การใช้จ่าย Gen Y ไทยเป็นยังไงบ้างเมื่อเทียบกับ Gen อื่นๆ

จากข้อมูล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลปี 2560 พบว่า Gen Y มีจำนวนประชากร คิดเป็น 28% ส่วน Gen X มีจำนวนวนประชากร 27% Baby Bloomer 18% Gen Z 21% และอื่นๆ 6% พบข้อมูลการใช้เงินของ Gen Y • 50% ของคนทำงานไม่มีเงินออม • 48% ชำระหนี้สินไม่ตรงเวลา • 45% มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ • 45.6% รู้สึกว่าการผ่อนชำระหนี้สินเป็นเรื่องที่สร้างภาระหนักให้กับตนเอง เมื่อเปรียบเทียบการขอสินเชื่อของกลุ่ม Gen Y,GenX และ Baby Bloomer จะเห็นว่า สัดส่วนของ Gen Y มีกว่ากว่าทักกลุ่มทั้ง บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ 48% ชำระหนี้สินไม่ตรงเวลา […]

7 ข้อต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมหรือ Super Savings Fund (SSF)

กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ Super Savings Fund (SSF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยรัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุน SSF คือ บุคคลธรรมดาสามารถเอาเงินลงทุนที่ลงทุนใน SSF ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม SSF จะต้องรวมกับกองทุนประเภทอื่น แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันแบบบำนาญ กองทุนรวมเพื่อการออม SSF มีให้เลือกลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมแบบผสมก็ได้ กองทุน SFF จะไม่มีกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง ถ้าปีไหนก็ใช้ลดหย่อนในปีนั้นๆ ผู้ซื้อกองทุน SSF จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข ก็คือ ต้องถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ เงินลงทุนแต่ละครั้ง […]

การวางแผนเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จต้องทำยังไงบ้าง?

เหลืออีกกี่วันปี 2019 ก็จะผ่านไปแล้ว มีใครตั้งใจว่าจะทำอะไรบ้างในปีนี้และทำไปได้กี่ข้อบ้างเอ่ย มาดูสรุปคร่าวๆ จากเป้าหมายของหลายๆ คนที่ตั้งไว้เมื่อปี 2018 ที่ผมไปรวบรวมมากันครับ – จะเก็บเงิน – จะลดน้ำหนัก – จะออกกำลังกาย – จะกินอาหารที่มีประโยชน์ – จะนอนเร็วขึ้น – จะหารายได้เสริม – จะช้อปปิ้งให้น้อยลง – เรียนภาษาเพิ่ม/หลักสูตรอื่นๆ – เที่ยวให้น้อยลง ทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่ผมเห็นผ่านๆ เยอะที่สุดจสกหน้าฟีดที่เพื่อนๆ ได้โพสไว้ว่าตั้งใจจะทำอะไรบ้าง เป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเรื่องปกติมี่คนอยากทำได้กันรวมถึงผมด้วย แต่มีสักกี่คนที่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้สำเร็จ ผมลองกลับไปถามเพื่อนเล่นๆ ว่าเป้าหมายที่มึงเคยโพสไว้ทำไปได้กี่ข้อแล้วว่ะ (ขออภัยที่ใช้คำไม่สุภาพ เพื่อความอรรถ) มันก็ตอบกลับว่า กุลืมไปตั้งแต่มกราคมละ อันไหนพอนึกได้ก็ทำๆ บ้างแต่ไม่จริงจัง เดี่ยวปีหน้า (2020) เอาใหม่ ถามใครก็มักจะตอบแบบนี้ พอลองมาวิเคราะห์ดูว่าเป้าหมายที่หลายๆ คนตั้งใจพอผ่านไปสักพักทำลืมมันเริ่มเลือนหายไปหมด จนไม่ได้ทำอะไรสักข้อก็พบว่า 1. เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ชัดเจน ถ้าคนที่ทำงานบริษัทน่าจะทราบดีว่า ช่วงสิ้นปีเป็นช่วงที่เราต้องทำแผนของปีหน้า ทั้งแผนการตลาด แผนงบประมาณ หัวหน้าไม่ได้ให้เราเขียนแค่ว่าจะทำอะไร แต่มีองค์ประกอบอื่นด้วย […]

เบี้ยประกันสังคม 750 บาท ที่จ่ายไป แบ่งเป็นค่าอะไรบ้าง

เคยสงสัยกันไหมว่าเบี้ยประกันสังคม 750 บาท ที่เราจ่ายแต่ละเดือนแบ่งเป็นค่าอะไรบ้าง ตัวผมเองก็เคยสงสัยจนไปหาคำตอบมาจนได้ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบางคนจ่ายเบี้ยประกันสังคมไม่เท่ากัน บางคนจ่าย 750 บาท บางคนจ่ายไม่ถึง นั้นเพราะว่าเบี้ยประกันสังคมคิดตามเงืนเดือนแต่ละคนที่ 5% สูงสุงที่ 750 บาท หมายความว่า ถ้าเราเงินเดือน 9,000 บาทก็จะเสียค่าเบี้ยประมาณสังคมแค่ 450 บาท ถ้าเงินเดือน 10,000 บาทก็ต้องจ่าย 500 บาท แต่ถ้าเราเงินเดือน 15,000 บาทจะต้องจ่าย 750 บาท ถ้าเงินเดือนสูงกว่านั้นก็จ่ายแค่ 750 บาท 750 บาท ที่จ่ายไป แบ่งเป็นค่าอะไรบ้าง 225 บาท หรือ 1.5% ค่าดูแลเรื่องเจ็บป่วย คลอดบุตร และตาย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน 75 บาทหรือ 0.5% เป็นเงินค่าประกันการว่างงาน เมื่อเราตกงานหรือว่างงานก็สามารถทำเรื่องขอเงินจากส่วนนี้ได้ 450 […]

ออมก่อนใช้ สร้างวินัยทางการเงิน

Hello Payday สวัสดีวันเงินเดือนออก วนมาครบกำหนดรับเงินเดือนอีกรอบแล้ว ไม่มีวันไหนมีความสุขเหมือนวันที่เงินเดือนออกใช่ไหมทุกคน เดือนหน้าอีกเดือนเดียวก็จะครบปีแล้ว ปีนี้ผ่านไปไวมาก ไม่รู้คนที่ติดตามเพจนี้ได้เริ่มเก็บเงินไปถึงไหนกันบ้างแล้วครับ วันนี้จะมาเล่าเกี่ยวเทคนิคการออมเงินที่เรียกได้ว่าเป็นประโยคสุดฮิต ไม่ว่าจะอ่านบทความทางการเงิน หนังสือวางแผนการเงิน หรือฟังนักพูด นักเขียนทางการเงินที่ไหนก็ตามมักจะพูดถึงประโยคนี้ นั่นก็คือ “ออมก่อนใช้” เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมเราต้องออมก่อนใช้ แค่เงินเดือนยังไม่พอใช้จะให้ออมแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปใช้ บ้าไปแล้วแล้วจะใช้ก่อนออมไม่ได้หรือ สิ่งเหล่านั้นคือคำถามเดียวกับผมเองที่เคยสงสัยและทำมาหมดแล้ว ที่เราต้องออมก่อนใช้ก็เพราะว่า เงินที่ได้มามันถูกหักออกไปออมก่อน เราก็จะเห็นตัวเลขเงินที่เหลือว่าใช้เท่าไหร่ (แต่ก่อนที่จะรู้ว่าหักไปออมเท่าไหร่ก็จะต้องทำบัญชีรายจ่ายก่อนให้เรารู้ว่า หักออมแค่ไหนจะไม่กระทบกับรายจ่ายจำเป็นของเรา) จากนั่นพอเหลือเงินที่หักจากการออมแล้ว เราก็ลืมๆไปว่า เงินออมมีเท่าไหร่ หรือบางคนที่มักจะแอบเอาเงินออมมาใช้ ก็จะเลือกซื้อประกันสะสมทรัพย์เพราะเอาเงินออกมาใช้ได้ แบบเดียวกับที่ผมทำ หักไปหักมาทุกเดือน แป้บเดียวตอนนี้จ่ายเบี้ยประกันเป็นเงินเก็บหลายหมื่นเลย ทั้งๆที่เมื่อก่อนทำไม่ได้ ถ้าบางคนบอกว่าใช้แล้วเหลือเท่าไหนค่อยออมละจะเป็นยังไง สำหรับตัวผมเองบอกเลยว่า ยาก เพราะไม่เคยทำได้มาก่อนและเชื่อว่าหลายคนก็ทำไม่ได้ ถ้าเราเอาเงินไปใช้ก่อนเหลือแล้วค่อยออม เรามักจะเพลินกับการและใช้จนหมดไม่เหลือออม บางคนใช้จนติดลบรูดบัตรเครดิตไปอีก ดังนั้นถ้าอยากมีเงินออมหรือเก็บเงินได้จริงๆ ก็ควรใช้เทคนิคแบบแรกนั้นก็คือ ออมก่อนใช้ ออมในแบบที่ตัวเองมีความรู้ และที่สำคัญต้องมีวินัยด้วย อย่าเห่อเป็นพักๆแล้วเลิกไป หวังว่าผ่านมา 11 เดือนแล้ว คนที่ติดตามเพจผมจะมีเงินเก็บกันบ้างแล้วนะครับ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and […]

1 39 40 41 42 43 58