3 เทคนิคลงทุน | ซีรี่ย์การลงทุน EP.7

การลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ลงทุน แต่จะมี 3 วิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมกัน โดยทั้ง 3 วิธีหรือ 3 เทคนิคนี้เป็นเทคนิคสำหรับการซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมที่ทุกคนควรรู้จักก่อนที่จะไปลงสนามจริง บางคนอาจจะเคยใช้วิธีเหล่านี้มาบางแล้ว แต่ไม่รู้ว่าทางทฤษฎีเรียกว่าอะไร วันนี้มาทำความรู้จักกับทั้ง 3 เทคนิคการลงทุน.กองทุนรวมกันครับ 1. Market Timing  Timing the Market คือ การลงทุนโดยการจับจังหวะหรือหาเวลาลงทุนที่เหมาะสม หาโอกาสที่จะซื้อหุ้นหรือกองทุนในราคาต่ำเพื่อรอวันที่ปรับตัวขึ้น จะทำให้ไก้กำไร โดยวิธีนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเวลาในการติดตามตลาดหรืออุตสาหกรรมที่ลงทุน โดยจะต้องรู้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจเกี่ยวกับประเทศที่เราจะลงทุน หรือหมวดอุตสาหกรรมที่เราสนใจนั้นเป็นยังไงบ้าง 2. Dollar Cost Averaging หรือ DCA Dollar Cost Averaging คือ การลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆ เดือนหรือช่วงเวลาที่เท่ากัน โดยเป็นการถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่า ณ เวลานั้นราคากองทุนหรือราคาหุ้นถูกหรือแพง บางเดือนอาจจะได้ราคาถูก บางเดือนอาจจะได้ราคาแพง แต่การซื้อแบบเฉลี่ยทุกเดือนทำให้เรามีโอกาสได้กำไรมากกว่า เหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร ดูตัวอย่าง 3. Combined Method Combined Method คือ […]

กองทุนรวม | ซีรี่ย์การลงทุน EP.6

กองทุนรวม คือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมากที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุนไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามประเภทของกองทุนและนโยบายของกองทุนนั้นๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารกองทุนให้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะนำมาปันผลให้กับผู้ที่ถือกน่วยลงทุนหรือผู้ที่ซื้อกองทุน (กองที่มีนโยบายปันผล) แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายปันผลก็จะสะสมกำไรไว้ทำให้เงินในกองทุนเพิ่มขึ้น ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องลงทุน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ มีมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ดูแลให้ มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายบริษัทหรือหลายประเภทสินทรัพย์ ประเภทกองทุนรวม การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน โดยการแบ่งกองทุนรวมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้ แบ่งตามการไถ่ถอนคืน กองทุนเปิด (Opened – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุโครงการไว้หรือไม่กำหนดก็ได้ เมื่อกองทุนมีการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ไปแล้ว ก็ยังสามารถซื้อได้อยู่  การขายกองทุนก็สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆ เช่น ก่อนเวลา 15.30 น. จะได้เงินเมื่อผ่านไป T+1 วัน กองทุนปิด (Closed – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุไว้ ไม่สามารถซื้อระหว่างที่กองทุนยังดำเนินการอยู่ หรือว่าขายกองทุนก่อนครบกำหนดได้ แบ่งตามนโยบายการลงทุน กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นหรือเงินฝากอายุไม่เกิน 1 […]

หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5

จากบทความเรื่อง หุ้นสามัญ ยังมีหุ้นอีกหนึ่งประเภทที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันแต่อาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างต่างกัน วันนี้จะพามารู้จักกับอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หุ้นบุริมสิทธิ” ครับ หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของร่วมเหมือนกับหุ้นสามัญ แต่ต่างกันตรงผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญและอัตราคงที่ สิทธิของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ มีความเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราคงที่ กรณีธุรกิจเลิกกิจการจะมีสิทธิในทรัพย์สินหลังจากเจ้าหนี้แต่ได้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ หุ้นสามัญมีสิทธิลงคะแนนเสียงแต่หุ้นบุริมสิทธิ ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ สะสมและไม่สะสมเงินปันผล เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิขึ้นอยุ่กับผู้บริหารว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลต่างกับการจ่ายดอกเบี้ย ถ้าหากไม่มีการจ่ายเงินปันผลก็จะสะสมมูลค่าไปเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าของบริษัทหรือหน่วยลงทุนเติบโตขึ้น ไถ่ถอนคืนและไม่สามารถไถ่ถอนคืน กรณีที่บริษัทต้องการเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทสามารถเลือกออก หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืน เพื่อที่จะสามารถเรียกคืนจากผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ร่วมรับและไม่ร่วมรับ หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับคือมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับคือ ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดไว้ แปลงสภาพได้และแปลงสถาพไม่ได้ หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพได้คือสามารถแปลงเป็นหุ้นสมัญได้ส่วน หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพไม่ได้ก็เหมือนหุ้นบุริมสิทธิทั่วไปประ รวมซีรีย์บทความการลงทุน การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1 ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2 ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3 ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4 หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5 […]

ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4

ตราสารทุนเป็นตราสารที่ผู้ออกต้องการระดมทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ซื้อหรือผู้ถือ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วม กับกิจการนั้นๆ มีส่วนได้ ส่วนเสียเมื่อกิจการได้หรือเสียประโยชน์ และได้ผลตอบแทนเป็นเงินปันผลโดยเงินปันผล ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10% ส่วนกำไรที่ได้จากการขาย กรณีที่ส่วนต่างราคาขายสูงกว่าราคาซื้อ (Capital Gain) ไม่ต้องเสียภาษี ประเภทตราสารทุน หุ้นสามัญ (Common Stock) ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อให้ประชาชนหรือคนทั่วไปมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ร่วมลงคะแนนเสียง โดยสิ่งที่ได้ตอบแทนเรียกว่าเงินปันผลจากกำไรที่ได้การการดำเนินการของบริษัท มีตัวอย่างหุ้นสามัญประเภทต่างๆ ดังนี้ Blue Ship คือหุ้นที่มีขนาดใหญ่ มีความน่าเชื่อถือ ก่อตั้งมานานแล้วและมีอัตราผลตอบแทนที่ไม่ผันผวน เช่น หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ใน SET50 ซึ่งเป็นหุ้นที่มีความมั่นคง มีสถานการณ์การเงินที่แข็งเกร่ง Growth Stock หุ้นของบริษัที่อยู่ในช่วงเติบโต มียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตลาดยังไม่อิ่มตัว Value Stock หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าตลาดหรือประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน เหมาะกับการลงทุนระยะยาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หุ้นดี ราคาถูก” Income Stock หุ้นของบริษัทที่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ มีการจ่ายเงินปันผลสูง อาจะเรียกว่า “หุ้นปันผล” เหมาะกับการลงทุนเพื่อไว้รับผลตอบแทน Defensve Stock […]

ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3

ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าหนี้ โดย “ผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้” และ” ผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้” เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้  โดยผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทน ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์ของกิจการที่เราถือได้เมื่อมีการเลิกกิจการ โดยแบ่งเป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น (ตราสารหนี้ในตลาดเงิน) ตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้ ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ OR จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ตราสารหนี้แบ่งตามสิทธิเรียกร้อง (เรียงจากสูงลงไปต่ำ) ดังนี้ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Junior Bond) […]

1 27 28 29 30 31 58