ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าหนี้ โดย “ผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้” และ” ผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้” เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทน
ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์ของกิจการที่เราถือได้เมื่อมีการเลิกกิจการ โดยแบ่งเป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น (ตราสารหนี้ในตลาดเงิน)
ตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้
- ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง
- ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย
- ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ OR จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป
ตราสารหนี้แบ่งตามสิทธิเรียกร้อง (เรียงจากสูงลงไปต่ำ) ดังนี้
- หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond)
- หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Junior Bond)
- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
- หุ้นสามัญ (Common Stock)
ตราสารหนี้แบ่งตามหลักประกัน ดังนี้
- หุ้นกู้มีหลักประกัน (Secured Bond) มีสินทรัพย์ถาวรเป็นหลักประกันในการชำระหนี้
- หุ้นไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ วางไว้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้
ตราสารหนี้แบ่งตามชนิดสิทธิแฝง ดังนี้
- หุ้นกู้ไม่มีสิทธิแฝง (หุ้นกู้ปกติ)
- หุ้นกู้มีสิทธิแฝง
- หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond)
- หุ้นกู้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกคืนก่อนครบกำหนด (Callable Bond)
- หุ้นกู้ที่ผู้ถือมีสิทธิไถ่ถอนก่อนครบกำหนด (Puttable Bond)
ตราสารหนี้ระยะสั้น
- มีอายุไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี
- มีสถาพคล่องสูง ขายคืนง่าย
- ผู้ออกตราสารมีฐานะทางการเงินดี
- มีความผันผวนไม่รุนแรง
ตัวอย่างตราสารหนี้ระยะสั้น
-
- ตั๋วเงินคลัง
- บัตรเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้
- ตั๋วพาณิชย์ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน
ตราสารหนี้ระยะยาว
- มีอายุมากกว่า 1 ปี
- มีการระบะชื่อผู้ออก, ราคาตรา, วันครบกำหนดไถ่ถอน, อัตราดอกเบี้ย, งวดการจ่ายดอกเบี้ย
ตัวอย่างตราสารหนี้ระยะยาว
-
- ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลเรียกว่า พันธบัตร มีความเสี่ยงต่ำเพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรรัฐบาล เช่น พันธบัตรเพื่อการลงทุน, พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม, พันธบัตรออมทรัพย์
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ มีแบบที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
- พันธบัตรภาครัฐอื่นๆ เช่น พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ความเสี่ยงในการลงทุน
- ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk) กรณีที่ผู้ออกตราสารนี้จะไม่จ่ายเงินคืนให้กับผู้ลงทุนตามกำหนดที่แจ้งไว้ (ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดย ออกโดยกระทรวงการคลัง มีความเสี่ยงประเภทนี้น้อยกว่าหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน)
- ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ตราสารหนี้เป็นตราสารที่จ่ายดอกเบี้ยให้แน่นอน แต่ถ้าดอกเบี้ยของธนาคารเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารหนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยในทิศทางตรงกันข้าม
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือไม่สามารถขายตราสารหนี้ในราคาและเวลาที่ต้องการได้
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้
- กำไร/ขาดทุน จากการลงทุนในตราสารหนี้
- เงินที่ได้จากดอกเบี้ยรับ
- เงินได้จากส่วนลดหน้าตั๋ว
คำศัพย์เกี่ยวกับราคาตราสารหนี้
- Premium Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ น้อยกว่า อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
อัตราผลตอบแทนต้องการ (8%) < อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%) - Par Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
อัตราผลตอบแทนต้องการ (10%) = อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%) - Discount Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ มากกว่า อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
อัตราผลตอบแทนต้องการ (12%) > อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%)
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ย
- อัตราดอกเบี้ยในตลาด “เพิ่มขึ้น”
- Price Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาตราสารหนี้) ลดลง
- Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงในผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ) เพิ่มขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยในตลาด “ลดลง”
- Price Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาตราสารหนี้) เพิ่มขึ้น
- Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงในผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ) ลดลง
5 เหตุผลที่ต้องลงทุนในตราสารหนี้
- ตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำ
- ตราสารหนี้ได้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนและสม่ำเสมอ
- มีการกระจายความเสี่ยงได้มากกว่าลงทุนในหุ้นสามัญหรือฝากเงินธนาคาร
- สามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้ เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ
- เก็บเป็นเงินออมหรือมรดกให้ลูกหลานได้
ส่วนประกอบที่สำคัญในตราสารหนี้
- มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value) -> หน่วยละ 1,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) -> อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.36 ต่อปี
- งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon Frequency) -> ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน
- วันหมดอายุหรือวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Rate) -> ครบกำหนดไถ่ถอน พ.ศ. 2565
- ชื่อผู้ออก (Issuer) -> ธนาคารออมสิน
- ประเภทของตราสารหนี้ -> หุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ
- ข้อสัญญา (Convenants)
การลงทุนตราสารหนี้ทางตรง ผ่านตลาดรอง (TBX)
- เปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์
- ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์
- ระบบ AOM : ไม่เกิน 10,000 หน่วย
หรือ 10,000,000 บาท - ระบบ Trade Report : เกิน 10,000 หน่วย
หรือ 10,000,000 บาทขึ้นไป
- ระบบ AOM : ไม่เกิน 10,000 หน่วย
- โบรกเกอร์แจ้งยืนยันผลการสั่งซื้อขาย
- ชำระเงินและรับมอบหลักทรัพย์โดยค่าคอมมิชชั่นไม่เกิน 0.25% (ไม่รวม VAT)
- รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาด TBX
- เวลาซื้อขาย : ช่วงเช้า 10.00-12.30 น. ,ช่วงบ่าย 14.30 – 16.30 น.
- หน่วยการซื้อขาย : 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับตราสารหนี้จํานวน 100 หน่วย
- ช่วงราคา (spread) : 0.01 บาท
- มูลค่าการซื้อขายต่อคําสั่งขั้นต่ำ : 100 หน่วย หรือ 100,000 บาทและทวีคูณ 100 หน่วย
- การส่งมอบและการชําระราคา : T+2
จากที่อ่านรายละเอียดมาทั้งหมดนี้ หลายคนคงจะบอกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะมีทั้งคำศัพท์ ความเสี่ยง ผลตอบแทนและการคำนวณที่ต้องศึกษาเยอะไปหมด แต่ผมมีอีกช่องทางสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหรืออมเงินในตราสารหนี้แนะนำ ที่สะดวกกว่า เข้าใจง่ายกว่า รวดเร็วกว่านั่นก็คือ การลงทุนใน “กองทุนรวมตราสารหนี้”
การลงทุนตราสารหนี้ทางอ้อม ผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากทำประกันชีวิตเพื่อเป็นมรดกไว้ให้คนที่รัก อยากทำประกันสะสมทรัพย์ไว้เพื่อออมเงินหรือลงทุน แต่ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัะย์แบบเดิมๆ อาจจะได้ผลตอบแทนไม่ตรงกับที่ต้องการ หรือสำหรับคนที่อยากลงทุนในตราสารหนี้เพราะอยากเป็นเจ้าของกิจการหรือการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากแต่ไม่ถนัดเรื่องการซื้อตราสารต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร หรือหุ้นกู้ของเอกชน สามารถเลือกลงทุนได้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้เสนอขายและยังมีผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการให้ แต่ถ้าอยากได้ทั้งประกันชีวิตที่คุ้มครองและเราก็ยังสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้ได้ ขอแนะนำกองทุนรวมตราสารหนี้จากพอร์ตแบบประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิตดังนี้ครับ
- กองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K Cash Management Fund : K-CASH)
- กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส (K-FIXEDPLUS-A)
- กองทุนเปิดเค เอเชีย แปซิฟิก บอนด์ (K-APB)
- กองทุนเปิดเค หุ้นกู้ (K Corporate Bond Fund : K-CBOND)
- กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM)
พอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ของแบบประกันชีวิตควบการลงทุน
- ความเสี่ยงต่ำ : ลงทุนในตราสารหนี้ 80%
- ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ : ลงทุนในตราสารหนี้ 70%
- ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง : ลงทุนในตราสารหนี้ 60%
- ความเสี่ยงสูง : ลงทุนในตราสารหนี้ 40%
- ความเสี่ยงสูงมาก : ลงทุนในตราสารหนี้ 20%
หากสนใจกองทุนรวมตราสารหนี้ที่แนะนำในแบบประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิต ติดต่อได้ทางเพจหรือว่าไลน์ได้เลยครับ
รวมซีรีย์บทความการลงทุน
- การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1
- ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2
- ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3
- ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4
- หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5
- กองทุนรวม | ซีรี่ย์การลงทุน EP.6
- 3 เทคนิคลงทุน | ซีรี่ย์การลงทุน EP.7
- การลงทุนแบบ DCA | ซีรี่ย์การลงทุน EP.8
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713