ไม่ได้เป็นข้าราชการ มีเงินบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณได้
มีหลายคนสอบถามเข้ามาว่าแบบประกันบำนาญที่อู๋โฆษณาไว้ ไม่ได้ทำงานข้าราชการก็ทำได้หรอ เป็นความสงสัยเดียวกับอู๋ก่อนที่จะมาเป็นตัวแทนเลยครับ เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ยายจะพูดเสมอว่าอยากให้รับราชการจะได้มั่นคงและยังได้เงินบำนาญหลังจากเกษียณด้วย ความเข้าใจนี้เลยฝังหัวมาตลอดว่าการที่จะได้เงินบำนาญนั้นจะต้องทำงานเป็นข้าราชการเท่านั้น จนได้เริ่มทำงานและหาข้อมูลวางแผนการเงินก็เจอว่า เราไม่ได้เป็นข้าราชการก็วางแผนออมเงินสร้างบำนาญให้ตัวเองได้และพอได้มาเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นฃ แบบประกันบำนาญคอนเซ็ปต์คล้ายกับบำนาญของราชการครับ คือเราออมเงินในระหว่างที่ทำงานและไปรอรับบำนาญหลังจากเกษียณซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอายุประมาณ 55-60 ปี และรับยาวไปถึงอายุ 85 ปีหรือ 99 ปีขึ้นอยู่กับเราวางแผน เงินบำนาญจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินออมที่เราออม ซึ่งแบบประกันบำนาญได้ออกแบบแผนมาเรียบร้อยแล้ว การันตีเงินบำนาญที่ได้แน่นอน รู้ล่วงหน้าได้เลยจากดารางผลประโยชน์ (จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการเอาเงินไปลงทุน) สามารถวางแผนได้เลยว่าอนาคตอยากได้เงินบำนาญเท่าไหร่ และไม่ได้จำกัดในการทำด้วย เช่นบางท่านเริ่มทำงานนานแล้วคิดว่าเงินบำนาญในอนาคตจากเล่มเดิมอาจจะไม่พอก็สามารถทำเพิ่มได้ตามกำลังที่ไหว ส่วนประโยชน์ของบำนาญที่เราจะได้นอกจากเงินบำนาญหลังเกษียณก็มีส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น ความคุ้มครองเสียชีวิตระหว่างที่ยังจ่ายเบี้ยทุกๆ ปี ความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือกทำด้วย เช่น แผนระยะยาวออมหลักหมื่นต่อเดือนได้ความคุ้มครองถึงหลักแสนหรือหลักล้าน ข้อนี้หลายคนยังไม่รู้คิดว่าออมไปแล้วจะได้บำนาญอย่างเดียว ตายไปไม่ได้อะไรเลย เป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ…เรายังได้ความคุ้มครองที่คนข้างหลังจะได้เงินก้อนนี้ไปใช้ แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นอะไรอยู่ไปจนถึงอายุ 60 ตัวเราเองก็จะเป็นคนที่ได้รับบำนาญ สิทธิที่จะเอาไปลดหย่อนภาษี เพราะรัฐบาลมองว่าอยากให้คนไทยที่ไม่ใช่ข้าราชการที่รัฐบาลจะจ่ายบำนาญให้หลังเกษียณมีเงินใช้จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่นๆ จึงให้สิทธิเอาเงินที่เราจ่ายเบี้ยประกันหรือเงินออมไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย สูงสุด 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ (แต่รวมกับสิทธิลดหย่อนอื่นๆ เช่น SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องไม่เกิน 500,000 บาท) หรือถ้าหมวดประกันชีวิตยังไม่ได้ใช้ก็เอามารวมได้อีก […]