อิสรภาพทางการเงิน เป็นคำฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่และมีอยู่จริงไหม ขอสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายดังนี้ครับ

อิสระทางการเงินคือ การได้เงินมาโดยที่เราไม่ต้องทำงานให้ได้เงินในรูปแบบ Active Income เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการสร้างรายได้แบบ Passive Income โดยเป็นรายได้อีกทางหนึ่งจากดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล ผลตอบแทนจากการลงทุน ค่าเช่า เป็นต้น โดยเราไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ที่ไม่พอหรือค่าใช้จ่ายเรื่องไร้สาระ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นมาดูว่าต้องทำยังไงบ้างเพื่อให้มีอิสระทางการเงินกัน

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นขั้นตอนแรก ที่ควรเริ่มสำหรับผู้ที่อยากมีอิสระทางการเงิน ขั้นตอนนี้ควรควรจดรายรับทุกอย่างที่ได้แต่ละเดือน และรายจ่ายทุกอย่างเช่นกัน โดยรายจ่ายควรแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ รายจ่ายประจำเช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเดินทาง ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้ค่าแปรผัน คือค่าใช้จ่ายที่บางเดือนมี บางเดือนไม่มีเช่น ค่าอาหาร ค่าสังสรรค์ ค่าซื้ออุปกรณ์ในบ้าน ค่าช้อปปิ้ง

เหตุผลที่ต้องทำเพราะ เราจะได้ประมาณการได้ว่า แต่ละเดือนเรามีรายได้จากที่ไหนบ้างเฉลี่ยเดือนละเท่าไหร่ และมีรายจ่ายเดือนละกี่บาท โดยควรทำติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี เผื่อให้เห็นภาพชัดเจน ถ้าไม่ทำขั้นตอนนี้ เราก็จะไม่รู้ว่าเงินที่ได้มาเอาไปใช้กับอะไรหมด และวางแผนไม่ได้ว่าควรมีรายได้เดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอใช้โดยไม่ขัดสน

ออมเงินให้ได้ 6 เท่าของค่าใช้จ่าย

ขอย้ำอีกครั้งว่าการมีอิสระทางการเงินเพราะเราไม่อยากทำงานและยังมีเงินใช้โดยไม่ลำบาก หรือ อาจจะทำงานอยู่แต่ไม่ต้องทนทำงานที่เราไม่ได้รัก ไม่ต้องทำงานเป็นเวลา ฉะนั้น หากเราทราบรายจ่ายของเราแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือว่าหาเงิน ออมเงิน หรือสำรองเงินให้มีใช้ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน จะได้ไม่ต้องกังวลเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน

เหตุผลที่ต้องทำเพราะเมื่อเราต้องตกงาน อยู่ระหว่างหางานใหม่ หรืออยากลาออกก็ทำได้ ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าออกไปแล้วจะไม่มีเงินใช้ ออกไปแล้วตายแน่ๆ การมีอิสระทางการเงินก็เพื่อชีวิตที่อิสระ หากต้องใช้ชีวิตด้วยความกังวล กลัวเงินหมดก็เท่ากับว่าชีวิตไม่อิสระเพราะการเงินที่ไม่มั่นคง (เทคนิคออมเงินง่ายๆ แค่วันละ 20 บาท)

ปกป้องเงินในบัญชีไม่ให้สูญหาย

ข้อนี้เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญอาจจะทำก่อนหรือทำไปพร้อมกับข้อ 2 ได้ เพราะชีวิตของเราไม่แน่นอน ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ สุขภาพ หากเราไม่มีประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ประกันบ้าน หรืออื่นๆ เมื่อเราเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุก็ไม่รู้จะเอาเงิน ที่ไหนมาใช้ ก็คงต้องเป็นเงินเก็บข้อ 2 ใช่ไหมครับ

เหตุผลที่ต้องทำก็เพราะ ป้องกันไม่ให้เงินที่เราเก็บมาสูญหายไปกับค่ารักษาพยาบาล หรือจ่ายไปกับค่าซ่อมรถ ซ่อมบ้าน อย่าเสียดายเงินเบี้ยประมาณเพียงน้อยนิด เพราะถ้าได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองจะรู้ว่า เงินเก็บ 3-6 เท่าที่มีอยู่อาจจะไม่พอเลยก็ได้ (ประกันสุขภาพปกป้องเงินในกระเป๋า)

เก็บออมและลงทุน

หลังจากทราบค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้ว มีเงินสำรองที่จะใช้ยามจำเป็นและปกป้องเงินที่มีไม่ให้สูญหายแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่เกินจากเงินออมฉุกเฉินมาลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นรายได้ให้เราได้ใช้ เช่นลงทุนในกองทุนที่ปันผล ตราสารหนี้ ตราสารทุน ประกันชีวิต หุ้น อื่นๆ ซึ่งต้องการกระจายการลงทุนที่หลากหลายด้วย ป้องกันกองทุนไหนที่ผลประกอบการไม่ดี ยังมีกองทุนประเภทอื่นๆที่สร้างผลตอบแทน

นอกจากนี้ก็อย่าพึ่งคิดว่าได้ผลตอบแทนตรงนี้แล้วจะเลิกทำงาน เราควรต้องขยันทำงานหายรายได้เพิ่ม เพื่อนำมาเติมเต็มเงินส่วนของการลงทุนได้ผลตอบแทนมากขึ้น (ประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองและลงทุนในกองทุนรวม)

รับผลตอบแทนจากการลงทุน

สุดท้ายเมื่อเราวางแผนครบทุกอย่างแล้ว อย่าลืมทบทวนแผนตามขั้นตอนแรกอยู่สม่ำเสมอ เพื่อเช็คว่า พื้นฐานทางการเงินในขั้นตอนที่ 1-4 ของเรายังเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะได้ปรับปรุงแต่ละขั้นตอนให้เป็นปัจจุบันเพราะแผนการเงินของเรา