มีเรื่องมาเล่าเป็นเรื่องเมื่อตอนผมเริ่มทำงานที่แรกเลยครับ วันนั้นได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินที่บริษัทจัดให้ มีกราฟนึงน่าสนใจมาก ผมได้ถ่ายรูปไว้และเขียนเป็นบล๊อกไว้ในเว็บไซต์ของตัวเอง พอได้เข้าไปอ่านอีกครั้งยอมรับว่าเขียนได้แย่มาก อ่านแล้วงงไปหมด ฮ่าๆ วันนี้ขอยกกราฟนั่นมาเขียนอธิบายใหม่อีกครั้ง หวังว่าจะอธิบายได้เข้าใจและละเอียดมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาหลายปี

ในกราฟแบ่งข้อมูลของเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนอายุ 30 ปี, อายุ 30-60 ปีและอายุ 60 ปีขึ้นไปหลายคนพอเดาได้ว่าสาเหตุที่แบ่งแบบนี้เพราะแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุตามรายได้หรือการทำงานของเรานั่นเอง

ช่วงก่อนอายุ 30 ปี

เป็นช่วงที่เริ่มทำงานกัน บางคนเริ่มตอนอายุ 20 ปี บางคนเริ่ม 25 ปีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เยอะแต่มีรายจ่าย ตามการใช้ชีวิตในสังคมของแต่ละคน ยิ่งถ้าเป็นคนตามกระแสทุกอย่างอาจจะต้องเป็นหนี้เลยก็ได้

ช่วงอายุ 30-60 ปี

หลังจากทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ สามารถเปลี่ยนงานหรือหางานที่มีรายได้สูง แต่อย่าลืมว่าบางคนรายได้ที่สูงมาพร้อมกับราจ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน อาจจะเป็นตำแหน่งงานที่ต้องเจอคน ต้องดูแลลูกน้องหรือค่าจ่ายส่วนตัวตามฐะนะทางสังคม

ช่วงอายุ 60 ปี

ขึ้นไปใกล้วัยเกษียณ รายได้จากงานประจำที่เรียกว่า Active Income ที่ได้ตลอดก็จะเริ่มหมดไปเพราะไม่ได้ทำงานแล้ว อาจจะเหลือรายได้เสริมบ้าง ที่เรียกว่า Passive Income ถ้าใครรู้จักการลงทุน การวางแผนการเงินที่ดีตั้งแต่ตอนทำงานก็อาจจะมีรายได้เสริมหรือรายได้จาก Passive Imcome เป็นกอบเป็นกำเลยก็ได้ (รายได้ Active Income และ Passive Income คืออะไร)

จุดสำคัญอยู่ที่ช่วงอายุ 30-60 ปี

ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรามีรายได้จากการทำงานสม่ำเสมอ บางคนอาจจะใช้เงินโดยไม่ได้คิดถึงอนาคต หาได้มาก็ใช้ไปเพราะสิ้นเดือนก็มีเงินเข้ามา จนลืมคิดถึงอนาคตไปว่า ถ้าวันที่เราไม่มีงานทำจะเอาเงินที่ไหนมาใช้

ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สามารถหาเงินได้เยอะมาก หาเงินได้หลายทาง แต่ก็เป็นวันที่ใช้เงินเก่งเหมือนกัน สิ่งที่ควรทำคือการเริ่มออมเงินโดยเริ่มต้นที่ 10% ของรายได้และค่อยๆออมเพิ่มเมื่อมีรายได้เพิ่ม การออมเงินไม่ได้หมายถึงว่าเอาเงินที่ได้ทั้งหมดไปออมแต่ควรแบ่งออมก่อนใช้ ให้ติดเป็นนิสัย เมื่อเรามีวินัยในการออมแล้ว สามารถออมก่อนใช้ได้แล้วเหลือเงินเท่าไหร่ก็ใช้ให้เต็มที่ ถ้าคิดว่าใช้ก่อนแล้วค่อยออมมักจะใช้จนหมดโดยไม่เหลือไว้ออมก็ได้

ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป

หลังจากทำงานมาเกือบ 30 ปีแล้วก็น่าจะถึงเวลาพัก (พักได้รึป่าว? มีเงินเก็บพอหรือยัง) สิ่งที่น่ากลัวคือ มีเงินเก็บแต่ไม่พอสำหรับเกษียณ

ปกติคนอายุ 60 ปีส่วนใหญ่จะไม่มีรายได้จากงานประจำที่เรียกว่า Active Income แต่ยังมีรายจ่ายอย่างต่อเนื่องทั้งค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาลและค่าอื่นๆ ของแต่ละคน โดยค่าใช้จ่ายของคนวัยนี้จะเป็นค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยสะส่วนใหญ่ เพราะอายุเยอะก็ป่วยง่ายร่างกายเริ่มอ่อนแอ ถ้าไม่มีรายได้แต่รายจ่ายยังคงเดินเรื่อยๆ สักวันเงินเก็บที่เรามีคงต้องหมดแน่ๆ แต่จะหมดช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนของเราในช่วงวัย 30-55 ปีด้านบนแหละครับ

ในช่วงวัยนี้เราจะเห็นกลุ่มคนใหญ่ๆ อยู่ 2 กลุ่มคือคนที่มีครอบครัว มีลูก มีหลาน ก็อาจจะยังพอมีเงินที่ลูกๆ หลานๆ ส่งให้ใช้บ้างแต่เชื่อว่าคงไม่พอแน่นอน ยังไงก็ต้องใช้เงินตัวเองอยู่ดี และอีกกลุ่มที่ไม่มีครอบครัว ต้องอยู่คนเดียวหรือกับคู่ชีวิตที่ไม่มีลูกซึ่งไม่มีคนส่งเงินให้ใช่แน่นอน ต้องพึ่งเงินเก็บตัวเอง 100%

ทั้งหมดนี้นอกจากเราจะพึ่งพาเงินเก็บที่ทำงานมาแล้วเกือบ 30 ปีที่เรียกว่ารายได้ Active Income แล้ว ควรจะมีรายได้จาก Passive Income ด้วยเพื่อที่จะช่วยสร้างรายได้ให้เราตอนที่ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว

ซึ่ง Passive Income มันไม่ได้สร้างภายในปีหรือสองปี ถ้ามาคิดเรื่องนี้ก่อนเกษียณก็อาจจะไม่ทัน ควรวางแผนระยะยาวแล้วศึกษาข้อมูล เตรียมความพร้อมอย่างน้อยก็ 10 ปีเพื่อให้เงินงอกเงย

หากวันนี้ทุกคนยังอยู่ในช่วงวัยเริ่มทำงานอายุไม่ถึง 30 ปี หรือทำงานมาสักพักแล้ว แต่ยังสนุกกับการใช้เงินโดยยังไม่ได้เริ่มออมเงินได้เข้ามาอ่านบทความนี้หวังว่าจะช่วยให้หลายๆคน คิดได้และวางแผนเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ถ้าคิดว่าเกษียณมันไกลไป ลองนึกถึงช่วงโควิดที่ผ่านมา ตอนที่เราไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่ายดูนะครับว่ามันลำบากขนาดไหน อย่างน้อยเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินก่อนก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713