สวัสดีครับทุกคน เคยเป็นกันไหมครับ บางครั้งมีอารมณ์อยากซื้อนู้น ซื้อนี้ทั้งที่ยังไม่รู้จะเอาไปใช้ทำอะไร บางครั้งอยากซื้อเสื้อผ้า อยากซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ทั้งที่คู่เดิมยังใช้ได้อยู่ บางครั้งอยากใช้เงินแต่หาเหตุผลไม่ได้ว่าจะใช้ทำอะไร ขอแค่ได้ใช้ถ้าทุกคนเคยเคยมีอารมณ์แบบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ

เพราะ…

ซูวี่ ออร์แมน โค๊ชการเงินชื่อดังระดับโลกบอกไว้ว่า “เมื่อเรามีความโกรธ เครียด หรืออารมณ์ด้านลบอื่นๆ ผุดขึ้นมาในหัว มันจะทำให้เราทำเรื่องที่ผิดปกติไป” เช่น การใช้เงินช้อปปิ้งแก้เครียดนั้นเอง ซึ่งคนเราก็ล้วนมีอารมณ์ดี อารมณ์เสียสลับกันไปบ้างเป็นธรรมดา อารมณ์เหล่านั้นล้วนมีผลกับการใช้เงินของเราทั้งสิ้น

ทำไมเราถึงใช้เงินกับการซื้อของทุกครั้งที่รู้สึกว่าอารมณ์ไม่ปกติ ลองดูตัวอย่างนี้กันครับ ถ้าตัดเรื่องการมีเงินเหลือใช้และเรื่องคุณภาพสินค้าออกไป

ทำไมเราต้องซื้อนาฬิกาเรือนละ 10,000 บาทในเมื่อนาฬิกาเรือนละ 1,000 บาทก็บอกเวลาได้เหมือนกัน
ทำไมเราต้องซื้อรองเท้าแตะ คู่ละ หลายพันทั้งๆ ที่รองเท้าคู่ละ 100 กว่าบาทก็สวมได้เหมือนกัน

นั่นก็เพราะ “เงินกับอารมณ์เรามันเป็นเรื่องเดียวกัน” จนแทบแยกไม่ออก เราอาจจะรู้สึกว่านาฬิกาที่แพงกว่ามีคุณค่ามากกว่า รู้สึกดีเวลาใส่หรือมีความสุข เราอาจจะรู้สึกสบายใจขึ้นที่ได้ซื้อของบางอย่าง

มันไม่ผิดที่ถ้าจะซื้อของบางอย่างถ้าเราใช้อารมณ์ของเราเป็นตัวตัดสินใจ เพราะคนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้นกันและหลักการตลาด หรือห้างต่างๆ ที่จัดโปรโมชั่นก็ล้วนกระตุ้นการซื้อสินค้าจากอารมณ์และความรู้สึกเราทั้งนั้น แทบไม่มีที่ไหนเลยจะมานั่งบอกคุณสมบัติและประโยชน์ของสินค้า น้อยครั้งมากที่เราจะซื้อของแล้วมานั่งคิดว่า ของชิ้นนี้มันจำเป็นไหมได้ใช้ประโยชน์รึป่าว

น้อยครั้งมากที่เราจะมาดูความจำเป็นในการซื้อของแต่ละอย่าง ส่วนใหญ่ล้วนซื้อเพราะความต้องการหรืออารมย์อยากได้และเราจะหาเหตุผลมาสนับสนุนว่ามันจำเป็น ของมันต้องมี

เพราะเหตุนี้เราจึงต้องพยายามประครองอารมณ์ของตัวเองให้ปกติจะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องการใช้เงินตามอารมณ์ไงละครับ

ในเมื่อ “เงินกับอารมรณ์เรามันเป็นเรื่องเดียวกัน” แล้วจะจัดการกับอารมณ์ตัวเองยังไงดีถ้าไม่อยากเสียเงินทุกครั้งเมื่อรู้สึกเครียด เบื่อ เหงา เศร้า

  1. เวลาอยากได้ของชิ้นไหน ถ้าเป็นของชิ้นเล็กๆ หลักร้อยก็จะไปดูที่ร้าน ถ้าจำเป็นก็จะซื้อเลย
  2. ถ้าเป็นของหลักพันมักจะจะไปดูครั้งแรกก่อนว่าเป็นยังไง แต่อาจจะยังไม่ต้องตัดสินใจซื้อเลย กลับบ้านมาก่อน รอดูว่าอารมณ์ตัวเองจะเปลี่ยนไปใหม่ ถ้ายังอยากได้ก็ค่อยกลับไปซื้อ
  3. ถ้าเป็นของหลักหมื่น อาจจะจะศึกษาข้อมูลในเว็บก่อน หาข้อมูลให้มากๆ แล้วถาม คำถามกับตัวเองว่า
    • อ่านรีวิวแล้วเป็นยังไงบ้างความรู้สึกตัวเองยังอยากได้อยู่ไหม
    • ของชิ้นน้ันจำเป็นไหมรอก่อนหรือซื้อเลย
    • มีเงินพอซื้อไหมไม่ใช่หมายถึงรูดบัตรแล้วผ่อนเอาโดยไม่มีเงินสำรอง
    • มีโปรโมชั่นหรือส่วนลดอะไรที่จะลดราคาได้อีกบ้าง
  4. ถ้าบังเอิญไปเดินห้างแล้วเป็นของชิ้นเล็กๆ ราคาไม่แพงและอยากได้มาก่อนแล้วก็อาจจะซื้อเลย

ผมเชื่อว่าหลายคนก็คงเคยเผลอใช้เงินไปกับอารมณ์มากกว่าเหตุผล แต่ทั้งนี้เงินกับอารมณ์มันก็แยกออกจากกันได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องเสียเงินเพราะอารมณ์ที่ไม่ปกติเสมอ ถ้าเราคิดให้เยอะๆ

รู้แบบนี้แล้วว่าเงินไม่ใช่ตัวเลขแต่มันผูกอยู่กับอารมณ์ของเรา ถ้าจะช้อปปิ้งครั้งหน้าก็อาจจะต้องคิดให้ดี ทบทวนดูหลายๆ รอบไม่ตกเป็นเหงื่อของการตลาดที่กระตุ้นอารมณ์ความอยากของเรานะครับ ถ้าชอบบทความนี้ฝากกดไลท์ กดแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันด้วยนะครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713