9 คอนเทนส์สุดฮิตปี 2019

ผ่านปี 2019 ไปแล้วอย่างเป็นทางการแต่บรรยากาศเก่าๆ บางอย่างยังไม่เลือนหาย วันนี้ทางแอดมินขอหวนลำลึกถึงบทความเก่าๆ ที่ได้โพสไปในปี 2019 และมียอด Reach สูงสุด 9 อันดับแรกสะหน่อย (Reach คือหน่วยวัดจำนวนคนที่เห็นโฆษณา “ไม่ซ้ำกัน”) มาดูกันว่าโพสไหนบ้างที่ปัง ปัง สุด (จากจำนวนแฟนเพจเดือน ม.ค. จำนวน 455 คน และเพิ่มมาเรื่อยๆจนถึงเดือน ธ.ค. จำนวน 3,176 คน) อันดับ 1 : แผนออมทรัพย์ 20/8 ออมสั้นเพียง 8 ปี คุ้มครอง 20 ปี https://www.facebook.com/MTL.SmartInsurance/posts/283735045633372 อันดับ 2 : เทคนิคออมเงินตามวัย…คน Gen ไหนออมแบบไหนเวิร์กสุด https://www.facebook.com/MTL.SmartInsurance/posts/367608523912690 อันดับ 3 : นิสัยการใช้เงินบอกทางเดินชีวิต https://www.facebook.com/MTL.SmartInsurance/posts/378497426157133 อันดับ 4 : […]

ซื้อประกันที่ธนาคารเหมือนกับตัวแทนหรือไม่?

ช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาทุกคนคงวุ่นกับการหาประกันเพื่อนลดหย่อนภาษีหรือประกันสุขภาพกันแน่ๆ ใช่ไหมครับ ปัญหาที่ผมเจอเยอะที่สุดคือลูกค้าเข้ามาสอบถามแผนประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษี กลับมาอีกครั้งก็บอกว่าซื้อทันไหมซื้อก็เลยวันปิดรอบไปแล้ว ถามไปถามมาคือลูกค้าเอาแผนประกันที่ถามจากเพจไปที่สาขาธนาคารบอกกับพนักงานสาขาว่าอย่างได้ประกันแผนนี้ ไปถามตัวแทนมาแล้ว แต่ธนาคารไม่มีขาย พนักงานถึงกับงง ลูกค้าก็งง สรุปว่าซื้อไม่ทันลดหย่อนภาษี บางคนได้แผนที่ไม่ตรงกับที่ต่องการ สิ่งที่ลูกค้าไม่รู้กันก็คือ ธนาคารเป็นช่องทางที่ขายประกันให้กับบริษัทประกันก็จริง แต่ว่าตัวแผนประกันหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้ชื่อเหมือนกันหรือผลตอบแทนเหมือนกันสะทีเดียว บริษัทประกันออกแบบแผนที่แตกต่างกันระหว่างช่องทางตัวแทนกับช่องทางธนาคาร อย่างธนาคารกสิกรไทยที่เป็นตัวแทนขายประกันของเมืองไทยประกันชีวิตก็ไม่ได้มีแผนที่เหมือนกันกับตัวแทนของบริษัทเอง แต่ว่าแผนประกันที่ตัวแทนขายยังเป็นแผนเดียวกันกับที่สาขาบริษัทประกันขาย เช่น ตัวแทนขายประกันสุขภาพสมาร์ทเฮล ลูกค้าไปสาขาเมืองไทยประกันชีวิตตามห้างก็สามารถสอบถามแผนสุขภาพสมาร์ทเฮลได้เช่นกัน ตัวอย่างลูกค้าท่านนึงของผมที่สนใจแผนประกันสะสมทรัพย์เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา แต่สมัครไม่ทันเนื่องจากช่วงสิ้นปีลูกค้าทุกคนก็มารอซื้อประกันกันล่วงนี้ บางคนก็มาจ่ายเบี้ย ตัวแทนก็ไปส่งเอกสารให้ลูกค้า เจ้าหน้าที่ที่สาขา ก็อาจจะไม่เพียงพอบางท่านรอคิวนาน บางท่านไม่รอดีกว่า ดังนั้นหากจะทำประกันลดหย่อนภาษีควรจะรีบวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าไปรอปลายปี ถ้าเริ่มช่วงต้นปีได้ก็ดี แต่ถ้าไม่อยากวุ่นวายเริ่มดูไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคมก็จะดีมาก ที่สำคัญ ประกันที่ขายผ่านตัวแทนกับสาขาของธนาคารไม่ได้เหมือนกันหมดทุกอย่างนะค้าบ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

สรุปการใช้เงินปี 2019

เอาบ้างดีกว่า เห็นสิ้นปีแบบนี้ทุกคนมักจะโพสว่าชีวิตปี 2019 ที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง ในฐานะเพจการเงินและประกันก็ขอเป็นเรื่องแนวเงินๆ ทองๆ ก่อน ว่าปี 2019 ที่กำลังจะผ่านไปผมทำอะไรไปบ้างกับ 5 ข้อนี้ครับ 1. เริ่มลงทุนในกองทุน LTF : ผมดูกองทุน LTF ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วแต่พอคำนวณภาษีดูและใช้สิทธิลดหย่อนจากดอกเบี้ยบ้าน ประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมันพอเหมาะพอดี เลยไม่ได้ซื้อ LTF ปีนี้เริ่มซื้อกองทุน LTF อย่างจริงจังเพราะต้องการลดหย่อนภาษีโดยใช้วิธีการซื้อแบบเฉลี่ยทุกเดือน แต่ไม่เท่ากัน เดือนไหนมีเงินเยอะก็ซื้อเยอะหน่อย เดือนไหนมีรายจ่ายเยอะก็ซื้อน้อยหน่อย แต่ก็ไม่ลืมที่จะซื้อจนตอนนี้ซื้อกองทุน LTF จนติดเป็นนิสัยได้เงินมาก็ซื้อจนไม่เหลือใช้ 555 ปีนี้เป็นปีสุดท้ายแล้วของกองทุน LTF เจอกันกับกองทุน SEF ปีหน้าค้าบ 2. ซื้อประกันสมทรัพย์และสุขภาพเพิ่ม จากที่ได้ซื้อกองทุน LTF ไปแล้วก็พบว่า สิทธิลดหย่อนภาษียังไม่พอและผลตอบแทนของ LTF ก็ผันผวนเหลือเกินตอนเขียนสรุปนี้ก็ยังติดลบอยู่ เลยตัดสินใจซื้อประกันสะสมทรัพย์เพื่อเป็นเงินออมและยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย โดยซื้อเป็นรายเดือนค่อยๆจ่ายไปอีกอย่างทีซื่อเพิ่มคือประกันสุขภาพ ช่วงต้นปีจะเห็นว่าข่าว PM 2.5 ดังมาก คนเจ็บ คนป่วย กันถ้วนหน้า ยังไม่พอหมอยังออกมาบอกว่าผลกระทบจากฝุ่น […]

การใช้จ่าย Gen Y ไทยเป็นยังไงบ้างเมื่อเทียบกับ Gen อื่นๆ

จากข้อมูล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลปี 2560 พบว่า Gen Y มีจำนวนประชากร คิดเป็น 28% ส่วน Gen X มีจำนวนวนประชากร 27% Baby Bloomer 18% Gen Z 21% และอื่นๆ 6% พบข้อมูลการใช้เงินของ Gen Y • 50% ของคนทำงานไม่มีเงินออม • 48% ชำระหนี้สินไม่ตรงเวลา • 45% มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ • 45.6% รู้สึกว่าการผ่อนชำระหนี้สินเป็นเรื่องที่สร้างภาระหนักให้กับตนเอง เมื่อเปรียบเทียบการขอสินเชื่อของกลุ่ม Gen Y,GenX และ Baby Bloomer จะเห็นว่า สัดส่วนของ Gen Y มีกว่ากว่าทักกลุ่มทั้ง บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถยนต์ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ 48% ชำระหนี้สินไม่ตรงเวลา […]

7 ข้อต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมหรือ Super Savings Fund (SSF)

กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ Super Savings Fund (SSF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยรัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุน SSF คือ บุคคลธรรมดาสามารถเอาเงินลงทุนที่ลงทุนใน SSF ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม SSF จะต้องรวมกับกองทุนประเภทอื่น แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันแบบบำนาญ กองทุนรวมเพื่อการออม SSF มีให้เลือกลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมแบบผสมก็ได้ กองทุน SFF จะไม่มีกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง ถ้าปีไหนก็ใช้ลดหย่อนในปีนั้นๆ ผู้ซื้อกองทุน SSF จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข ก็คือ ต้องถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ เงินลงทุนแต่ละครั้ง […]

1 38 39 40 41 42 58