่ละคนมีรายได้ ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน รายจ่ายของบางคนที่มองว่าไม่จำเป็นแต่กลับเป็นสิ่งจำเป็นของอีกคน ถ้าจะต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินให้พออยู่ได้ในช่วงวิกฤตอาจจะประมาณ 6 เดือนของค่าใช้จ่ายจำเป็นก่อน หากมีมากกว่านั้นก็ค่อยเพิ่มให้ถึง 12 เดือน แต่ไม่ควรสูงกว่านี้และจะต้องเก็บไว้ในเครื่องการออมที่สามารถเอาออกมาใช้ได้ง่าย เช่น บัญชเงินฝากออมทรัพย์ที่ถอนมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น

เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ในการเริ่มต้นบริหารจัดการเงินหรือวางแผนการเงินสิ่งสำคัญมากคือการจดรายรับ รายจ่าย เพราะจะทำให้เราเห็นรอยรั่วว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง โดยเฉพาะคนทำงานประจำที่อาจจะสงสัยว่าเงินที่ได้มาหายไปกับค่าอะไร การจดบันทึกจะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น เริ่มต้นที่รายรับ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้างพิเศษ โบนัส ฯลฯ ต่อมาที่รายจ่ายหรือค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายในการออม ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร ค่าใช้จ่ายในการออม เป็นส่วนแรกเลยครับที่ต้องทำก่อน (ถ้าทุกคนเคยเคยได้ยินประโยคที่ว่า ออมก่อนเหลือค่อยใช้ เพราะถ้าให้เหลือใช้แล้วมาออม อาจจะไม่มีให้ออม) บางคนอาจจะมีข้อโต้งแย้งว่า แค่เงินเดือนก็ยังไม่พอใช้ จะให้ออมได้ยังไง อันนี้ผมเข้าใจเลย เพราะตอนตัวเองเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ ได้เงินเดือนแค่ 17,900 บาทเองครับ แต่ผมก็เริ่มออมโดยยอดกระปุกวันละ 20 บาท ผมไม่ได้สนใจเลยว่าจะออมเยอะ หรืออมน้อย แต่สนใจที่ว่างเราได้เริ่มต้นทำและทำจนเป็นนิสัย เมื่อรายได้เพิ่ม นิสัยการออมของเรายังอยู่และสามารถออมเพิ่มขึ้นได้ ส่วนใครที่มีประสบการณ์และวินัยในการออมแล้วอาจจะไม่ต้องแนะนำอะไร (แต่ถ้าเป็นทฤษฎีที่พูดถึงเรื่องการออมเค้าก็จะบอกว่าให้ออม 10% ของรายได้และเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนได้ครับ) ค่าใช้จ่ายคงที่ เช่นค่าผ่อนหรือเช่าบ้าน/คอนโด, ค่าเดินทาง ฯลฯ เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายคงที่ทุกเดือน ค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ค่าอาหาร, ค่าน้ำ/ค่าไฟ, ค่าโทรศัพท์, ท่องเที่ยว, ปาตี้,ช้อปิ้ง […]

วัย 20+ เริ่มต้นดี…ชีวิตไม่มีติดลบ

บทที่ 1 เป้าหมายชีวิต = เป้าหมายการเงิน การจัดการทางการเงินเริ่มจากมองหาเป้าหมายของชีวิตที่เราต้องการ เนื่องจากเป้าหมายในชีวิตที่เราต้องการนั้นสัมพันธ์กับการเงินเพราะในแต่ละช่วงชีวิตของเราล้วนต้องใช้เงิน เป้าหมายชีวิตของแต่ละคนและในแต่ละช่วงก็แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะสั้น 0-2 ปี เช่นท่องเที่ยว ระยะกลาง 2-5 ปี เช่น สร้างครอบครัว ดาวน์รถ/คอนโค/บ้าน ระยะยาว 5 ปีขึ้นไปเช่น เกษียณ การบริหารจัดการเงิน – แบบ 1 รายได้ = รายจ่าย – แบบ 2 รายได้ = ค่าใช้จ่าย + ออม – แบบ 3 รายได้ = ค่าใช้จ่าย + ออม + ลงทุน – แบบ 4 รายได้ < […]

4 ไอเดีย ได้ภาษีคืนปีนี้ เอาไปต่อยอดลดหย่อนยังไงดี

ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนน่าจะกำลังเริ่มยื่นภาษี หรือหลายคนยื่นภาษีเรียบร้อยอาจจะต้องจ่ายเพิ่มและบางคนก็ได้เงินได้เงินคืนแล้ว หลายคนได้เงินภาษีมาก็อาจจะแพลนเตรียมไว้แล้ว บางคนอาจจะเตรียมไว้หาตัวช่วยหรือเอาไว้ลดหย่อนของปีภัดไปเลยจะได้ไม่ต้องเก็บเงินเพิ่ม คนที่ไม่เคยวางแผนเรื่องการจ่ายภาษีมาก่อนอาจต้องกุมขมับเมื่อเห็นภาษีที่ต้องจ่าย ยิ่งเงินได้เยอะก็ยิ่งเสียภาษีเยอะ จะดีกว่าไหมหากสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายและยังได้ประโยชน์เพิ่ม โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปีเลย 1. ทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายประเภท เช่น เน้นการคุ้มครองชีวิต เน้นการออม เน้นคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุ การทำประกันชีวิตนั้นยังถือเป็นการสร้างเงินก้อนให้ลูกหลาน กรณีที่เสียชีวิตไปแล้ว บางประเภทยังมีเงินคืนให้ทุกปีอีกด้วย คุ้มสุดๆ 2. ทำประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพตัวเองลดหน่อยภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาท และหากซื้อให้บิดา มารดาลดได้อีกสูงสุด 15,000 บาท การมีประกันสุขภาพถือเป็นหลักประกันให้คุณหมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที่ค่ารักษาพยาบาลแพงจนน่าตกใจ ยิ่งสำหรับในผู้สูงอายุการมีประกันสุขภาพถือเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ แต่ทั้งนี้ควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้มีการยกเว้นโรค 3. ซื้อกองทุน ทั้งแบบ RMF ที่เป็นกองทุนเพื่อเกษียณอายุ ลดได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท และ SSF ที่เป็นกองทุนส่งเสริมการออมในระยะยาว ลดหย่อนได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษี […]

ชวน First Jobber วางแผนการเงิน ด้วย mDesign

ปัญหาหลักที่ First Jobber เผชิญคงหนีไม่พ้นเรื่องการเงิน เคยสังเกตตัวเองไหมครับว่าทำงานมาสักพักหนึ่งแล้วแต่ก็ไม่มีเงินเก็บสักที พอเริ่มเก็บก็ต้องมีเรื่องให้เสียเงินตลอด นั่นก็เป็นเพราะไม่ได้วางแผนการเงินนั่นเอง การวางแผนการเงินอย่างที่คงรู้กันดีว่าต้องเริ่มต้นจากการสำรวจตนเองว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หักลบกับรายได้ต่อเดือนแล้วเหลือเก็บเท่าไหร่ จากนั้นจึงแบ่งเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงย แต่บางทีก็มีรายละเอียดที่ยิบย่อยกว่านั้น เนื่องจากแต่ละคนก็มีภาระค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็มีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัว อย่างค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น จะดีกว่าไหมถ้าสามารถที่จะวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ครอบคลุมทั้งการลงทุน และค่ารักษาพยาบาล ครบจบที่เดียวด้วย mDesign mDesign หรือ ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน ที่สามารถเลือกออกแบบเองได้โดยมีพิมพ์เขียวหรือแบบต้นฉบับอยู่แล้วให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งแผนได้ตามต้องการ และยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพได้อีกด้วย มาดู 5 ข้อดีของแผนนี้ว่าดียังไงบ้าง 1. กำหนดเบี้ยประกันได้เองว่าสามารถจ่ายได้เท่าไหร่โดยเบี้ยประกันมาตรฐานที่เริ่มต้นต่อปีไม่ได้สูงมาก 2. กำหนดเงินเอาประกันหรือทุนประกันเองได้เอง ถ้าหากเด็กจบใหม่ที่ตัวเองเป็นเสาหลักของครอบครัวเป็นห่วงพ่อ แม่ อยากให้ตัวเองมีความคุ้มครองสูงมอบไว้ให้พ่อแม่ก็ทำได้ 3. ปรับลดหรือเพิ่มความคุ้มครองระหว่างทางได้ตามที่ต้องการ ถ้าหากตอนนี้เป็นห่วงคนข้างหลังที่เรารักก็เลือกเป็นทุนประกันสูงได้ แต่ถ้าวันหนึ่งไม่คนที่เราห่วงแล้วก็สามารถลดความคุ้มครองลดได้ค่าใช้ค่าที่ถูกหักก็จะน้อยลง มีเงินเหลือไปลงทุนได้มากขึ้น 4. เลือกลงทุนได้เอง ในกองทุนของ บลจ. ชั้นนำ มีให้เลือกถึง 9 บลจ. เช่น กสิกร กรุงศรี แลนด์ แอนด์ เฮาส์ หรือไทยพานิชย์ […]

1 2 3 15