ถ้าวันนี้ทุกคนอายุ 30 แล้วเราคือเพื่อนกัน ถ้าเราเป็นเพื่อนกันเราก็คงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งๆ ดีเหมือนกับที่เราได้ จริงไหมครับ??

“ประโยคนี้คือคำพูดที่ผมได้บอกไว้กับเพื่อน ว่าพวกเมิง (ขออนุญาติใชคำหยาบเพื่อให้ได้อถรรถเหมือนตอนที่คุยกับเพื่อนครับ) ควรเริ่มเก็บเงินได้แล้วนะ ไม่ใช่มัวแต่ใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด เนี่ย แป้บๆ ตอนนี้พวกเราก็อายุ 30 แล้ว เวลาผ่านมาไวมาก และเวลาไม่เคยรอ อีกไม่นานก็คง 35 40 45 50 55 60 แล้วก็เกษียณ ถ้าไม่เริ่มออมเงินวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่วะ

อีกอย่างนึงอย่างน้อยตอนแก่ไป อยากไปเที่ยวไหนด้วยกันก็ยังมีเงินที่เราเก็บนี้ไปเที่ยวเดียวไง ถ้ามีแต่กุเก็บคนเดียว ไปเที่ยวคนเดียวมันก็เหงาสิว่ะ อยากให้เพื่อนไปด้วย ขนาดตอนนี้พวกเราทำงานมีเงินกัน บ้างครั้งจะเที่ยวทีก็ต้องวางแผนเก็บเงินกันก่อน แต่พอถึงตอนนั้นงานก็ไม่มีให้ทำแล้วไม่เริ่มเก็บตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน”
เรื่องที่คุยกับเพื่อนตอนนี้กลายเป็นว่าเรื่องเก็บเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัวเรื่องลูก เรื่องเก่าๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่คุยเรื่องเรื่องเที่ยวกัน

ตามทฤษฏีว่ากันว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 10% ของรายได้ที่ได้ต่อเดือน ถ้ารายได้เยอะก็ออมเยอะ ถ้ารายได้น้อยก็ออมน้อย รายได้เฉลี่ยของคนอายุ 30 ปีทำงานบริษัทเอกชน ที่ได้ฟังมาส่วนใหญ่ก็มีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า ฉะนั้นเงินที่เราควรออมก็อยู่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน

แต่จะว่าไปแล้วออม 3,000 บาทต่อเดือนก็สูงเหมือนกันนะครับ ด้วยค่าใช้จ่ายชีวิตคนเมืองทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากินอยู่ สังสรรค์ หากเก็บเงิน 3,000 บาทต่อเดือนก็คงไม่พอแน่ แต่เชื่อไหมครับมีคนทำได้และออมได้มากกว่านั้น เหตุผลที่เค้าทำได้เพราะ .. “มีเป้าหมายในการออม”

ทุกคนเคยสังเกตตัวเองไหมว่าทำไหมเราทำอะไรบางอย่างถึงไม่สำเร็จสักทีแล้วทำไมบางคนทำอะไร หยิบอะไรก็สำเร็จไปหมด ไม่ต้องเดาครับผมไปถามมาให้แล้ว เพราะพวกเค้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนและวินัยในตัวเอง

การออมเงินก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีเป้าหมายที่จัดเจน มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ เราก็สามารถออมให้สำเร็จตามที่ต้องการได้ ลองตั้งเป้าหมายดูสิครับ ว่าในอีก 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้าตอนเกษียณ อยากมีเงินก้อนสักเท่าไหร่ แล้วเราจะต้องทำยังไงให้เป้าหมายสำเร็จ

ผมว่ามันเป็นช่วงเวลาที่กำลังเหมาะที่จะเริ่มออมเงินในตอนนี้ เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนมีแรงในการทำงานหาเงิน เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนรับความเสี่ยงได้ เป็นช่วงเวลาที่จะให้เงินที่เราหามาได้ทำงานและงอกเงิน ถ้าไม่เริ่มตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหนละ

เริ่มออมยังไงดี

ถ้าสมมติว่าทุกคนเงินเดือน 30,000 บาทและออม 10% ของเงินเดือนเท่ากับ 3,000 บาทจะออมยังไงให้ได้ตามเป้าดี บางคนซื้อกองทุน บางคนฝากธนาคาร บางคนซื้อหุ้น สามารถเลือกออมตามหลักทรัพย์ที่ตัวเองมีความเข้าใจ แต่ถ้าเป็นคนไม่มีวินัยละจะทำยังไงดี เพราะวิธีการออมที่บอกไปไม่มีใครบังคับ เราต้องบังคับตัวเองล้วนๆ วันไหนหมดกำลังใจก็เลิกแล้วทิ้งไปไม่สำเร็จสักที

ออมกับประกันแบบสะสมทรัพย์สิได้บังคับตัวเอง

ตัวช่วยที่ผมมักแนะนำให้คนที่ไม่มีวินัยในการเก็บเงินหรือเก็บเงินไม่เก่ง แต่อยากเก็บให้ได้ก็คือการออมกับประกันชีวิตเพราะมันคือรายจ่ายที่มีประโยชน์กับเราในอนาคต ได้บังคับให้เราต้องเก็บเงินก่อนใช้และถ้าใช้เสียภาษีก็เอาไปลดหย่อนได้ด้วย

แชร์ไอเดียการออม

วันนี้ขอมาแชร์ไอเดียการออมเงินของตัวเองและจากที่ได้นั่งคุยกับเพื่อนๆ ว่ามีการออมแบบไหนบ้าง ซึ่งการออมแต่ละแบบก็ต้องดูนิสัยส่วนตัวด้วย โดยตัวผมเองเป็นคนที่ใช้เงินค่อนข้างเก่ง แต่ก็เก็บเงินเก่งด้วย บางทีมีเงินออมที่เอาออกมาใช้ได้ง่ายพออยากได้อะไรก็ถอนเอามาใช้ รู้จักตัวเองแบบนี้จึงเลือกออมเงินส่วนใหญ่ไปกับประกันชีวิตเพราะถอนมาใช้ได้ยากและออมในสินทรัพย์อื่นๆ ด้วย เช่น

  1. ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น
    แผนนี้ซื้อมาได้ประมาณ 4 ปีแล้วตอนนั้นผลตอบแทนค่อนข้างดี ได้เงินคืนทุกปี ครบสัญญา 14 ปีก็ได้เงินก้อนทำไว้เพื่อลดหย่อนภาษีซึ่งตอนนี้ปิดไปแล้ว
  2. ประกันสุขภาพ
    ทำไว้เป็นการคุ้มครองเงินเก็บเงินที่มีอยู่ เนื่องจากตัวเองเป็นตัวแทนประกันชีวิต ไม่ได้มีสวัสดิการประกันกลุ่มเหมือนเพื่อนๆ ที่ทำงานประจำ และสิทธิรักษาประกันสังคมของตัวเองก็หลุดไป จึงต้องมีประกันสุขภาพไว้ เพื่อจะได้ไม่ลำบากตอนไม่สะบาย ไปรักษาโรงพยาบาลเอกชนได้ และที่สำคัญมีค่าชดเชยนอนโรงพบาบาลอีกคืนละ 4,000 บาทด้วย (ดูแผนนี้)
  3. แผนรับเงินบำนาญหลังเกษียณ
    นอกจากผมจะไม่มีประกันกลุ่มเหมือนเพื่อนๆ แล้วยังไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ใช้ตอนแก่เหมือนเพื่อนๆ ด้วยเลยต้องหาช่องทางเก็บเงินที่เอาใช้หลังเกษียณนั่นก็คือการออมแบบระยะยาว โดยมองว่าแผนนี้เหมือนกองทุนสำรองชีพชีพที่ออมทุกเดือนและที่สำคัญได้เงินก้อนตอนอายุ 60 ปีและรับเงินคืนไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 90 ปีเลย รวมแล้วจะได้เงินคืนกว่า 2,800,000 บาท (ดูแผนนี้)
  4. บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง
    บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงผมเลือกเก็บไว้ที่ Kept เพราะให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปีและยังได้ดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือนด้วย โดยบัญชีนี้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินเก็บไว้รอใช้จ่าย เช่น พักเงินไว้รอจ่ายเบี้ยประกัน หรือรอซื้อของที่อยากได้ (ดูรายละเอียด)
  5. กองทุนรวม
    สำหรับกองทุนรวมเป็นการลงทุนเพื่อมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่มากกว่าประกันสะสมทรัพย์และไม่ได้เป็นระยะยาวมากอาจจะ 1-2 ปีถ้าได้ผลตอบแทนสูงก็ขาย เนื่องจากผมเป็นผู้แนะนำการลงทุนและมีใบอนุญาติจาก กลต. ด้วยจึงต้องศึกษาการลงทุนที่หลากหลาย การลงทุนหรือเก็บเงินไว้ในนี้เพื่อศึกษาข้อมูลเรื่องตลาดของกองทุนรวม ประเภทกองทุน ถ้าเราได้ศึกษา ได้ลงมือทำ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง น่าจะเป็นประโยชน์ที่นำไปแบ่งปันให้กับลูกค้าได้ดีกว่า อีกอย่างผมเรียกว่าเป็นการเก็บเงิน ลงทุนที่ช่วยกระตุ้นการทำงานหัวใจ เพราะบางครั้งตลาดผันผวนติดลบ บางช่วงตลาดขาขึ้นเป็นบวกทั้งพอร์ตก็ดูน่าตื่นเต้นดี ข้อดีอีกอย่างของกองทุนรวมคือเราไม่ต้องมีเงินเยอะก็สามารถลงทุนได้ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน และลงทุนในกองทุนต่างประเทศได้ด้วย
  6. ประกันชีวิตควบการลงทุน
    จากที่มีความรู้เรื่องกองทุนรวมและลงทุนไปแล้วมีข้อเสียตรงจุดหนึงคือพอได้เห็นผลตอบแทนที่สูงของกองทุนก็อดใจที่จะขายไม่ได้ ทำให้เป้าหมายที่อยากได้ผลตอบแทนสูงกว่าประกันสะสมทรัพย์และเก็บเงินระยะยาวล้มเลิกไป จึงมาทำตัวประกันชีวิตควบการลงทุนเพิ่ม เพราะเห็นว่าเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงมากกว่าประกันแบบเดิมแต่จ่ายเบี้ยน้อยกว่าแค่เพียงเดือนละ 3,000 บาทเลือกคุ้มครอง 2,000,000 บาทได้ ที่สำคัญเบี้ยที่จ่ายพอหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปลงทุนในกองทุนรวมให้ด้วยและมีการจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงด้วย ต่างจากกองทุนรวทที่ผมลงไว้ไม่ได้จัดพอร์ตกระจายการลงทุนเลยเน้นในตราสารทุนต่างประเทศเกือบทั้งหมด จึงถือว่าแผนนี้เอาไว้เป็นทุนชีวิตสูงบวกกับการลงทุนในกองทุนรวมระยะยาวที่มีการกระจายการลงทุนและนำมาใช้ในอนาคต (ดูแผนนี้)

มาถึงตอนนี้แล้วผมคงบอกได้แค่แนะนำทางเลือกหนึ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับทุกๆ แต่เป้าหมายขอทุกคนจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราพร้อมจะเริ่มหรือยังและจริงจังมากแค่ไหน ขอให้ทุกคนสู้ๆ ครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713