อิสรภาพทางการเงินมีไปเพื่ออะไร

ทุกวันนี้ทุกคนก็ล้วนอยากมีอิสรภาพทางการเงินรวมถึงอู๋ด้วยที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินมานานแล้วและก็ได้เริ่มสร้างอิสรภาพทางการเงินของตัวเองมา 2-3 ปีแล้ว แต่ว่าหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอิสรภาพทางการเงินคืออะไร เราจะเริ่มต้นยังไง อู๋ได้มีโอกาสฟังคลิปของคุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ได้เล่าไว้เกี่ยวกับเรื่องอิสรภาพทางการเงิน อยากสรุปที่ฟังมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ อิสรภาพทางการเงินคืออะไร การใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากจะเป็นซึ่งมาตรฐานของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน โดยไม่ต้องทำงานหรือกังวลเรื่องของการใช้เงิน การจะมีอิสรภาพทางการเงินได้คือต้องมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้เกี่ยวกับคำว่ารวย แต่การมีเงินมากหรือเงินน้อยก็สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยรายได้แบ่งเป็น 2 แบบคือ รายได้ที่ต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน (Active Income) เช่น ทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ ธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไงก็ต้องทำทุกวันไปเรื่อยๆ หยุดเมื่อไหร่ก็จะไม่มีรายได้ รายได้ที่เราไม่ต้องทำงาน (Passive Income) ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการแบ่งเงินในส่วนรายได้ที่เราทำงาน แบ่งออกมาเก็บสะสมไว้หรือลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน เช่น ฝากไว้รับดอกเบี้ย ซื้อหุ้นโดยได้ผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า แต่บางสินทรัพย์อาจจะไม่ใช้การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Passive Income เพราะต้องมีการติดตามผลทุกวัน มีการเก็งกำไร มีการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นเก็งกำไร ทองคำที่ซื้อๆขายๆ หรือ เหรียญดิจิตัล ฉะนั้นการจะมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน (Passive Income) […]

5 สิ่งต้องรู้สู่อิสรภาพทางการเงิน

การมีอิสรภาพทางการเงินก็เหมือนการเดินทางที่เราต้องอาศัยแผนที่เช้ามาช่วยเพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น การมีอิสรภาพทางการเงินก็เช่นกันก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทิศทางที่ถูกต้อง โดยทุกคนควรจะต้องรู้ 5 สิ่งต่อไปนี้ 1. เป้าหมายต้องชัดเจน เป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำงานราชการมา พอใช้กับรายได้ เงินบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณ พอใจกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ได้รับหลังเกษียณ อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนที่ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้มีเงินบำนาญแต่ยังจำเป็นที่ต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้หลังเกษียณ ฉะนั้นจะต้องรู้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเงินก้อนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ตัวอย่างบทความการคำนวณเงินใช้หลังเกษียณที่ได้เคยเขียนไว้ (คลิ๊ก) 2. ขยันและประหยัด ขยันคือการทำงานที่สร้างรายได้ให้สม่ำเสมอหรือเกือบสม่ำเสมอ เช่น งานประจำ ธุรกิจส่วนตัว งานฟรีแลนซ์ หรือเป็นงานที่เราทำแล้วได้เงิน ที่สำคัญเมื่อหาเงินได้แล้วต้องประหยัดนำเงินก้อนที่ได้มาสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย เนื่องจากในแต่ละปีเราอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เราอาจจะเผลอใช้ชีวิตหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่าต้องสร้างหนี้ไปตลอด จึงควรกันเงินที่ได้จากการทำงานมาออมหรือลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นเพื่อสามารถออมให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1 3. ศึกษาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ (Passive Income) Passive Income คือรายได้ที่จะเข้ามาโดยที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ควรมีความรู้และเข้าใจสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ ด้วยและที่สำคัญคือต้องรู้ว่าสินทรัพย์นั้นๆเป็นสินทรัพย์ที่จะมีกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า หรือไม่มีกระแสเงินสดรับแต่คิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ นาฬิกา พระเครื่อง อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 4. อดทนและมีวินัย […]

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)

  อายุรับประกันภัย :  6 – 80 ปี   ระยะเวลาคุ้มครอง : ถึงอายุ 99 ปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของสัญญาหลัก)   ระยะเวลาชำระเบี้ย : ชำระเบี้ยได้ถึงอายุ 98 ปี OPD ต่อครั้ง vs OPD เหมาจ่าย OPD ต่อครั้ง…เจ็บเล็กเจ็บน้อยแค่ไหนก็ไม่หวั่น เพราะเพิ่มเติมความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอกให้ สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกได้ 1 ครั้งต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี ครอบคลุมครบถ้วน ทั้งค่าธรรมเนียมปรึกษาแพทย์, ค่าวินิจฉัย, การบำบัดรักษำโดยแพทย์ผ่านโทรเวชกรรม (Telemedicine) และค่ายา OPD เหมาจ่าย . . คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ตามวงเงินเหมาจ่ายต่อปีกรมธรรม์ หมดกังวล กับการเจ็บป่วย บาดเจ็บจากอุบัติเหตุกระทันหัน ด้วยความคุ้มครองการรักษาแบบเหมาจ่ายรายปี ครอบคลุมทั้งค่าธรรมเนียมปรึกษาแพทย์, ค่าวินิจฉัย, ค่ากายภาพ, Telemedicine และค่ายา ปรึกษาแพทย์ในฐานะผู้ป่วยนอกได้มากที่สุด 2 ครั้ง/วัน คลายกังวลด้วย Second […]

3 คำศัพท์ที่ควรรู้ในการอ่าน Fund Fact Sheet กองทุนรวม

ความผันผวนของผลตอบแทน ความผันผวนของผลตอบแทน (Standard Deviation: S.D.) คือ ค่าความเบี่ยงเบนของผลตอบแทน ตัวอย่าง: กองทุน A มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 5 % มีค่าความผันผวน (S.D.) 3 % หมายความว่า กองทุนรวม A คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5 ต่อปี แต่มีโอกาสที่ผลตอบแทนจะไม่เป็นไปตามคาดหวังคือจะผันผวนอยู่ในช่วง 5 % และ + S.D. ( 3 %) คืออยู่ระหว่าง 2 % ถึง 8% อันดับ Percentile เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับกองทุนอื่น ที่มีนโยบายการลงทุนในรูปแบบเดียวกัน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ได้จัดทาตารางเพื่อเปรียบเทียบผลการดาเนินงานและความผันผวนของผลตอบแทนในรูปแบบ Peer Percentile Percentile ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลำดับ 5th Percentile หมายถึง ผลการดำเนินการอยู่ใน […]

เมืองไทย พรีเมียร์ เลกาซี่ 99/10, 99/5

 อายุรับประกันภัย : 30 วัน – 70 ปี  ระยะเวลาคุ้มครอง : ครบอายุ 99 ปี   ระยะเวลาชำระเบี้ย : 10 ปี, 5 ปี รายละเอียดแผน ทุนประกันสูงเริ่มต้น 10,000,000 บาท คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี จ่ายเบี้ย 10 ปี หรือ 5 ปี สุขภาพดีได้ส่วนลดเบี้ยประกัน เหมาะสำหรับ หัวหน้าครอบครัว สร้างหลักประกันให้คนข้างหลัง เจ้าของธุรกิจ สร้างความคุ้มครองธุรกิจให้ดำเนินต่อได้อย่างต่อเนื่อง ในวันที่เจ้าของจากไป ผู้ที่ต้องการวางแผนมรดก ช่วยบริหารภาษี ส่งต่อทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่น….สู่รุ่นอย่างไม่สดุด ด้วยการวางแผนมรดก การวางแผนมรดกที่จะช่วยส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่สะดุดและยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินของคุณจะได้รับการสืบทอดไปให้กับคนที่ต้องการ ซึ่งหากไม่มีการไม่วางแผนมรดกอาจจะเกิดปัญหาได้ เช่น เกิดปัญหาการแบ่งทรัพย์สินไม่ลงตัว ส่งต่อทรัพย์สินไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ใช้เวลานานในการพิสูจน์ทายาทตามกกฏหมาย ไม่สามารถบริหารจัดการภาษีได้ ขั้นตอนการวางแผนมรดก รู้สถานะการเงินของตัวเอง โดยจัดทำบัญชีทรัพย์สินอย่างละเอียด และวางแผนจัดสรรว่าส่วนใดที่จะนำไปไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิตและส่วนในที่จะต้องนำไปวางแผนมรดกเพื่อส่งต่อให้ลูกหลาน […]

1 7 8 9 10 11 58