iPhone 11 มาแล้วซื้อหรือไม่ ตัดสินใจยังไงดี

วันนี้ iPhone 11 และ iPhone 11 Pro วางขายแล้วเงินในกระเป๋าก็ไม่มีแต่ก็อยากได้ เครื่องเก่าในมือก็หล่นแล้วหล่นอีก เอายังไงดีน้าซื้อหรือไม่ ใครยังตัดสินใจไม่ได้มาดูวิธีการที่ผมใช้ ข้อไหนนำไปเป็นแนวทางได้ก็ลองดูนะค้าบ 1. ผมเเทียบฟังก์ชั่นที่เพิ่มมาว่าเหมาะกับการทำงานของเราหรือไม่ (เน้นว่าการทำงานและเกิดประโยชน์) 2. เครื่องเก่าที่ใช้อยู่ยังดีอยู่หรือไม่ ใช้ต่อไปได้หรือป่าวและจะใช้ได้อีกนานแค่ไหน 3. หนี้บัตรเครดิตเก่ายังจ่ายไม่หมดหรือในแต่ละเดือนผ่อนอะไรอยู่บ้างเกิน 40 ของรายได้ไหม – ถ้าผ่อนเยอะอยู่แล้วก็ยังไม่ต้องซื้อ แต่ถ้ายังไม่ผ่อนอะไรหรือผ่อนนิดหน่อยก็ลองคำนวณดูว่าผ่อนเพิ่มจะหนักไปไหม เดี่ยวจะมัวแต่เอาเงินไปผ่อน iPhone หมดจนไม่มีกินข้าว ปาร์ตี้กับเพื่อนๆ 4. ถ้าซื้อเงินสดเป็นเงินเก็บสำรองยามฉุกเฉินรึป่าว-ถ้าเป็นเงินสำรองก้อนสุดท้ายยังไม่ต้องซื้อ เดี่ยวฉุกเฉินจะไม่มีเงินใช้ ถ้ามีเงินเงินสำรองมากพอใช้ไปแล้วยังมีเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉินซื้อไว้ใช้ก็ไม่เสียหาย แต่ต้องดูเหตุผลอื่นๆประกอบด้วย 5. ซื้อเพราะอยากได้หรือซื้อตามคนอื่น ลองคิดดูว่าที่เราอยากได้เพราะอยากได้มาใช้งานจริงๆ ดูมานานแล้ว หรืออยากได้เพราะเพื่อนๆ มีกัน 6. คำนวณรายได้เทียบกับราคาเครื่องคือคำตอบ iPhone ราคาเริ่มต้น 24,900 บาท บางคนรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนเฉลี่ย 312 บาทต่อชั่วโมง ( 8 ชม. 20 […]

ไม่ต้องไปทำบุญไกลที่ไหน รู้ไหมทำประกันก็เท่ากับการช่วยเหลือคนอื่น

ไม่ต้องไปทำบุญไกลที่ไหน รู้ไหมทำประกันก็เท่ากับการช่วยเหลือคนอื่น หลายคนอาจจะสงสัยทำประกันเกี่ยวอะไรกับทำบุญ มาดูกันครับ การทำประกันชีวิตหรือสุขภาพที่เราจ่ายเบี้ยไป บริษัทเอาเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนให้เรา ส่วนหนึ่งกันไว้เผื่อลูกค้าต้องใช้ยามจำเป็นเช่น เจ็บป่วย เข้าโรงพยาบาล แน่นอนว่าเบี้ยที่เราจ่าย 30,000 บาทต่อปีไม่ได้มากพอที่บริษัทจะเอามาจ่ายค่ารักษาเป็นแสนให้เราได้ แต่เบี้ยของลูกค้าหลายๆ คนรวมกันก็มากพอที่จะจ่ายค่ารักษาหลักแสนบาทได้เพราะคงไม่มีโอกาสที่ทุกคนจะป่วยและเข้า รพ พร้อมๆกัน ถ้าว่านี้คนใดคนหนึ่งที่ทำประกันก็จะได้เงินส่วนนี้ไปจ่ายค่ารักษา เห็นไหมครับแม้ว่าเราจ่ายเบี้ยไปแต่ไม่ได้ป่วยก็ยังมีคนอื่นที่ได้เงินจากส่วนนี้ไปเป็นค่ารักษา ถ้าวันใดวันหนึ่งถึงคิวเราป่วยบ้างก็จะได้ค่ารักษาจากเงินส่วนนี้เช่นกัน ฉะนั้นนอกจากจะทำประกันเพื่อคุ้มครองตัวเราเองแล้วยังเหมือนได้ช่วยเหลือคนอื่นทางอ้อมด้วย =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

3 สิ่งที่คนเข้าใจผิดคิดว่าทำแล้วจะรวย

เพื่อนๆ เคยสังเกตพฤติกรรมของตัวเองกันไหมครับ ว่าเราเป็นคนแบบไหน และเคยสังเกตพฤติกรรมของคนรอบข้างรึป่าวว่าเค้ามีนิสัยตามด้านล่างนี้หรือไม่ มาดูพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ที่มักเข้าใจผิดว่าถ้าทำแบบนี้แล้วจะรวยกันครับ 1. ทำงานให้หนัก หลายคนมักถูกสอนมาหรือเชื่อกันว่า ทำงานให้หนักเพื่อจะได้เงินเยอะๆ ยิ่งทำเยอะก็จะยิ่งรวย ผมว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกแต่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น การทำงานให้หนักนั้นถ้าทำไม่ถูกวิธีเหมือนคำคมที่ว่า “ทำไม่ถูกวิธี ทำทั้งปีก็ไม่รวย” การทำงานให้หนักเราต้องรู้ด้วยว่าที่เราทำนั้นมันถูกที่ ถูกเวลา ถูกงานหรือไม่ และไม่ใช่มัวแต่ทำงานอย่างเดียวควรจะต้องรู้จักวางแผนการเงินด้วย เมื่อได้เงินมาก็ต้องรู้จักออมเพื่อให้เงินสร้างรายได้ สร้างผลตอบแทนอีกทางให้เรา อย่ามัวแต่ทำงานจนไม่รู้จักวางแผนการเงินกันนะครับ 2. ประหยัดไม่ใช้เงิน การประหยัดเป็นสิ่งที่ดี แต่การประหยัดไปหมดทักอย่างไม่ได้ช่วยให้มีเงินมากขึ้นได้ เคยได้ยินไหมครับ เงินมันมีวงจรของมัน เงินที่เราได้มาก็มาจากคนอื่น แล้วเราก็ไปใช้ต่อ เปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ ถ้าเราเก็บเงินไว้ที่เดิมไม่ให้ไปไหน ก็จะไม่มีเงินใหม่ๆ เข้ามา นึกถึงปากกรวยนะครับ ปากมันจะกว้างรับเงินได้เยอะ ปลายมันจะแหลมค่อยๆ ปล่อยเงินที่เข้ามาออกไป ถ้าเราปิดปลายมันไว้กรวยก็จะเต็มรับเงินใหม่ไม่ได้ อีกอย่างการประหยัดไม่ซื้ออะไรอาจจะทำให้เราพลาดสิ่งดีๆ ได้ เช่น ถ้าเราทำอย่างที่ต้องใช้ความคิด การคำนวณก็อาจจะต้องซื้อพวกวิตามินบำรุงสมองบ้างจะได้มีไอเดียและความคิดใหม่ๆ ถ้าเราไปลองชิมอาหารร้านใหม่ อาจจะได้วิธีการทำอาหารมาต่อยอด 3. ไม่ออกไปไหน การไม่ออกไปไหน อยู่แต่ในบ้านในคอนโด ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดเสมอไป เพราะยุคนี้ทุกสิ่งสั่งได้บนโทรศัพท์มือถือหมดแล้ว ทั้งอาหาร ช้อปปิ้ง นอนอยู่บนเตียงก็เสียเงินได้ ลองออกไปข้างนอก […]

3 สัญญาณเตือนภัยใช้เงินเกินตัว

สวัสดีครับทุกคน ในช่วงเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ผมเชื่อว่าหลายคนก็กำลังวางแผนการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุดอยู่กันใช่ไหมครับ บางคนก็รัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปแล้ว บางคนก็ยังใช้เงินแบบเดิมไม่ได้วางแผนอะไร บางคนทำงานประจำก็ยังมีรายได้สม่ำเสมอเข้ามา แต่เดี่ยวก่อน.. ก่อนที่จะใช้เงินที่มีอยู่แบบไม่ได้วางแผนอะไรเลยจนเป็นหนี้ ลองมาดู 3 สัญญาณที่กำลังจะเตือนว่าเราใช้ใช้เงินเกินตัวอยู่รึป่าว ตอนนี้มีใครที่รอเงินเดือนเข้าแล้วต้องกดไปใช้หนี้ค่าบัตรเครดิต ค่าผ่อนรถ ค่าเช่าบ้าน และสารพัดค่า เหลือเงินอยู่ในบัญชีได้กี่วันกันบ้าง  ถ้าใครยังมีเงินเหลือใช้ในชีวิตประจำวันถึงสิ้นเดือนหน้าก็โล่งใจ แต่ถ้าใครจ่ายหนี้หมดจนไม่มีเงินเหลือกินเหลือใช้ อาจจะต้องมาเช็คสักนิดว่าสิ่งที่เจออยู่มันเป็นการใช้เงินเกินตัวรึป่าวกับ 3 สัญญาณเตือนภัยใช้เงินเกินตัว 1. เริ่มขัดสน เงินเริ่มตึงๆ มือ / รายได้เริ่มไม่พอกับรายจ่าย ผ่อนชำระขั้นตํ่า 2-3 เดือนแล้ว หยิบตรงโน้นมาโปะตรงนี้ แต่ยังพอหมุนเงินทัน 2. ต้องทนจ่าย ชำระขั้นตํ่าหลายเดือนแล้ว เริ่มจ่ายช้า / ขาดจ่าย 3. กระหายเงินกู้ หมุนจนหมด หยดสุดท้าย / เริ่มกู้ตรงโน้นมาโปะหนี้ก่อนนี้ ไม่มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต้องหยิบยืม/ กู้ทั้งในระบบและนอกระบบมาใช้จ่าย จาก 3 ระดับนี้เพื่อนๆ อยู่ระดับไหนกันบ้างครับ หากตอนนี้ยังระดับแรกเริ่มขัดสนและอยากปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินของตัวเองก็ยังสามารถกลับตัวทันได้ขอแค่เพียงเราตั้งใจที่จะทำมันจริงๆ ลองศึกษาวิธีการวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่สร้างหนี้เพิ่ม ไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็นและศึกษาแนวคิดการใช้เงินและเริ่มต้นวางแผนการเงินกันดูนะครับ […]

เคล็ด (ไม่) ลับเลือกประกันให้ตรงกับความต้องการ

หลายคนอาจจะคิดว่าประกันสุขภาพเป็นเบี้ยทิ้ง แต่มันคือการโอนความเสี่ยงที่เราจะต้องมาจ่ายเงินค่ารักษาหลักหมื่นหลักแสนเองโดยที่ไม่รู้ว่าจะหมดเงินไปเท่าไหร่ มาลองดูมุมมองใหม่ของการประกันสุขภาพที่มีประโยชน์มากกว่าเพราะถ้าคุณคิดว่าอยากทำประกันสุขภาพไว้เผื่อเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลจะได้มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันจ่ายให้ แต่ปีแรกหรือปีที่สองคุณไม่เข้าโรงพยาบาลเลย พอปีที่ 3 คุณก็จะเรื่มไม่อยากจ่ายเบี้ยประกันเพราะไม่ได้ใช้งาน และคิดว่าเป็นเบี้ยทิ้ง แต่เดียวก่อนถ้าคุณ ยังจ่ายเบี้ยต่อไปเรื่อยๆ มันคือการเอาเงินมากองรวมกันไว้ รอวันที่คุณจะเบิกไปใช้ ถ้าตีราคาเบี้ยประกันของผู้ชายวัย 30 ปีอยู่ที่ปีละ 32,000 บาท สิ่งที่ได้คือ ค่ารักษาพยาบาลพยาบาลปีละ 1,200,000 บาท โรคร้ายแรง 1,000,000 บาท อุบัติเหตุ 200,000 บาท อันนี้ยังไม่รวมค่ารักษาอื่นๆ อีกที่ได้ไม่ว่าจะเป็น ค่าชดเชยรายวัน ค่าห้องค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล ค่ายากลับบ้าน บลาๆ ถ้าค่าเบี้ยประกันช่วงอายุ 30-34 ปีละ 32,000 บาท รวมที่ต้องจ่าย 160,000 บาท ช่วงอายุ 35-39 ปีละ 34,000 บาท รวมที่ต้องจ่าย 170,000 บาท ช่วงอายุ 40-44 ปีละ 37,000 บาท […]

1 42 43 44 45 46 58