สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนอาจเคยถูกเบอร์แปลกโทรมาเสนอขายสินค้า ขายผลิตภัณฑ์บริการหรือแม้กระทั่งแอทไลน์หรือช่องทางติดต่อต่างๆโดยที่ไม่เคยรู้จักเขาคนนั้นมาก่อน คำถามคือเขาติดต่อเราได้อย่างไร และเอาข้อมูลเรามาจากไหน และ PDPA จะมาช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาเหล่านี้กันครับ

ก่อนอื่นเลยต้องมารู้จักกับ PAPD ก่อนว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง?

PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2562) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายซึ่งมีขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (มีข้อยกเว้น) และบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับข้อมูลจะต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน (ตกลงกันในสัญญา) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่

  1. ชื่อ – นามสกุล
  2. เลขประจำตัวประชาชน
  3. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
  4. อีเมล
  5. ข้อมูลทางการเงิน
  6. เชื้อชาติ
  7. ศาสนา
  8. พฤติกรรมทางเพศ
  9. ประวัติอาชญากรรม
  10. ข้อมูลสุขภาพ

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก และการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดีย หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆทำให้โลกของเราเชื่อต่อกันและวิถีชีวิตของเราสะดวกมากยิ่งขึ้นจึงนำมาสู่การลงทะเบียนในช่องทางต่างๆ เพื่อรับบริการและความสะดวกสบายเหล่านั้น และในการเป็นสมาชิกของสินค้า บริการ หรือสื่อโซเชียลออนไลน์ต่างๆ หลายคนคงเคยกดปุ่ม “Agree” เพื่อเป็นการให้ความยินยอมโดยที่ไม่เคยอ่านคำอธิบายด้านบนเลย สิ่งนี้คือปัญหาเพราะไม่มีใครรู้ว่ามันมีไปเพื่ออะไร และอาจนำไปสู่การใช้ข้อมูลเราในทางที่ผิดและก่อให้เกิด ความเสียหายก็เป็นได้

บริษัทมักอ้างว่าให้จะให้เราใช้สินค้าบริการหรือโซเชียลมีเดียนั้นฟรี เพียงเเค่เรา (ผู้ใช้บริการ) กรอกข้อมูลส่วนบุคคลไปในการสมัครสมาชิก ดูเผินๆเราอาจคิดว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เพราะไม่เสียตังสักบาท แต่เราอาจคิดไม่ถึงเลยว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเรานั้นมีค่ากว่าที่คิด และสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ซึ่งนั่นคือช่องทางที่โซเชียลมีเดียกระทำละเมิดและนำข้อมูลของผู้ใช้ไปขายนั่นเอง พูดง่ายๆคือการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแทนการชำระค่าบริการนั่นเอง

ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นที่มาหนึ่งของการเกิด พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อการละเมิดข้อมูลดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้หรือบทลงโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และทางปกครองกำหนดไว้ด้วย
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลของเราจะไม่ถูกนำไปขาย? ความกังวลดังกล่าวสามารถลกลงได้โดยก่อนที่เราจะให้ข้อมูลส่วนตัวของเราแก่ใครไปเราต้องสังเกตุดังนี้

  1. ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลของเราจะเก็บได้เเต่เฉพาะเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย
  2. ต้องเเจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึงรายละเอียด (วัตถุประสงค์ ระยะเวลา บุคคลหรือหน่วยงานที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอาจถูกเปิดเผย สิทธิเจ้าของข้อมูล)

หลังจากที่พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ประกาศใช้ ประชาชนผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็มั่นใจได้มากขึ้นว่าข้อมูลของเราจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย มีความปลอดภัยมากขึ้นและสร้างความรับรู้ถึงบทลงโทษ ความรับผิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลต่อผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งทำให้การเผยแพร่หรือทำนอกวัตถุประสงค์ และละเมิดข้อมูลส่วนตัวของเราลดลงได้ อีกทั้งในภายหลังหากเจ้าของข้อมูลเปลี่ยนใจก็สามารถขอให้ลบหรือแก้ไขข้อมูลดังกล่าวของตนได้อีกด้วย

สุดท้ายนี้ก่อนกด “Agree” ในการสมัครสมาชิกอะไรก็แล้วแต่ ผมอยากให้เพื่อนๆได้อ่านคำอธิบายด้านบนก่อนเสมอ เพื่อปกป้องข้อมูลของเพื่อนๆเอง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และสร้างความตระหนักถึงผู้ใช้โซเชียลทุกคนนะครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713