3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน

ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มลงทุนอยากให้มารู้จัก 3 ข้อต่อไปนี้ซึ่งเป็น 3 ข้อที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กันถ้าเรารู้และนำไปประยุกต์ใช้และวางแผนการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง รับรองว่าการออมเงินให้ถึงเป้าที่ตั้งใจไว้ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน 1.รู้จักการเก็บเงินและการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ การลงทุน/เก็บเงินในสินทรัพย์ต่างๆ นั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ฝากเงิน ประกันชีวิต สลากออมสิน/ธกส. พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ น้ำมัน คริปโต ซึ่งการลงทุนในแต่ละแบบก็ล้วนให้ผลตอบแทนที่ต่างกันและมีความเสี่ยงที่ต่างกันด้วย การฝากเงินไว้ในธนาคารอาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูง และคนที่เลือกทางนี้ก็เพราะรับความเสี่ยงสูงมากไม่ได้ สบายใจกว่าเมื่อเห็นเงินต้นยังคงอยู่ บางคนเลือกลงทุนในหุ้นเพราะต้องการผลตอบแทนที่สูงซึ่งก็ต้องยอมรับในความผันผวนที่สูงขึ้น อาจจะมีขึ้นมีลง ถ้าเป็นการลงทุนในระยะยาวหรือกระจายการลงทุน มีความรู้เรื่องการลงทุนที่ดีก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากๆ มีสำนวนหนึ่งบอกไว้ว่า “การมีตะกร้าใส่ไข่ใบเดียว เมื่อตะกร้าตก ไข่ก็แตกหมด เช่นเดียวกับเงิน ถ้าเก็บเงินไว้ที่เดียวทั้งหมดก็มีความเสี่ยงเช่นกัน การฝากไว้กับธนาคารเกินความจำเป็นก็มีความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น หรือนำเงินไปลงทุนในหุ้นทั้งหมดก็เสี่ยงต่อความผันผวน การกระจายเงินไว้ในหลากหลายสินทรัพย์จึงเป็นการทางเลือกหนึ่งในการกระจายความเสี่ยง” การลงทุนหรือเก็บเงินนั้นจึงมีให้เลือกหลากหลายตามความชอบ/ความเสี่ยง/ความรู้ ที่เราถนัดไม่มีผิดมีถูก ทั้งนี้ก็ต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เรามีความรู้และเชื่อมั่นด้วย ไม่ใช่เห็นว่า สินทรัพย์นั้นผลตอบแทนสูงมากแต่เราไม่มีความรู้เลย พอเอาเงินไปลงทุนก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ กลัวเงินต้นหาย  2. รู้จักเป้าหมายการลงทุน เป้าหมายการลงทุนหรือเก็บเงิน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เป้าหมายระยะสั้น เช่น 3-5 […]

3 กองทุนรวมลงทุนในหุ้นธนาคาร

ถ้าพูดถึงหุ้นของสถาบันการเงินในประเทศไทยหลายคนคงต้องนึกถึงหุ้นของธนาคาร หรือหลายคนก็อาจจะรู้จักเป็นอย่างดีและมีลงทุนเก็บไว้กันบ้างแล้ว แต่การซื้อหุ้นหรือลงทุนในหุ้นของธนาคารโดยตรงอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคนเพราะบางธนาคารก็มีข้อกำหนด เช่น ซื้อขั้นต่ำอย่างน้อยกี่หุ้น หรือราคาหุ้นก็สูงเกินกำลังโดยเฉพาะธนาคารใหญ่ๆ ราคาหุ้นเฉลี่ยในปี 2565 ก็ไม่ต่ำอย่าง 100 บาท ถ้าจะลงทุนหลายธนาคารก็อาจจะมีเงินไม่พอ ปัญญาทั้งหมดนี้แก้ได้ง่ายๆ โดยเปลี่ยนจากการลงทุนหรือซื้อหุ้นรายตัวของแต่ละธนาคาร ก็ไปซื้อกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นของธนาคารแทน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะลงทุนในหุ้นของธนาคาร Top 5 ของประเทศ ทำให้การซื้อกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นธนาคารนั้นใช้เงินเพียงไม่กี่บาท ก็เหมือนได้ลงทุนในธนาคารต่างๆ แล้ว ที่สำคัญยังมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้จัดการกองทุนคอยบริการการลงทุนกองทุนรวมนั้นๆให้ด้วย 1. K-BANKING (กองทุนเปิดเค ดัชนีหุ้นธุรกิจธนาคาร) ประเภทกองทุน กองทุนรวมตราสารทุน โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย เริ่มต้นลงทุนครั้งแรกและขั้นต่ำครั้งต่อไป 500 บาท นโยบายจ่ายเงินปันผล : ไม่จ่าย ระดับความเสี่ยงสูง (7) นโยบายการลงทุนของกองทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ 21.07% ธนาคารกสิกรไทย 19.31% ธนาคารกรุงเทพ 13.87% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 13.46% ธนาคารกรุงไทย 11.70% ข้อมูลวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 https://www.kasikornasset.com/…/Pages/K-BANKING.aspx […]

ประกันแบบไหนเหมาะกับความต้องการของเรา

1. ตายไปอยากให้คนที่เรารักได้เงิน เช่น เราตาย พ่อแม่ได้เงินก้อน/ พ่อแม่ตายเราได้เงินก้อน/ พ่อแม่ตายลูกๆ ได้เงินก้อน >>> ทำประกันชีวิตตลอดชีพ เบี้ยถูก คุ้มครองสูง หรือเลือกประกันชีวิตควบการลงทุน (mDesign) ที่จ่ายเบี้ยเท่ากับแบบประกันตลอดชีพและได้ความคุ้มครอง (ทุนประกัน) สูงกว่าหลายเท่า https://bit.ly/3QzDf4G https://bit.ly/3tzT0NR 2. อยากเก็บเงินให้ตัวเอง อนาคตได้เงินก้อน/ ลดหย่อนภาษี บังคับตัวเองให้ออม ตายแล้ว พ่อแม่ ฯลฯ ได้ตังค์ 
>>> ทำประกันสะสมทรัพย์แบบระยะสั้น หรือ ระยะยาวขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน https://bit.ly/3k9yhNB 3. อยากเก็บเงินให้ตัวเอง อนาคต+ลงทุนเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น อยากบังคับตัวเองให้ออมสม่ำเสมอ/ลดหย่อนภาษี ตายแล้วพ่อ แม่ ฯลฯ ได้ตังค์ >>> ทำประกันสะสมทรัพย์/ Index Linked/ ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์ แผน mDesign) https://bit.ly/3k9yhNB https://bit.ly/3tzT0NR 4. อยากเก็บเงินไว้ตอนแก่/หลังเกษียณ ลดหย่อนภาษี […]

อิสรภาพทางการเงินมีไปเพื่ออะไร

ทุกวันนี้ทุกคนก็ล้วนอยากมีอิสรภาพทางการเงินรวมถึงอู๋ด้วยที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินมานานแล้วและก็ได้เริ่มสร้างอิสรภาพทางการเงินของตัวเองมา 2-3 ปีแล้ว แต่ว่าหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอิสรภาพทางการเงินคืออะไร เราจะเริ่มต้นยังไง อู๋ได้มีโอกาสฟังคลิปของคุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ได้เล่าไว้เกี่ยวกับเรื่องอิสรภาพทางการเงิน อยากสรุปที่ฟังมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ อิสรภาพทางการเงินคืออะไร การใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากจะเป็นซึ่งมาตรฐานของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน โดยไม่ต้องทำงานหรือกังวลเรื่องของการใช้เงิน การจะมีอิสรภาพทางการเงินได้คือต้องมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้เกี่ยวกับคำว่ารวย แต่การมีเงินมากหรือเงินน้อยก็สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยรายได้แบ่งเป็น 2 แบบคือ รายได้ที่ต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน (Active Income) เช่น ทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ ธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไงก็ต้องทำทุกวันไปเรื่อยๆ หยุดเมื่อไหร่ก็จะไม่มีรายได้ รายได้ที่เราไม่ต้องทำงาน (Passive Income) ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการแบ่งเงินในส่วนรายได้ที่เราทำงาน แบ่งออกมาเก็บสะสมไว้หรือลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน เช่น ฝากไว้รับดอกเบี้ย ซื้อหุ้นโดยได้ผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า แต่บางสินทรัพย์อาจจะไม่ใช้การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Passive Income เพราะต้องมีการติดตามผลทุกวัน มีการเก็งกำไร มีการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นเก็งกำไร ทองคำที่ซื้อๆขายๆ หรือ เหรียญดิจิตัล ฉะนั้นการจะมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน (Passive Income) […]

5 สิ่งต้องรู้สู่อิสรภาพทางการเงิน

การมีอิสรภาพทางการเงินก็เหมือนการเดินทางที่เราต้องอาศัยแผนที่เช้ามาช่วยเพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น การมีอิสรภาพทางการเงินก็เช่นกันก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทิศทางที่ถูกต้อง โดยทุกคนควรจะต้องรู้ 5 สิ่งต่อไปนี้ 1. เป้าหมายต้องชัดเจน เป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำงานราชการมา พอใช้กับรายได้ เงินบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณ พอใจกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ได้รับหลังเกษียณ อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนที่ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้มีเงินบำนาญแต่ยังจำเป็นที่ต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้หลังเกษียณ ฉะนั้นจะต้องรู้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเงินก้อนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ตัวอย่างบทความการคำนวณเงินใช้หลังเกษียณที่ได้เคยเขียนไว้ (คลิ๊ก) 2. ขยันและประหยัด ขยันคือการทำงานที่สร้างรายได้ให้สม่ำเสมอหรือเกือบสม่ำเสมอ เช่น งานประจำ ธุรกิจส่วนตัว งานฟรีแลนซ์ หรือเป็นงานที่เราทำแล้วได้เงิน ที่สำคัญเมื่อหาเงินได้แล้วต้องประหยัดนำเงินก้อนที่ได้มาสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย เนื่องจากในแต่ละปีเราอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เราอาจจะเผลอใช้ชีวิตหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่าต้องสร้างหนี้ไปตลอด จึงควรกันเงินที่ได้จากการทำงานมาออมหรือลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นเพื่อสามารถออมให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1 3. ศึกษาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ (Passive Income) Passive Income คือรายได้ที่จะเข้ามาโดยที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ควรมีความรู้และเข้าใจสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ ด้วยและที่สำคัญคือต้องรู้ว่าสินทรัพย์นั้นๆเป็นสินทรัพย์ที่จะมีกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า หรือไม่มีกระแสเงินสดรับแต่คิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ นาฬิกา พระเครื่อง อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 4. อดทนและมีวินัย […]

1 6 7 8 9 10 58