5 ปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาล

หมดปัญหาเรื่องวงเงินค่ารักษาไม่พอจ่าย เพราะประกันสุขภาพรูปแบบใหม่จ่ายตามจริงทั้งค่าห้องและค่ารักพยาบาลด้วยเบี้ยหลักพันต่อเดือนแต่คุ้มครองหลักล้านต่อครั้ง วันนี้เรื่องสุขภาพอาจจะไม่เรื่องเล็กอีกต่อไปเพราะใครๆ ก็ใส่ใจกับการดูแลสุขภาพ ทั้งการกินที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การนอนให้พอ การพักผ่อนจากการทำงานรวมถึงการวางแผนค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ผมได้รวบรวมจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงที่ได้ดูแลลูกค้ากว่า 100 กรรมธรรม์ จากการได้ไปดูแลดูค้าที่ของตัวเองตอนที่เข้าโรงพยาบาลและจากที่มีทุกคนเข้ามาปรึกษาในเพจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ จะเห็นว่าปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาลในการเจ็บป่วยและค่าห้องไม่พอเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ลูกค้าเจอกัน มาดูกันว่าทุกคนเคยเจอปัญหาแบบนี้ไหมครับ ทำประกันไว้นานแล้วค่าห้องสมัยก่อนไม่พอกับตอนนี้ สมัยก่อนค่าห้อง ค่าผ่าตัดที่โรงพยาบาลไม่ได้แพงเหมือนตอนนี้ แผนประกันธรรมดาค่าห้องหลักพันต้นๆ ค่ารักษาพบาบาล 50,000 บาทก็เพียงพอแล้ว แต่พอเวลาผ่านไป 5 ปี 10 ปีแผนประกันสุขภาพที่เคยมีอยู่อาจจะไม่พอแล้วสำหรับการรักษาในปัจจุบัน เพราะค่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่ารักษาพยาบาลปรับเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาคือ เวลาทุกคนจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลก็จะต้องจ่ายค่ารักษาส่วนเกินจากที่มีอยู่เอง อยากนอนห้องเดี่ยว แต่ค่าห้องไม่พอต้องออกเพิ่มเอง ปัญหาที่สองคือ แผนประกันสุขภาาพแบบเดิมจำกัดค่าห้องหลักพันต้นๆ เหมือนกัน แต่ปัจุบันค่าห้องของโรงพยาบาลเอกชนราคาเริ่มต้นก็ครึ่งหมื่นแล้ว ครั้นจะไปนอนห้องรวมเพื่อลดค่าห้องก็ดูจะไม่ไหว แค่เจ็บป่วยก็ลำบากพอแล้ว เข้าโรงพยาบาลก็อยากจะได้นอนสบายๆ มีความเป็นส่วนตัว เวลาเพื่อน หรือญาติมากเยี่ยมก็จะได้ไม่รบกวนคนอื่นใช่ไหมครับ ถ้าจะอัพเกรดไปนอนห้องเดี่ยวก็จะมีส่วนเกินที่จะต้องจ่ายเพิ่มเอง ค่าห้องปรับขึ้นทุกปี แต่ความคุ้มครองที่มียังคงที่ สองปีก่อนเพิ่งซื้อค่าห้องเพิ่มไป พอมาปีนี้ค่าห้องโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกแล้วซื้อเพิ่มกันไม่ทันเลย จะเพิ่มอะไรกันเร็วขนาดนั้น จะให้มาเพิ่มทุก 3-4 ปีก็คงจะไม่ไหวใช่ไหมครับเสียดายตังค์ แต่ถ้าไม่เพิ่มเวลาเข้าโรงพยาบาลก็ต้องมาจ่ายส่วนต่างเองอีกไม่ยืดหยุ่นเอาเสียเลย นอนโรงพยาบาลแต่ละครั้งกังวลว่าจะมีส่วนเกิน […]

เรื่องออมเงินไม่เริ่มวันนี้แล้วจะเริ่มวันไหน

ประเด็นร้อนของกลุ่มเพื่อนวัย 30 ที่นั่งคุยกันถึงอนาคตที่อาจจะอยู่เป็นโสด ไม่มีลูก ไม่มีเมียมีผัว แล้วพวกเราจะใช้ชีวิตอยู่กันกันยังไงละ “เงินไงคะ” อยู่ๆ เพื่อนคนนึงก็พูดขึ้นมา “แค่มีเงินพวกเมิงก็อยู่ได้แล้วค่ะ” ว่าไปก็มีส่วนถูกอยู่นะ ถ้าเราไม่มีเงินเราจะอยู่ยังไง จะว่าคนอยู่ต่างจังหวัดไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรก็คงไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน ความเจริญมันเข้าไปถึงเกือบหมดแล้ว ทั้ง 7-11 เอย ห้างเอ่ย ร้านค้าร้านอาหารเอย นั่นหมายถึงว่าการที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วจะประหยัดเหมือนเมื่อก่อนก็อาจจะไม่ใช่ ส่วนคนที่อยู่กรุงเทพฯ แทบไม่ต้องพูดถึง เพราะค่าใช้จ่ายได้เพิ่มจาก 10-20 ปีที่แล้วหลายเท่าตัวแล้วอีก 30 ปีข้างหน้าจะเพิ่มไปอีกเท่าไหร่นะ?? “รู้แบบนี้แล้วเราจะเตรียมตัวยังไงถ้าอยากแก่แบบไม่ลำบาก ไม่เป็นภาระลูกหลาน” … ก็ต้องมีเงินอีกใช่ไหมครับ เราจะทำยังไงให้มีเงิน และต้องมีเงินเยอะขนาดไหนถึงจะพอใช้น้า… ตัวอย่างวิธีการคำนวณง่ายๆ ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ ก่อนอื่นก็ต้องมาดูว่าตอนเกษียณหรือแก่ไปจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ดี คำตอบอันนี้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต ..แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าควรใช้เงินเท่าไหร่ประมาณยังไงดี คำตอบคือ ทำบัญชีรายรับรายจ่ายครับ เพราะเราจะเห็นว่า แต่ละเดือนเราใช้เงินกับอะไรบ้าง อันไหนค่าใช้จ่ายจำเป็น อันไหนไม่จำเป็น อันไหนค่าใช้จ่ายคงที่ อันไหนค่าใช้จ่ายผันแปร พอรู้แล้วก็จะไปประมาณตอนนั้นได้ว่าค่าใช้จ่ายตัวไหนที่จะหายไป ตัวไหนจะเพิ่มขึ้น สมมติว่าได้ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต่อเดือนมาแล้วเดือนละ 20,000 บาท (ใช้ชีวิตแบบกลางๆ) ต่อมาลองคิดว่าหลังจากที่ไม่มีรายได้ (อายุ […]

อายุ 25-34 ปีวัยว้าวุ่น

ถ้าถามว่าวัยไหนที่ประสบผลสำเร็จเร็วที่สุด มีธุรกิจส่วนตัว มีรายได้สูง ก็คงตอบว่าคนช่วงอายุ 25-34 ปีนี่แหละเพราะเทคโนโลยี ความรู้สมัยนี้มีอยู่เต็มไปหมด และเรียนรู้ได้ง่ายๆ ทำให้คนรุ่นใหม่เก่งขึ้น สามารถสร้างธุรกิจได้สะดวกขึ้น ถ้าถามว่าคนรุ่นไหนที่หาเงินได้เยอะ ใช้จ่ายเก่ง ก็คงตอบว่าคนช่วงอายุ 25-34 ปีนี่แหละ แม้จะเป็นช่วง 20 ปลายๆ 30 ต้นๆ แต่คนกลุ่มนี้มีความสามารถเยอะมาก บางคนมีรายได้เสริม บางคนมีงานประจำรายได้สูง ถ้าถามว่าคนวัยไหนที่เป็นหนี้เยอะสุด ก็คงตอบว่าคนช่วงอายุ 25-34 ปีนีเช่นกัน เพราะเป็นวัยที่กำลังสนุกกับการหาเงินและใช้เงินกับทุกกิจกรรมทั้งเที่ยว ดื่ม ช้อป ถ้าถามว่าวันไหนควรเก็บเงินที่สุด ก็คงตอบว่าคนช่วงอายุ 25-34 ปีอีกแหละ ในวัยที่มีการงานมั่นคง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีแรง มีกำลังหาก็ควรจะรีบเก็บเงินและให้เงินทำงานด้วยเหตุผลที่ว่า เงินจะงอกเงยด้วย 3 องค์ประกอบคือ เวลา (ที่สามารถทิ้งไว้ได้อีกหลายปี) เงิน (สามารถหามาเติม/ลงทุนได้เรื่อยๆ) ผลตอบแทน (สามารถลงทุนในความเสี่ยงสูงได้เพราะอายุยังน้อย) “ปัญหาใหญ่ของคนช่วงอายุ 25-34 คือมีเงินสำรองไม่เพียงพอ บางคนยังไม่รู้ว่าเงินสำรองคืออะไร” วันนี้หลายคนกำลังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการใช้เงินที่หามาได้ แต่ลืมไปว่าเราควรจะเก็บด้วย ถ้าเกิดตกงานขึ้นมา […]

การลงทุนแบบ DCA | ซีรี่ย์การลงทุน EP.8

หลายคนที่ติดตามเพจของผมอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมานั่งแบงค์ 20 กับเหรียญที่หยอดกระปุกทุกเดือน ไม่รอให้ครบปีหรือครบตามเวลาที่ต้องการก่อนค่อยนับทีเดียว วันนี้จะมาเฉลยครับ จริงๆ ทุกคนสามารถรอนับตอนสิ้นปีทีเดียวเลยก็ได้จะได้รู้ว่าเราเก็บเงินได้เท่าไหร่แล้ว ค่อยเอาไปใช้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรก แต่สำหรับผมที่ต้องนับทุกเดือนเพราะผมใช้หลักการ DCA หรือ “Dollar Cost Averaging” เพื่อลงทุนในกองทุนรวมครับ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า DCA ที่ลงทุนในกองทุนรวมเป็นยังไงขอยกตัวอย่างบัญชีออมทรัพย์แบบทวีทรัพย์ละกันครับ บัญชีประเภทนี้คือเราเปิดบัญชีเท่าไหร่ เดือนต่อไปก็ต้องฝากเท่าๆ กันทุกเดือนจนครบสัญญา 12 เดือนหรือ 24 เดือน เพื่อฝึกนิสัยการออมของเรา สิ่งที่ได้เพิ่มมาคือดอกเบี้ยที่ฝากในแต่ละเดือน จากการที่เราฝากเงินเพิ่มขึ้นเพราะดอกเบี้ยคำนวณเป็นรายวัน DCA คืออะไร? สำหรับการ DCA ในกองทุนรวมคือการที่ซื้อกองทุกๆ เดือน ในยอดเงินที่เท่ากัน วันที่เดียวกัน ถ้ากองทุนนั้นมีมูลค่าหน่วยลงทุนสูง (NAV) ก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยลง แต่ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยลงต่ำ (NAV) ก็จะได้หน่วยลงทุนเยอะขึ้น เราก็จะได้มูลค่าที่เฉลี่ยๆ ครับ แต่สำหรับผมไม่ได้ DCA ตรงตามสูตรขนาดนั้น ผมซื้อทุกๆเดือน มีจำกัดว่าขั้นต่ำจะซื้อเท่าไหร่เช่น 1,000 บาท แต่ถ้าเดือนไหนมีเงินเพิ่มเยอะก็อาจจะซื้อเพิ่มมากขึ้นตามกำลังและอาจจะไม่ได้ซื้อวันที่เดิมของทุกเดือน ของเรียกของตัวเองว่า “DCA ประยุกต์” […]

ดอกเบี้ยเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้

ผมว่าทุกคนในเพจนี้น่าจะรู้จักคำว่าดอกเบี้ยกันแต่จะรู้จักมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคน บางคนอาจจะเคยเรียนมานาน จบแล้วก็ลืมไปแล้ว วันนี้มารื้อฟื้นกันนะหน่อยนะครับ เด็กๆ อาจจะรู้จักดอกเบี้ยเงินฝากเพราะพ่อแม่สอนให้ออมเงินตั้งแต่เด็ก สอนให้ลูกฝากเงินแล้วบอกว่ามันได้ดอกเบี้ยนะลูก เข้าสู่วัยทำงาน มีเงินเดือนใช้ ก็สมัครบัตรเครดิตก็เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีก พอโตขึ้นอยากได้บ้านอยากได้รถ ไปกู้เงินมาซื้อ ก็เรื่องดอกเบี้ยอีก เชื่อไหมครับเราอยู่กับดอกเบี้ยแทบจะตั้งแต่เกิดจนแก่เลย แต่บางคนยังไม่รู้ว่าดอกเบี้ยมันคิดยังไง มีแบบไหนบ้าง และแต่ละแบบมันต่างกันยัง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับการคิดดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของทุกคนกันครับ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยรถ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเรารู้ดอกเบี้ยแต่อย่างเป็นยังไงจะ เราก็จะรู้ว่าการจ่ายดอกเบี้ยแบบไหน ช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายได้ ✅ ดอกเบี้ยคืออะไร ✅ ประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ ✅ การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก ✅ การคิดดอกเบี้ยอย่างง่าย ✅ การคิดดอกเบี้ยทบต้น ✅ ดอกเบี้ยคงที่ (FlatRate) ✅ ดอกเบี้ยลอยตัว (Amortization) =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

1 26 27 28 29 30 58