ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2

หลายคนคงรู้ว่าปัจจุบันนี้การฝากเงินไว้ในธนาคารอย่างเดียวอาจจะไม่ช่วยให้เงินงอกเงยแล้ว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากที่สำคัญน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วย ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 0.25-1.5% และ ดอกเบี้ยฝากประจำหรือบัญชีพิเศษอยู่ที่ประมาณ 2.0% แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าเงินเฟ้อในแต่ละปี นั่นแปลว่าถ้าเราฝากเงินทิ้งไว้ในธนาคารแม้จะได้ดอกเบี้ย แต่เงินก็มีมูลค่าลดลงอยู่ดี วันนี้ผมจะมาแนะนำตราสารทางการเงินซึ่งเป็นช่องทางการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินไว้ในธนาคารให้เป็นไอเดียกับคนที่สนใจลงทุน ซึ่งตราสารทางการเงินคือการลงทุนรูปแบบหนึ่งประกอบด้วย ตราสารหนี้ ตราสารทุน กองทุนรวม ฯลฯ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่างกันและได้ผลตอบแทนต่างกันด้วย ก่อนที่เราเราจะลงทุนในตราสารแบบไหนอยากลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนะครับ ตราสารหนี้ ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าของ โดยผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้และผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้ ตัวอย่างตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้ ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ […]

เปลี่ยนวงจรการเงินที่อุบาทว์เป็นวงจรที่สดใส

ถ้าถามว่าเป้าหมายการทำงานของทุกคนในวันนี้คืออะไร ส่วนใหญ่คงตอบว่าทำงานเพื่อให้ได้เงิน ตามที่ต้ิงการซึ่งเป้าหมายการใช้เงินของทุกคนก็คงแตกต่างกันออกไป และความฝันสูงสุดของทุกคนคือการมีเงินใช้โดยไม่ต้องทำงานใช่ไหมครับ พูดถึงการหาเงินและการใช้เงินทำให้ผมนึกถึงวงจรอุบาทว์ที่ตัวเองเคยเจอมาก่อน และคิดว่าทุกคนก็น่าจะเคยเจอเหมือนกัน เราทำงานกันทุกวันนี้เพื่อให้ได้เงินมาเพื่อใช้จ่ายเพื่อซื้อสิ่งที่เราอยากได้กันใช่ไหมครับ บางเดือนใช้ไม่พอ บางเดือนเหลือ บางเดือนขาด วนเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าจะมันจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ สุดท้ายความฝันที่ว่า มีอิสระภาพทางการเงิน ( การมีเงินใช้โดยไม่ต้องทำงาน) ก็ไม่เป็นจริงสักที เหตุผลที่เป็นแบบนั้นเพราะขาดการวางแผนการเงินที่ดี ไม่รู้รายรับ รายจ่าย ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว รูรั่วของเงินที่หายไปคืออะไร วันนี้จะขอยกตัวอย่างรูรั่วของเงินในกระเป๋าที่ทำให้ความฝันของเราไม่เป็นจริงสักที นั่นก็คือวงจรอุบาทว์ของการทำงานหาเงิน พอได้เงินมาก็หมดแล้วก็เริ่มหาใหม่ เราทุกคนล้วนมีที่ท่องเที่ยวในฝัน บางคนเที่ยวในประเทศ บางคนเทียวต่างประเทศ บางคนเที่ยวรอบโลก ความฝันที่จะเป็นจริงได้ก็คือต้องมีเงิน และเงินที่จะได้ก็มาจากการทำงาน ทุกคนทำงานแบ่งเงินเก็บไว้สำหรับเที่ยว นั่นคือความฝันอันสวยหรู แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสีย เครื่องซักผ้าพังหรือเราเจ็บป่วย ก็ต้องเอาเงินเก็บที่มีออกมาใช้จนหมด อดไปเที่ยว ต้องไปเริ่มทำงาน เก็บเงินใหม่เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ เหตุผลที่ยกตัวอย่างของการเจ็บป่วย เพราะมันคือความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นความเสี่ยงที่มีค่าใช้จ่ายแบบประเมินไม่ได้ บางครั้งอาจจะป่วยเบาหมดค่ารักษาหลักหมื่อนหรืออาจจจะป่วยหนักหมดค่ารักษาหลักแสน แล้วเราจะจัดการกับปัญหานี้ยังไงละ คำตอบก็คือ แบ่งเงินเก็บบางส่วนมาทำประกันสุขภาพยังไงละครับ เมื่อเรามีประกันสุขภาพ หากเจ็บป่วยเราก็มีเงินที่ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โดยที่ไม่ต้องนำเงินเก็บมาใช้ ถ้าความสามารถในการจ่ายเบี้ยไม่สูงได้ค่ารักษาไม่เยอะ หากเจ็บป่วยหนักค่ารักษาไม่เพียงพอก็ถือว่าช่วยแบ่งเบาค่ารักษาที่เราต้องจ่ายไปได้บางส่วนซึ่งยังดีกว่าที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด สำหรับหลายคนที่คิดว่าสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วย ไม่มีความจำเป็นว่าต้องมีประกันสุขภาพ […]

การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1

ถ้าทุกคนได้ติดตาม “สุดยอดเทคนิควางแผนการเงิน (สามเหลี่ยมทางการเงิน)” มาก่อนแล้วและทำตามขั้นตอนที่ 1-2 ได้อย่างสม่ำเสมอ วันนี้จะพาทุกคนก้าวขึ้นมาอีกขั้นในขั้นตอนที่ 3 นั้นก็คือ เรื่องการลงทุน (สุดยอดเทคนิควางแผนการเงิน) การลงทุน คือการที่เรานำเงินของเราหรือจ่ายเงินเพื่อทำอะไรบ้างอย่างแล้วหวังว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมา ซึ่งแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 แบบคือ การลงทุนที่แท้จริง เช่น การเปิดร้านการแฟ การเปิดบริษัท การสร้างสินค้าเพื่อมาขาย การลงทุนทางการเงิน เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซื้อประกัน ซื้อกองทุนรวม หุ้น ตราสารหนี้ การลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินจะเรียกว่า “ตราสารการเงิน” เช่น ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง (ผู้ถือเป็นเจ้าหนี้) ตราสารทุนหุ้นสามัญ เช่น หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นบุริมสิทธิ  (แสดงความเป็นเจ้าของ) หลักทรัพย์อนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หรือ วอร์เรนท์ กองทุนรวม ตลาดการเงิน (Money Market) ตลาดเงินเป็นแหล่งกลางเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ […]

ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน เมืองไทย ยูแอล พลัส (UL Plus)

  อายุรับประกันภัย : 30 วัน – 75 ปี   ระยะเวลาคุ้มครอง : ครบอายุ 99 ปีหรือ ตราบเท่าที่มูลค่าการลงทุนมีเพียงพอจะชำระค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์   ระยะเวลาชำระเบี้ย : 99 ปีหรือ ตามความต้องการของลูกค้า   การชำระเบี้ย : รายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน, รายเดือน   ผลประโยชน์การเสียชีวิต : ได้รับเงินเท่ากับ ทุนประกัน + มูลค่าการลงทุน การเก็บเงินหรือลงทุนอย่างอื่นอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าประกัน แต่จะมีกี่คนที่มีวินัยในการเก็บเงินหรือลงทุนเองอย่างสม่ำเสมอ? ประกันชีวิตควบคู่การลงทุนคืออะไร ? ปกติแล้วการทำประกันชีวิตสามัญแบบตลอดชีพหรือออมทรัพย์ ลูกค้าจะเห็นตารางผลประโยชน์แน่นอนว่าจะได้เงินคืนปีละเท่าไหร่ มีเงินคืนแบบไหนบ้าง และเมื่อครบสัญญาจะไดเงินก้อนกี่บาท แต่ลูกค้าจะไม่รู้ว่า เบี้ยประกันที่จ่ายนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แตกต่างกับประกันชีวิตควบคู่การลงทุนที่แจกแจงค่าใช้จ่ายให้ลูกค้าทราบถึงเบี้ยประกันและสัดส่วนของเงินที่นำไปลงทุน อีกทั้งลูกค้ายังได้ประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงกว่า และได้ความคุ้มครองที่มากกว่าด้วย ประกันชีวิตควบการลงทุน เมืองไทย ยูแอล พลัส (UL Plus) มีรูปแบบยังไง? เมืองไทย […]

แชร์ไอเดียอายุ 30+  ออมเงินแบบไหนดี

ถ้าวันนี้ทุกคนอายุ 30 แล้วเราคือเพื่อนกัน ถ้าเราเป็นเพื่อนกันเราก็คงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งๆ ดีเหมือนกับที่เราได้ จริงไหมครับ?? “ประโยคนี้คือคำพูดที่ผมได้บอกไว้กับเพื่อน ว่าพวกเมิง (ขออนุญาติใชคำหยาบเพื่อให้ได้อถรรถเหมือนตอนที่คุยกับเพื่อนครับ) ควรเริ่มเก็บเงินได้แล้วนะ ไม่ใช่มัวแต่ใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด เนี่ย แป้บๆ ตอนนี้พวกเราก็อายุ 30 แล้ว เวลาผ่านมาไวมาก และเวลาไม่เคยรอ อีกไม่นานก็คง 35 40 45 50 55 60 แล้วก็เกษียณ ถ้าไม่เริ่มออมเงินวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่วะ อีกอย่างนึงอย่างน้อยตอนแก่ไป อยากไปเที่ยวไหนด้วยกันก็ยังมีเงินที่เราเก็บนี้ไปเที่ยวเดียวไง ถ้ามีแต่กุเก็บคนเดียว ไปเที่ยวคนเดียวมันก็เหงาสิว่ะ อยากให้เพื่อนไปด้วย ขนาดตอนนี้พวกเราทำงานมีเงินกัน บ้างครั้งจะเที่ยวทีก็ต้องวางแผนเก็บเงินกันก่อน แต่พอถึงตอนนั้นงานก็ไม่มีให้ทำแล้วไม่เริ่มเก็บตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน” เรื่องที่คุยกับเพื่อนตอนนี้กลายเป็นว่าเรื่องเก็บเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัวเรื่องลูก เรื่องเก่าๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่คุยเรื่องเรื่องเที่ยวกัน ตามทฤษฏีว่ากันว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 10% ของรายได้ที่ได้ต่อเดือน ถ้ารายได้เยอะก็ออมเยอะ ถ้ารายได้น้อยก็ออมน้อย รายได้เฉลี่ยของคนอายุ 30 ปีทำงานบริษัทเอกชน ที่ได้ฟังมาส่วนใหญ่ก็มีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า ฉะนั้นเงินที่เราควรออมก็อยู่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่จะว่าไปแล้วออม […]

1 28 29 30 31 32 58