การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไทย

การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไทยสิทธิประกันสุขภาพในประเทศไทย ข้อมูลปี 2561 สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ 4.3 ล้านคน ชื่อ : กองทุนสวัสดิการการรักการรักษาพยาบาลข้าราชการดูแลโดย : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังครอบคลุม : ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับบำนาญคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฏหมาบ 3 คน ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)ลักษณะทั่วไป : สวัสดิการพนักงานของรัฐแหล่งรายได้ : ภาษี สิทธิประกันสังคม 11 ล้านคน ชื่อ : กองทุนประกันสังคมดูแลโดย : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานครอบคลุม : ลูกจ้างในองกรลูกจ้างที่ออกจากงานและยังจ่ายเงิยสมทบด้วยตนเองลักษณะทั่วไป : ระบบประกันสังคมแหล่งรายได้ : นายจ้าง 5% ลูกจ้าง 5% รัฐบาล2.75% สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( บัตร 30 บาท/บัตรทอง) 48.7 ล้านคน ชื่อ : […]

คุณเลือกทางไหน? เพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่าย

ดูภาพนี้แล้วคิดถึงอะไรครับ หากมองผ่านๆ มันก็แค่ตุ่มใส่น้ำทีมีรูรั่วธรรมดา แต่ถ้ามองพิจารณาไปกว่านั้น หากเรากำลังตักน้ำใส่ตุ่ม อย่างขมักเขม้น ตักแล้วตักเล่าน้ำก็ไม่เต็มตุ่มสักที่ เพราะมันมีอะไรบางอย่างมาทำให้น้ำหายไปจากตุ่มเรื่อยๆ สังเกตไหมครับ เช่นเดียวกับแผนการเงิน ถ้าน้ำคือเงินที่เราพยายามมาสะสมไว้ รูรั่วก็เหมือนปัญหาสุขภาพที่เราต้องใช้เงินไปเรื่อยๆ เราพยายามตักน้ำมาเติมยังไงก็ไม่เต็มสักที หากตุ่มมีรูรั่วเพิ่ม น้ำก็จะยิ่งไหลออก เปรียบเสมือนตัวเรามีแต่ปัญหาสุขภาพ มีการใช้งานกับเรื่องไร้สาระ มีค่ารักษาพยาบาลที่จะต้องเสียเงินอยู่ตลอด เงินที่หามาได้ก็ ใช้ไปกับค่ารักษาพยาบาลหมด เราจะต้องแก้ปัญหานี้โดยการหาอะไรมาอุดรูรั่วยังไงไม่ให้น้ำไหลออกจะได้สะสมน้ำในตุ่มใหม่เรื่อยๆ เช่นเดียวกับวางแผนการเงินและปัญหาสุขภาพวิธีการอุดรูรั่วที่จะผลาญเงินเราไปก็คือการทำประกันสุขภาพ บางคนอาจจะบอกว่าสุขภาพตัวเองดี เหมือนตุ้มที่ไม่มีรูรั่ว แต่อย่าลืมนะครับ เวลาตุ่มโดนอะไรมากระแทกอาจจะแตกและน้ำที่อยู่ข้างในก็หายไปหมดได้ เช่นเดียวกับเงินที่มี ถ้าเกิดเราเจ็บป่วยด้วยโรคที่ต้องผ่าตัดหรือใช้เวลารักษาเงินเก็บที่มีก็คงจะหมดเกลี้บง การจ่ายเบี้ยประมาณสุขภาพก็เหมือนกับการซื้อวัสดุมาอุดรูรั่วของตุ่ม หรือการโอนความเสี่ยงจะต้องจ่ายเบี้ยประกันไปให้บริษัทรีบผิดชอบแทน ทีนี่ก็ไม่ต้องกังวลว่าเงินที่เราหามาจะหายไปเหมือนกับน้ำในตุ่มรั่ว เพราะเราได้หาอะไรมาปิดช่องโหว่เรานี้ไว้แล้ว =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

สถิติประกันชีวิตของคนไทย

แฟนเพจคนไทยมีประกันแล้วกดหัวใจกันหน่อย ❤️ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ของคน 100 คนพบว่า คนไทย มีกรมธรรม์เพียง 37 ฉบับ หรือเฉลี่ยต่อคนไม่ถึง 1 ฉบับ ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซียที่มีเพียง 40 ฉบับ ส่วนประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นพบว่า มีกรมธรรม์ถึง 322 ฉบับเฉลี่ยก็มีกรมธรรม์ถึง 3 ฉบับต่อคนและประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ 267 ฉบับเฉลี่ยแล้วก็เกือบ 3 ฉบับต่อคน คนไทยไม่ชอบทำประกันเพราะเรายังมีรายได้น้อยเกินว่าจะจ่ายเบี้ยประกัน? ผมกลับคิดว่าประกันสุขภาพน่าจะเป็นสิ่งแรกที่เราควรไว้ (ไว้จะลงลึกในเนื้อหาสามเหลี่ยมทางการเงิน) เพราะทุกคนมีสิทธิ์เจ็บป่วย ทุกคนมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ถ้าเราไม่มีประกันสุขภาพเราอาจจะต้องเอาเงินเก็บทั้งหมดที่มีมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล เงินที่เราออมเพื่อเป้าหมายอะไรสักอย่างเช่นซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือไปเที่ยวก็จะหมดไป ถ้าไม่มีเงินเลยก็อาจจะต้องไป กู้ ไปยืม สร้างหนี้สร้างสินอีก เคยสังเกตไหมครับว่าทำไมรัฐบาลอยากให้คนไทยมีประกัน และให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับคนที่ทำประกัน 1. ถ้าเรามีประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย เราสามารถไป รพ.เอกชนได้ เราได้รับการบริการที่ดี ลดจำนวนคนที่ไป รพ รัฐบาลน้อยลง คนที่ไม่มีเงินจริงๆจะได้ไปให้สิทธิ โดยที่ไม่ต้องรอคิวนานๆ การรักษาของหมอ พยาบาลก็ได้ดูแลคนไข้อย่างเต็มที่ 2.ถ้าเราประกันสะสมทรัพย์หรือบำนาญ เมื่อเราแก่ไปก็จะมีเงินเก็บ มีเงินไว้ใช้ […]

#ของมันต้องมีก่อน40

มีใครเคยอ่าน hasgtage ดัง #ของมันต้องมีก่อน40 ในทวิตเตอร์ไหมครับ ผมได้ทวิตไว้และอยากเอามาแชร์ต่อในนี้ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม มีใครเห็นด้วยกับข้อไหนบ้างครับ 1.ประกันสะสมทรัพย์ เพราะหลังอายุ 40 เบี้ยจะสูงขึ้น ตามอายุและปีหน้าประกันสะสมทรัพย์ผลตอบแทนสูงจะปรับเปลี่ยนใหม่และปิดแผนไปเยอะเลย 2.อาชีพเสริมที่สร้างรายได้เพิ่ม เพราะถ้าเราลองทำสิ่งต่างๆ ตอน 20 หรือ 30 แล้วผิดพลาดยังมีเวลาแก้ไขหรือค้นหาตัวเองใหม่ ได้ลองผิดลองถูกใหม่ 3.เพื่อนแท้ เพื่อนสนิท เพราะตอนนั้นเราคงกำลังเครียดกับงานทำงาน จะหาเพื่อนแท้ เพื่อนสนิทใหม่จริงๆ คงยาก การมีเพื่อนที่รู้จักกันมานานผ่านประสบการณ์ด้วยกันมาจะทำให้เราเข้าใจกันโดยไม่ต้องพูดอะไรมาก 4.เงินออมสัก 50% ของเป้าหมาย ที่จะเกษียณเพราะถ้าเราจะเกษียณตอนอายุ 60 แสดงว่าเหลืออีกเวลาเก็บเงินอีก 20 ปี ถ้ามีเงินเก็บยังไม่ถึงครึ่งของเป้าหมาย อีก 20 ปีหลังอาจจะเหนื่อยหน่อย 5.บ้าน ที่อยู่อาศัย (อันนี้แล้วแต่คน) เพราะถ้ากู้ซื้อบ้านหลังอายุ 40 ปีจะผ่อนได้แค่ 20 ปีถึงอายุ 60 แต่ถ้าอายุน้อยกว่านั้นจะเลือกผ่อนได้สูงสุด 30 ปี 6.ประกันสุขภาพ เพราะอายุเริ่มเยอะ มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ หรือเจ็บป่วยได้มากกว่าตอนอายุน้อย ถ้าไม่มีประกันสุขภาพเกิดเจ็บป่วยที่ร้ายแรงต้องเอาเงินเก็บไปจ่ายค่ารักหมด […]

ออมแบบไหนใช่สำหรับเรา?

ผมมีโอกาสเล่าเรื่องออมเงินให้เพื่อนไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้เพราะเมื่อก่อนใช้เงินเก่งมา ทำมาหลายวิธีปีนี้เริ่มลงตัวและคิดว่าโอเครละ เพื่อนก็ชอบเลยอยากมาแชร์เพิ่ม 1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก้อนแรกที่ออมคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินเดือนเข้าให้หักไปเลย 5% ส่วนนี้ได้กำไร 100% ชัวร์ๆ จากเงินที่บริษัทสมทบให้และอาจจะได้เพิ่มจะเงินที่ลงทุนอีก บริษัทใครมีให้แนะนำว่าทำไปเถอะครับมันดีมากๆ เคยได้จากที่ทำงานเก่าตอนลาออกได้เยอะพอสมควร 2. ประกันชีวิต ผมซื้อประกันสะสมทรัพย์ เนื่องจากเมื่อก่อน เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ได้เยอะแต่ก็ถอนมาใช้หมดจนไม่เหลือ เก็บใหม่ก็ถอนมาใช้อีก ฝากประกันถอนไม่ได้ เผลอๆ เป็นไรไป พ่อแม่จะได้เงินก่อนไปใช้ด้วย ถือคติว่า ถูกตายพ่อแม่ต้องสบายไม่ใช่เป็นหนี้ 3. กองทุน LTF/ SSF/ RMF ส่วนที่สามซื้อกองทุน LTF/SSF/RMF หลักๆเพราะต้องการลดภาษีเพิ่ม แค่ที่ซื้อประกันไม่พอและอยากกระจายการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย ส่วนนี้ซื้อทุกๆเดือนแต่ไม่เท่ากัน เดือนไหนมูลค่าการลงทุน (NAV) ตกก็จะซื้อเยอะหน่อย 4. ฝากประจำ เงินก้อนนี้มาจากเศษเหรียญที่ได้แต่ละวันบวกกับแบงค์ 20 ที่หยอดกระปุกทุกวัน พอสิ้นเดือนก็จะนับแล้วไปฝากอีกบัญชีหนึ่ง แต่ว่าพอไม่มีเงินก็กดมาใช้เปลี่ยนเป็นใส่กล่องทิ้งไว้ 3-4 เดือนค่อยทุบ แต่รู้สึกว่าเงินไม่มีมูลค่าเพิ่มเลยเอาส่วนนี้ไปฝากแบบประจำไว้เป็นเงินฉุกเฉิน การกระจายการลงทุนช่วยลดความเสี่ยงเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี และการแยกเงินไว้จะได้ไม่รู้ว่าตอนนี้ออมไปได้เท่าไหร่ ถ้าเอาไว้รวมกันเห็นเงินก้อนกลัวอดใจไม่ไหวอีก ตอนนี้เห็นเงินเพิ่มทีละนิดก็รู้สึกแฮปปี้ละ ? […]

1 40 41 42 43 44 58