วางแผนการเงินสำหรับคุณแม่

พี่ผู้หญิง ภรรยา แม่บ้านฟังทางนี้ พี่อยู่บ้านเลี้ยงลูก แล้วสามีออกไปทำงาน หาเลี้ยงครอบครัว เป็นเสาหลักของบ้าน เคยถามสามีตัวเองกันไหมเอ่ย เค้ามีความคุ้มครองประกันชีวิตอยู่เท่าไหร่ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่คิดว่าค่อยมาพูดทีหลัง มันควรคุยกันตั้งแต่วันที่เริ่มใช่ชีวิตร่วมกันแล้ว เพราะถ้าวันที่สามีพี่เค้าโชคร้าย ไม่สามารถหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวได้ พี่เองจะต้องลำบากทำแทนสามีหมดทุกอย่าง จากที่ให้สามีออกไปทำงาน พี่จะต้องเป็นฝ่ายหาเลี้ยงครอบครัว ถ้ามีลูกด้วยยิ่งต้องลำบากเป็นสองเท่า ทั้งหาเงินเลี้ยงตัวเอง หาเงินเลี้ยงลูก มันก็เหมือนในละครเวลาพ่อพระเอก นางเอก ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ลูก ให้ภรรยาตัวเอง กลายเป็นคนนอกที่ไหนไม่รู้มาได้สมบัติเราแทน จากชีวิตที่ดูสบายอาจจะกลายเป็นลำบาก ถ้าผู้นำครอบครัว (สามี) ยังไม่ได้คิดเรื่องนี้ เราก็ควรปรึกษากับเค้า พูดคุยกัน มองหาความคุ้มครอง เพราะวันที่เค้าจากไปคนที่ได้ผลประกันก็คือตัวพี่ๆเอง ครับ

“สู้หว่ะพิมพ์​ ปีนผาฝ่ามะเร็ง” 

“สู้หว่ะพิมพ์​ ปีนผาฝ่ามะเร็ง” ผมได้ฟังประสบการณ์ของพี่พิมพ์ สุวพร เล่าเกี่ยวกับการต่อสู้กับโรคร้ายและกำลังใจที่ทำให้พี่เค้าสุขภาพกีจนถึงวันนี้ พี่พิมพ์ เป็นคนชอบออกกำลังมาตั้งแต่เด็ก ดูและสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ แต่พอวันนึงก็ได้ตรวจพบว่สตัวเองเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง วันนั้นพี่เค้าบอกว่าเสียใจ ร้องไห้ คิดว่าดูแลตัวเองดีขนาดนี้ ชอบออกกำลังกาย ร่างกายแข็งแรง ทำไมต้องเป็นเค้า จนรู้สึกท้อ แต่พี่พิมพ์ก็กลับมาสู้ เพราะได้กำลังใจจากที่บ้าน และเพื่อนๆ รอบตัวและเพื่อนจากการเล่นกีฬาปีนผาด้วยกัน และคิดว่า ในเมื่อคนอื่นเห็นคุณค่าในตัวเรา ทำไมไมจะต้องไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เรื่องนี้ทำให้ผมได้ข้อคิดหลายๆ อย่าง 1. เราทุกคนมีคุณค่าในตัวเองเสมอ 2. กำลังใจจากคนรอบข้างสำคัญที่สุด 3. ทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่บวก ช่วยให้จิตใจเราดีขึ้น และมองหาวิธีแก้ปัญหาได้ 4. ยอมรับ แล้วสู้กับสิ่งนั้นๆ แต่ไม่ยอมแพ้ 5. ใช้ชีวิตแบบสมดุล เพราะไม่ว่าจะดูและตัวเองดีแค่ไหน แข็งแรงยังไง ร่างกายเราก็มีสิทธิ์เจ็บป่วยได้ สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เฟอร์เฟค แคร์ คุ้มครองโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระยะกลางหรือระยะสุดท้าย มากถึง 36 โรคร้ายรวมถึงกรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ คุ้มครองตั้งแต่อายุ 60 วัน […]

วางแผนการเงินสำหรับหัวหน้าครอบครัว

พี่ผู้ชาย ทั้งหลาย ในฐานะพี่เป็นหัวหน้าครอบครัว หาเงินเลี้ยงดูภรรยาและลูก พี่ได้วางแผนอะไรให้ครอบครัวตัวเองบ้างหรือยัง การวางแผนครอบครัวเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เราแต่งงานกับคนที่รักและคิดว่าจะดูแลกันตลอดไป แต่ถ้าวันหนึ่ง พี่ไม่ได้มีโอกาสดูแลเค้าไปตลอดชีวิต พี่ได้เตรียมอะไรทิ้งไว้ให้เมีย ให้ลูกบ้าง หลายท่านคิดไว้แล้ว หลายท่านยังไม่ได้คิด ถ้ายังไม่ได้คิด มัวรออะไร เพราะทุกสิ่งล้วนไม่แน่ไม่นอน ถ้าวันที่พี่จากไป อยากให้ภรรยาดิ้นรนทำงาน หาเลี้ยงตัวเองกับลูกค้า หรืออยากมีเงินก้อนไว้ให้เค้าใช้ อยากให้ลูกหาเงินเรียนหนังสือเองหรือมีเงินก้อนทิ้งไว้ให้เค้าได้เรียนตามที่เค้าอยากเรียน อยากให้ภรรยาหาเงินใช้หนี้ที่ร่วมกันสร้างหรือเราใช้หนี้ให้เค้าจนหมดในวันที่เราไม่อยู่แล้ว การเป็นหัวหน้าครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ค่อยคิดเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะถึงวันนั้นอาจจะไม่มีเวลาได้คิดแล้ว

เลือกโรงพยาบารัฐฯ หรือ โรงพยาบาลเอกชน

ใครชอบต่อราคาสินค้าบ้างครับ? มีธุรกิจประเภทหนึ่งที่แทบไม่ต้องทำการตลาด ลูกค้าเข้าหาเอง ธุรกิจก็เติบโตลูกค้าแทบจะไม่ได้ต่อราคา จ่ายไหวก็เข้ามา จ่ายไม่ไหวก็ไปที่อื่น ที่ผมพูดถึงก็คือ ธุรกิจประเภทโรงพยาบาลนั้่นเอง ทุกวันนี้เราแทบไม่เห็นโฆษณาของโรงพยาบาลเลย เพราะไม่มีความจำเป็นที่โรงพยายาลต้องมาโปรโมทให้คนรู้จัก ไม่ต้องสร้างกระแส แต่ก็มีลูกค้าเข้าหาไม่ขาด ที่เป็นแบบนี้เพราะ การเจ็บป่วยถือเป็นหนึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอ ไม่เจ็บป่วยเบาก็เจ็บป่วยหนัก และยังมีโรคใหม่ใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือชีวิตคนเราที่ไม่สามารถหาสิ่งอื่นมาแทนได้ฉะนั้นโรงพยาบาลจึงเป็นแหล่งที่ทุกคนต้องพึ่งพาและด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแผลหายไวไม่เจ็บป่วยเหมือนสมัยก่อนทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นค่อนข้างแพงขึ้นทุกวัน หลายคนอาจจะบอกว่าไม่เห็นจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลแพงๆเลย รัฐบาลถูกๆก็มี แต่เคยสังเกตไหมครับที่ว่ากันถูกๆ เป็นยังไงบ้างรอคิวที่ 2-3 ชั่วโมง บางที่หมอก็ไม่พอตรวจคนไข้ เจ้าหน้าที่บริการเต็มที่แต่ก็แทบทนไม่ไหว คนที่จ่ายไหวก็ไปเอกชนกันหมด เพราะแบบนี้ไงครับโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องทำอะไรแต่มีลูกค้าเข้าหาเอง ถ้าจ่ายไหวก็ได้ใช้โรงพยาบาลที่บริการดีคุ้มค่ารวดเร็ว แต่ถ้าไม่มีค่ารักษาก็ตามมีตามเกิด โรงพยาบาลเค้าไม่ได้แบ่งว่าใครรวยใครจน เค้าพร้อมอ้าแขนรับคนไข้เสมอ ถ้ามีเงินค่ารักษา ว่าแต่ตอนนี้มีคนจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ใช้บริการโรงพยาบาลดีๆกันหรือยังครับ หรือว่ายังรอคิว 2 ชั่วโมงกันอยู่

นิสัยการออมของพ่อแม่มีผลต่อลูกหรือไม่?

หากพูดถึงนิสัยใช้ชีวิตประจำวันของผู้ปกครอง พ่อหรือแม่ เช่น การกิน การซื้อของ ทักษะทางอารมณ์ เรามักจะได้ยยินว่าสิ่งเหล่านี้มีผลต่อ นิสัยของลูกหลานโดยที่พ่อแม่ไม่รู้ตัวผ่านการเลี้ยงดู แล้วการใช้ชีวิตและนิสัยใช้เงิน การบริหารเงินของพ่อแม่หละ ส่งผลต่อลูกหลานของคุณหรือไม่ ตอนสมัยเด็กๆ พ่อ แม่หลายคนมักจะสอนให้เราหยอดกระปุกออมสิน โดยที่เราก็ไม่ได้ชอบเท่าไหร่ แต่การเขี้ยวเข็นและคำสอนก็ทำให้เราค่อยๆ เก็บเงินทีละเล็กละน้อยจนติดเป็นนิสัย พอโตมาก็อยากออมเงิน ลงทุน หรือเก็บเงินเองโดยไม่รู้ตัวบางคนเปลี่ยนไปเป็นความสนใจในการลงทุน จากการสังเกตคนกลุ่มนึงที่ได้พูดคุย ก มีนิสัยการใช้เงินที่ไม่เป็นระบบ ชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่ละเดือนไม่พอใช้ และยังต้องคอยหยิบยืมคนรอบข้าง อยากซื้อะไรแต่ไม่มีเงินสดก็ใช้บัตรเครดิตก่อน หากฟังเพียงแค่นี้ ก็คงคิดว่าอาจจะเป็นนิสัยที่ไม่รู้จักการใช้งานตอนยังเป็นวัยรุ่น แต่พอฟังได้ฟังหลายๆ เรื่องตั้งแต่เรื่องครอบครัว ชีวิตความเป็นอยู่ก็รู้ว่าพ่อแม่ของเค้า มีนิยสัยการใช้เงินที่ไม่เป็นระบบเหมือนกัน บางครั้งใช้เงินเกินตัว หยิบยืมเงินเพื่อนบ้านอยู่บ่อยๆ และมีหนี้นอกระบบ อีกทั้งตัวเค้าเองก็ยังไม่มีเงินฝาก ไม่มีคิดที่จะเก็บเงิน ก็พอจะสันนิฐานได้ว่า พฤติกรรมหรือนิสัยการใช้เงินของพ่อแม่ ก อาจส่งต่อตัวเค้าได้ เมื่อได้คุยกับ นาย ข ที่มีวิถีใช้เงินประหยัด ไม่ถึงกับเก็บเงินทั้งหมดที่ได้มา แต่ก็มีแบ่งไปใช้ซื้อความสุขตามประสาวัยรุ่นบ้าง ข มักจะคิดว่า ของที่อยากได้จะพิจารณาก่อนว่าเป็นสิ่งของที่ต้องการหรือเป็นสิ่งจำเป็น ควรซื้อเดี่ยวนั้น หรือรอเวลาไปก่อน เมื่อ ข […]

1 55 56 57 58