“ผมอยากวางแผนการเงินครับ ควรซื้อประกันตัวไหนดี?” คือหนึ่งคำถามที่ส่งเข้ามาในเพจ บางคนเข้าใจผิดมาตลอดว่าการวางแผนการเงินคือ การหากองทุนที่ผลตอบแทนดี และซื้อกองทุนหลายๆ กอง จากนั้นก็รอเงินปันผลที่จะได้ ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด
เนื่องจากเรื่องเงิน ทองๆ อาจจะไม่ใช่วิชาที่มีสอนในมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน พอจบออกมาหลายคนยังไม่มีความรู้รวมถึงตัวผมเองด้วย ต้องมาหาหนังสือมาอ่าน หรือมานั่งเรียนเอง ใช้เวลานานเหมือนกันกว่าจะเข้าในเรื่องพวกนี้
วันนี้จะมาสรุปว่าการจะวางแผนการเงินให้งอกเงย หรือให้มีเงินใช้ตามทฤษฎีแล้วมีขั้นตอนยังไงบ้างโดยใช้สามเหลี่ยมทางการเงินตามรูปครับ
การวางแผนการเงินก็เหมือนกับการสร้างบ้าน ที่เราต้องเริ่มจากสร้างฐานให้แข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักของบ้านทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ ต่อเดิมขึ้นไปเรื่อยๆ จนได้แผนการเงินที่เหมือนบ้านที่แข็งแรงสมบูรณ์แข็งแรง
Step 1 : บริหารการใช้เงิน
พื้นฐานการวางแผนการเงินคือสร้างฐานให้แข็งแรง ฐานการเงินคือวางวางแผนรายรับ รายจ่าย เหตุผลที่ต้องบริหารรายรับ รายจ่ายให้ได้ก่อนก็พราะเราจะได้รู้ว่ามีวินัยในการจัดการเงินได้ดีหรือไม่ ไม่ใช่ว่าได้เงินมาแล้วเอาไปใช้หมดแถมยังติดลบ เป็นหนี้บัตรเครดิต ใช้เงินเดือนชนเดือน เดือดร้อนก็ยืมคนอื่น ถ้าเป็นแบบนี้คงยากที่จะไปขั้นต่อไปได้ ดังนั้น ลองทำบัญชีรายรับ รายจ่ายดูว่าแต่ละเดือนมีเงินพอใช้ไหม เงินหมดไปกับอะไรบ้างที่ไร้สาระ สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ไหม เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ (เทคนิคออมเงินง่ายๆ แค่วันละ 20 บาท)
Step 2 : บริหารจัดการความเสี่ยง
บริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อมีเงินเหลือใช้แล้ว หลายคนใจร้อน ข้ามขั้นเอาเงินไปลงทุนเลย ใจเย็นๆก่อนนะครับ การจัดการความเสี่ยงก็เพื่อไม่ให้เงินที่เราเก็บได้หมดไป วัยรุ่นหลายคนยังคิดว่าสุขภาพเรายังแข็งแรงเลยลืมส่วนนี้ไป การเจ็บป่วยคือตัวการผลาญเงินที่สำคัญที่สุดของมนุษย์เรา ใครไม่เคยนอนโรงพยาบาล ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ คงไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายสูงขนาดไหน ป่วยธรรมดา 2-3 หมื่นก็ถือว่าเยอะแล้ว ถ้าป่วยหนักๆ อาจจะหมดเงินเป็นแสนบาทก็ได้ มีเพื่อนผมคนนึง ผ่าตัดไส้ติ่งหมดไปแสนกว่าบาทประกันสุขภาพจ่ายบางส่วน เงินเก็บหายไปกับตา ฉะนั้นก่อนจะข้ามขั้นไปลงทุน ลองหาแผนประกันสุขภาพที่พอจ่ายเบี้ยไหวไว้สักฉบับ เพื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้หรือเจ็บป่วย จะได้มีค่ารักษาพยาบาลไม่ต้องเอาเงินเก็บมาใช้
สำหรับผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ทีครอบครัว และมีประกันสุขภาพอยู่แล้วอาจจะดูว่าเรามีหนี้อยู่เท่าไหร่ ถ้าเราเป็นอะไรไป ใครจะใช้หนี้ต่อให้ ลูกจะได้เรียนต่อไหม ครอบครัวจะลำบากไหม การบริหารความเสี่ยงอาจจะเป็นการทำประกันชีวิต ประกันภัยให้มีวงเงินเพียงพอสำหรับการใช้หนี้เมื่อเราเป็นอะไรไป หรือทำเผื่อไว้เป็นเงินก้อนให้ลูก ให้ภรรยา ให้สามีไว้ตั้งหลัก (ประกันสุขภาพปกป้องเงินในกระเป๋า)
Step 3 : ออมเงินและลงทุน
ถึงเวลาลงทุนแล้ว หลังจากที่วางแผนรายรับ รายจ่ายได้แล้ว ทำให้เป็นวินัยสม่ำเสมอก็จะมีเงินเหลือใช้เพื่อไปลงทุนแน่นอน ส่วนการบริหารความเสี่ยงก็จัดการแล้วก็ไม่ต้องกลัวแล้วว่าถ้าเจ็บป่วยเงินเก็บที่เราทีอยู่จะถูกเอาไปใช้เพราะเรามีประกันคุ้มครอง เรามาดูกันต่อว่าจะลงทุนยังไงดี
ผมขอแบ่งการลงทุนเป็น 2 กลุ่มนะครับเพราะแม้ว่าการลงทุนคือการทำให้เงินงอกเงย แต่มันมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่ด้วย
- การลงทุนที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี เช่น สำหรับใครที่มีรายได้เยอะ เสียภาษีเยอะ การซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน SSF หรือ RMF นอกจากจะได้การลงทุนแล้วยังสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย แม้ว่าการซื้อประกันชีวิตอาจจะเอาไปลดหย่อนภาษีได้แต่ผลตอบแทนไม่สูงมากแต่ก็การันตีเงินคืนแน่นอน นอกจากนี้เราก็สามารถแบ่งไปซื้อกองทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนสูงและลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน
- ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุนรวม ข้อจำกัดของข้อ 1 การซื้อประกันชีวิตกับกองทุน SSF/RMF จะได้ผลตอบแทนและสิทธิ์ลดหย่อนภาษีก็จริง แต่ต้องถือไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าใครที่มีประกันและกองทุนเต็มวงเงินแล้ว ก็เปลี่ยนมาลงทุนในข้อ 2 ดีกว่าเพราะไม่ต้องมีเงื่อนไขของระยะเวลา และยังสามารถเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงและผลตอบแทนหลากหลาย ถ้าจำเป็นต้องใช่เงินก็สามารถขายกองทุนได้เลย
การลงทุนควรแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมทั้งสองข้อ ไม่เอาไปลงไว้ข้อใดข้อหนึ่ง เช่นเอาไปซื้อประกันหรือ SSF/ RMF หมดใช้ลดหย่อนภาษีได้ก็จริง เมื่อจำเป็นต้องใช้อาจจะถอนมาไม่ได้ หรือเอาไปซื้อหุ้นหมด ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี กองทุนติดลบเงินที่เรามีก็จะหายไปด้วย ต้องทิ้งไว้จนกว่ามันเศรษฐกิจจะดีและกองทุนเติบโตอีกครั้งซึ่งอาจใช้เวลานาน (ประกันชีวิตที่ได้ความคุ้มครองและลงทุนในกองทุนรวม)
Step 4 : วางแผนมรดกส่งต่อให้ลูกหลาน
ส่งต่อเงินก้อน ให้ลูกหลาน ในขั้นตอนนี้อาจจะเหมาะกับคนที่มีครอบครัว เกษียณแล้ว จะแบ่งเงินแบ่งสมบัติให้ลูก หลานยังไงดี
อย่าคิดว่าขั้นตอนที่เหมาะกับคนรวยที่มีเงินเป็นร้อยล้านอย่างเดียว คนมีเงินหลักแสนก็ควรรู้ครับ เคยเห็นมาแล้ว พ่อแม่มีเงิน 5 แสน เสียชีวิตไป ลูกต้องมานั่งแย่งเงินกัน แค่เงินหลักแสนนะครับ ยั่งวุ่นวายขนาดนี้ ดังนั้น การทำพินัยกรรม การวางแผนมรดกก็เป็นสิ่งที่สำคัญครับ
สมมุติว่าเรามีเงินไม่มากแต่มีลูกหลายคน แต่ละคนจะเอาเงินสดที่มีให้ก็คงไม่พอใช้ และจะแบ่งให้ไม่เท่ากันลูกก็จะหาว่าลำเอียง สิ่งที่จะเข้ามาช่วยได้ก็คือ ประกันชีวิตครับ
เพราะประกันชีวิตทุนประกัน 1 ล้าน เราไม่จำเป็นต้องมีเงินเป็นแสน หรือเป็นล้านมากองไว้ แต่ใช้แค่เงินเพียงเดือนละไม่กี่พันทหรือปีละไม่กี่หมื่นบาทก็สร้างมรดกเงินล้านไว้ให้ลูกได้ ที่สำคัญจะแบ่งให้ใครกี่เปอร์เซ็นต์ก็ขึ้นอยู่กับเราเอง เห็นว่าคนไหนจำเป็นก็ให้มาก เห็นว่าคนไหนพอมีแล้วก็ให้น้อย เมื่อเราเป็นอะไรไปบริษัทประกันจะจัดการให้เงินตามที่เราระบุไว้เอง ไม่ต้องกลัวว่าพวกเค้าจะมาแย่งกัน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสังเกตไหมครับว่าแต่ละ step นั้นมีอะไรเหมือนกัน ถ้าคิดไม่ออกผมเฉลยเลยนะครับ “ประกันชีวิต” อยู่ในเกือบทุก step ตั้งแต่ บริหารความเสี่ยง ลงทุน และส่งต่อมรดก ไม่ว่าเราอยากจะทำอะไร ขั้นตอนไหน ก็ล้วนมีประกันมาเกี่ยวข้องทั้งนั้นไม่มีทางหนี้พ้น
บางคนบอกว่าโหขั้นตอนเยอะขนาดนี้ใครจะทำได้ คนรวยเท่านั้นแหละ เพราะไม่มีปัญหาเรื่องเงิน อันนี้อาจจะเป็นข้ออ้างที่เราสร้างขึ้นมาเพราะไม่อยากทำ ลองปรับมุมมองความคิดใหม่ ว่าเราทำได้ เราจะเริ่มทำ และทำอย่างจริงจังรับรองว่าสำเร็จแน่นอนครับ เพราะวิธีนี้เป็นหลักวางแผนการเงินที่ทั่วโลกใช้กันแสดงว่ามันทำแล้วได้ผลและเป็นที่ยอมรับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713