เหตุผลที่ต้องเริ่มออมเงิน ตั้งแต่วันที่ยังมีรายได้

มีเรื่องมาเล่าเป็นเรื่องเมื่อตอนผมเริ่มทำงานที่แรกเลยครับ วันนั้นได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินที่บริษัทจัดให้ มีกราฟนึงน่าสนใจมาก ผมได้ถ่ายรูปไว้และเขียนเป็นบล๊อกไว้ในเว็บไซต์ของตัวเอง พอได้เข้าไปอ่านอีกครั้งยอมรับว่าเขียนได้แย่มาก อ่านแล้วงงไปหมด ฮ่าๆ วันนี้ขอยกกราฟนั่นมาเขียนอธิบายใหม่อีกครั้ง หวังว่าจะอธิบายได้เข้าใจและละเอียดมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาหลายปี ในกราฟแบ่งข้อมูลของเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนอายุ 30 ปี, อายุ 30-60 ปีและอายุ 60 ปีขึ้นไปหลายคนพอเดาได้ว่าสาเหตุที่แบ่งแบบนี้เพราะแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุตามรายได้หรือการทำงานของเรานั่นเอง ช่วงก่อนอายุ 30 ปี เป็นช่วงที่เริ่มทำงานกัน บางคนเริ่มตอนอายุ 20 ปี บางคนเริ่ม 25 ปีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เยอะแต่มีรายจ่าย ตามการใช้ชีวิตในสังคมของแต่ละคน ยิ่งถ้าเป็นคนตามกระแสทุกอย่างอาจจะต้องเป็นหนี้เลยก็ได้ ช่วงอายุ 30-60 ปี หลังจากทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ สามารถเปลี่ยนงานหรือหางานที่มีรายได้สูง แต่อย่าลืมว่าบางคนรายได้ที่สูงมาพร้อมกับราจ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน อาจจะเป็นตำแหน่งงานที่ต้องเจอคน ต้องดูแลลูกน้องหรือค่าจ่ายส่วนตัวตามฐะนะทางสังคม ช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไปใกล้วัยเกษียณ รายได้จากงานประจำที่เรียกว่า Active Income ที่ได้ตลอดก็จะเริ่มหมดไปเพราะไม่ได้ทำงานแล้ว อาจจะเหลือรายได้เสริมบ้าง ที่เรียกว่า Passive […]

วิธีคิดดอกเบี้ยเงินฝาก

ช่วงกลางปีแบบนึ้น่าจะเป็นช่วงที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้กับคนที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร มีใครได้ลองเช็คดูหรือยังครับว่าได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันบ้าง จริงๆ ผมก็ลืมไปแล้วเหมือนกันว่าธนคารจ่ายดอกเบี้ยแต่เห็นเพื่อนโพสในเฟสบุ๊คเลยเข้าไปดูของตัวเอง ได้ดอกเบี้ยพอกินปิ้งย่างได้สักมื้อนึง ?? วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมดอกเบี้ยบ้างคนได้น้อยทบางคนได้เยอะ ธนาคารคิดดอกเบี้ยยังไงกันนะ สิ่งที่นำมาใช้คิดดอกเบี้ย เงินต้นที่เราฝากไว้ อัตราดอกเบี้ยของบัญชีนั้นๆ ระยะเวลาที่เราฝาก อีกนิดนึงครับแม้ว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารแจ้ง เช่น 1.6% หรือ 0.5% ต่อปี ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราแบบรายวันเลยนะครับ แต่แค่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยแบบทุกครึ่งปีหรือเมื่อครบปี นั่นเองมาดูตัวอย่างกันครับ แบบที่ 1 ฝากเงินเต็มปีหรือครึ่งปี 1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท 2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ […]

โบนัสออก เงินเดือนเข้า รายจ่ายมารออยู่แล้ว

เงินเดือนเข้าแล้วพร้อมโบนัส ดีใจได้ 5 ชม. ก็เงินหมดแล้วเพราะชีวิตนี้มีค่า ฮ่าๆ รายจ่ายมาพร้อมกันเลย ประกันชีวิตแม่ ประกันชีวิตพ่อ ประกันชีวิตและสุขภาพตัวเอง ค่าส่วนกลางคอนโด กยศ. ดีใจที่จ่ายหนี้หมดแล้วที่เหลือเอาไปออมนิดหน่อยแล้วก็ช้อปปิ้งต่อ (ตามหลักการวางแผนการเงินคือใช้หนี้ ออม เหลือแล้วค่อยซื้อของที่อยากได้) บางคนอาจจะสงสัยว่าเห้ย ทำไมสร้างหนี้เยอะจัง ทำงานมาแทนที่จะได้ใช้เงินซื้อของที่อยากได้แต่เอาไปใช้หนี้หมด ลองมาดูตัวอย่างกันครับ ผมแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือหนี้ดีหรือหนี้ที่มีประโยชน์ กับหนี้ไม่ดีหรือหรือหนี้ที่ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งหนี้ทั้งสองแบบของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันจะต้องดูหนี้แต่ละประเภทและความจำเป็นด้วย เช่น ตามหลักทฤษฎีควรซื้อบ้านก่อนซื้อรถเพราะบ้านคือทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขึ้น แต่รถคือทรัพย์สินที่มูลค่าลดลง แต่ๆๆๆ ถ้าเราทำงานที่ต้องเดินทางไกล ต้องเจอลูกค้า ต้องแบกของเยอะแยะ การซื้อรถก่อนบ้านเพื่อให้เราสามารถทำงานสร้างรายได้ ก็ไม่ไม่ใช้สิ่งที่ผิด แล้วผมมองรายจ่ายของตัวเองข้างบนว่ายังไง?? ประกันชีวิตของพ่อ แม่ ผมเป็นลูกคนเดียว พ่อแม่ไม่รู้และไม่สนใจเรื่องประกัน ผมมองว่าถ้าพ่อแม่เป็นอะไรไปใครคือคนที่ต้องรับภาระทั้งหมด ( ไม่ได้ว่าแช่งแต่มองถึงอนาคตและวางแผน) คนนั้นก็คือผมเอง ที่จะต้องหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าพ่อแม่ไม่มีประกันคนที่เป็นหนี้ก็คือตัวผมเอง ตอนนี้ก็อยู่ที่เราแล้วว่าจะยอมจ่ายเบี้ยประกัหรือไปกู้เงินก้อนมาตอนที่จำเป็นแต่ถ้าสมมติว่าพ่อแม่ผมทำประกันให้ตัวเองแล้ว หรือพ่อแม่หลายๆ คนทำประกันให้ตัวเองแล้วยังจะทำให้ท่านอีกไหม ผมตอบว่าก็ยังจะทำ เพราะไม่รู้ว่าเงินที่ได้จะสักกี่บาทจะพอไหม และที่สำคัญประกันมันสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้เราสามารถใส่ชื่อเราเองได้เพราะเราคือคนจ่ายเบี้ย ค่าส่วนกลางคอนโด คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอยู่แล้วไม่สามารถเลี่ยงได้ขอผ่านครับ กยศ. ก็คือหนี้ที่เรากู้มาเพื่อเรียนหนังสือ […]

ป่วยเป็นมะเร็งวันนี้ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

หลายคนยังคิดว่ามะเร็งเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัวและคิดว่าคงไม่เกิดกับเรา แต่ลืมไปว่ามะเร็งต่างๆ ล้วนเกิดจากการใช้ชีวิตของเราทั้งนั้น และคนรอบข้างของคนที่ป่วยเป็นมะเร็งมักจะเคยพูดคุยกับผู้ป่วยบ้าง สิ่งที่ได้ยินคือ “ก็ไม่คิดว่าจะเป็นเหมือนกัน” ใครๆก็ไม่ได้คิด ว่าตัวเองจะโชคร้ายขนาดนั้นจึงไม่ได้เตรียมตัว ไม่ได้วางแผนให้กับตัวเอง จะมีสักกี่คนที่ได้เตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น วันนี้หลายคนยังโชคดีที่มีทางเลือกและมีโอกาสที่จะวางแผนชีวิตให้กับตัวเอง แม้เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตว่าจะเจ็บป่วยเมื่อไร แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือการซื้อความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุมโรคมะเร็ง หรือโรคทั่วๆ ไป ซึ่งโรคมะเร็งนั้นขึ้นชื่อว่ามีค่ารักษาที่แพงอยู่แล้วด้วยอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง มีความซับซ้อนในการรักษา มีเครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง จึงมีค่าใช้จ่ายแพง ส่วนราคาก็แตกต่างกันตามอาการและความซับซ้อน เห็นค่ารักษาแต่ละโรคแล้วหลายคนคงกุมขมับกันเลยทีเดียว เพราะการรักษาแต่ละครั้ง แต่ละโรคก็สูญเสียเงินก้อนที่เราเก็บมาทั้งชีวิต ดังนั้นการวางแผนลดความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญอย่างมาก เมืองไทยประกันชีวิตจึงออกแบบ ความคุ้มครองสุขภาพ อีลิท เฮลท์ ที่คุ้มครองโรคมะเร็ง โรคทั่วไป และโรคระบาดตามฤดูกาล ให้คุณคลายกังวลค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย และ สัญญาเพิ่มเติม ซีไอ เพอร์เฟค แคร์ ที่ให้ความคุ้มครองเป็นเงินก้อนเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรง 36 โรค เช่น โรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เนื้องอกในสมอง ชนิดไม่ใช่มะเร็ง เป็นต้น มะเร็ง… โรคร้ายที่ใครๆ ก็เป็นได้และใกล้ตัวกว่าที่คิด อย่ารอจนสายเกินไป เพราะประกันโรคมะเร็งเป็นแล้วทำไม่ได้ ตรวจเจอโรคร้าย จ่ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น […]

วางแผนภาษีดีมีเงินคืนและมีเงินออม

เคยไหมครับทำงานมาทั้งปีไม่เคยเช็คเลยว่าภาษีที่เราเสียเท่าไหร่ รู้แค่ว่าเงินเดือนเข้า บริษัทหักไว้และได้เงินมาใช้ หรือแค่ตอนยื่นไม่เสียเพิ่มก็ดีใจแล้ว หลายคนยังไม่รู้ว่าเราที่สิทธิ์ที่จะได้ภาษีที่เราจ่ายคืนมา ถ้าเรารู้จักวางแผนและใช้สิทธิลดหย่อน ตามที่สรรพกรกำหนด อยากจะเปรียบเทียบให้ทุกคนดูว่าถ้าเราไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเลย กับใช้สิทธิบางส่วนที่ได้เช่น ซื้อประกัน ซื้อกองทุน ภาษีที่เราเสียจะต่างกันแค่ไหนมาดูครับ ลองมาคำนวณภาษีที่ต้องเสียต่อปีแบบง่ายๆกันนะครับ คุณธร เงินเดือน 80,000 บาท รายได้ต่อปีรวม 960,000 บาท มีค่าลดหย่อน 60,000 บาทและค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาทรวม 160,000 บาท นำเงินที่จ่ายประกันสังคมปีละ 9,000 บาทมาลดหย่อนได้ ออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 96,000 บาท 10% ของเงินเดือน) คุณธรจะเหลือเงินได้สุทธิ 695,000 บาทที่นำไปคำนวณภาษี เงินได้จะแบ่งเป็นขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 – เงินได้ 150,000 บาทไม่เสียภาษี ขั้นที่ 2 – เงินได้ 150,001-300,000 บาทเสียภาษี 5% คิดเป็นเงิน 7,500 บาท […]

1 30 31 32 33 34 58