การยื่นภาษีและเสียภาษีเป็นหน้าที่หลักของทุกคน บางคนอาจจะสับสนสองคำนี้ ระหว่าง “ยื่นภาษี” กับ “เสียภาษี” ว่าเหมือนหรือต่างกันแล้วเราควรจะต้องเสียภาษีไหม มาดูกัน
ยื่นภาษี
ยื่นภาษีเป็นการยื่นแบบเพื่อแจ้งรายได้และค่าลดหย่อนที่เราเรามีให้กับสรรพากรทราบ บางคนมีรายได้หลายทาง ภาษีที่หักไว้อาจจะน้อยกว่าที่จ่ายจริง เราจะต้องเสียภาษีเพิ่ม บางคนบริษัทหักภาษีสูงเกินจริงหรือเรามีค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น ซื้อประกัน ดอกเบี้ยบ้าน กองทุนต่างๆ เราก็จะได้ภาษีที่หักไว้คืน
การยื่นภาษีนั้นเพื่อคำนวณดูว่าเราจะต้องเสียภาษีเพิ่มหรือได้เงินภาษีที่หักไว้คืนหรือไม่ โดยแบบฟอร์มในการยื่นภาษีนั้นจะมีหลายแบบแต่ เมื่อเราเลือกประเภทของเงินได้ในระบบการยื่นภาษีของสรรพากร แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. จะถูกสร้างขึ้นตามประเภทเงินได้ของเราโดยที่ไม่ต้องเลือกเอง มนุษย์เงินเดือนหรือคนส่วนใหญ่ใช้มี 2 แบบคือ
- ภ.ง.ด. 90 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นเงินเดือน โบนัส 40(1) และมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ เช่น ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม 40(2)
- ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นเงินเดือน หรือ โบนัส 40(1) เพียง อย่างเดียว
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับยื่นภาษี เช่น
- ใบทวิ 50 (ออกโดยบริษัทที่เราทำงานอยู่)
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราทำงานอยู่
- เอกสารลดหย่อน เช่น
- เอกสารการจ่ายดอกเบี้ยบ้าน
- เอกสารรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
- ใบเสร็จซื้อสินค้า (ตามที่รัฐบาลกำหนด)
เสียภาษี
ขั้นตอนหลังจากการยื่นภาษีเรียบร้อยระบบจะคำนวณให้ว่า รายได้สุทธิของเรา (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ และค่าลดหย่อน) เกินขั้นต่ำที่ 150,000 บาท ตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ ถ้าต่ำหว่าก็ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มและอาจจะได้เงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนด้วย โดยอัตราภาษีที่จะต้องเสียแบ่งเป็นแบ่งบันใด
- รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
- รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
- รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
- รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
- รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
- รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
- รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
- รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
นอกจากค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้วเรายังสามารถซื้อประกันสะสมทรัพย์หรือประกันแบบบำนาญที่ใช้ลดหย่อนภาษีที่จะต้องจ่ายให้น้อยลงได้ ที่สำคัญประกันยังเป็นตัวช่วยในการออมเงินไว้ไว้ในอนาคต ตัวช่วยวางแผนการเงินและสำหรับเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณด้วย หลายคนวางแผนซื้อประกันเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีที่แล้วไม่ทันเพราะมัวแต่รอปลายปีทำให้เสียโอกาสที่จะได้เงินภาษีคืน ปีนี้รีบมาเริ่มวางแผนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีกันเถอะ
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมสั้น จบไว (เมืองไทย เอ็กตร้า เซฟวิ่ง 15/5)
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมยาว ไม่ต้องหาแผนลดหย่อนบ่อยๆ มีเงินคืนทุกปี (เมืองไทยซุปเปอร์เซฟเวอร์ 25/16)
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมหลักแสน ผลตอบแทนหลักล้าน (เมืองไทย แฮปปี รีไทร์ 60)
สรุปว่า
การยื่นภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนที่มีรายได้ต้องทำแต่การเสียภาษีหรือไม่นั้นไม่ใช่ที่ทุกคนจะต้องจ่าย ฉะนั้นใครที่มีรายได้ก็อย่าลืมยื่นภาษีให้ถูกต้องกันด้วยนะครับ
ก่อนที่จะซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพหรือกองทุนต่างๆ ให้ลองคำนวณรายได้ของตัวเองดูก่อนว่าหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนแล้วถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีรึป่าว ถ้ายังไม่ถึงก็อาจจะยังไม่จำเป็นต้องซื้อไว้ลดหย่อน เพราะซื้อไว้ก็ใช้สิทธิไม่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ มีความสำคัญ อยากออมเงิน อยากลงทุน หรือวางแผนการเงิน ซื้อประกันไว้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรครับ
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713