ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราทำงานทุกวันนี้ก็เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณใช่ไหมครับ ตอนนี้ใครยังทำงานใช้เดือนชนเดือนหรือใช้หนี้บัตรเครดิตอยู่จนไม่มีเงินเก็บอยู่ อาจจะต้องคิดหนักขึ้นเพราะระยะเวลาการทำงานที่น้อยลงไปทำให้เราต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณในแต่ละเดือนมากขึ้น

ทุกคนเคยคิดหรือวางแผนกันหรือไม่ว่าในวันที่เกษียณจะต้องมีเงินเท่าไหร่จะพอใช้และตอนนี้นี้มีเงินเท่าไหร่แล้ว ขาดอีกเท่าไหร่ที่จะต้องหาเพิ่ม

ตัวอย่างคำนวณเงินออมแบบไม่คิดผลตอบแทน

สมมติง่ายๆ คำนวณโดยไม่คิดเรื่องผลตอบแทนที่ควรได้ หรือการลงทุนนะครับ เมื่อ 30 ปีก่อนกินข้าวราดแกงจานละ 20 บาท ตอนนี้ขึ้นเป็นจานละ 50 บาท ราคาขึ้นมา 1.5 เท่า ฉะนั้นเมื่ออายุ 60 ปี ข้าวราดแกงน่าจะประมาณจานละ 75 บาท ( อาจจะสูงกว่านี้ได้)

ฉะนั้นในวันที่เรามีอายุ 60 อยู่ไปจนถึง 85 ปี รวม 26 ปี กินข้าวปีละ 365 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 2,135,250 บาท หู้วววววว เยอะอะไรขนาดนั้น นี่แค่ค่าอาหารธรรมดาๆ นะครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินอีก ถ้าวันนี้คุณอายุ 30 ปี แสดงว่ามีเวลาอีก 30 ปีจะอายุ 60 ปีจะต้องเก็บเงินปีละ 71,175 บาท หรือเดือนละประมาณ 5,931 บาท (โดยยังไม่ได้คำนวณอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนจากการลงทุน)

แต่ถ้าวันนี้คุณณอายุ 40 ปี ยังไม่มีเงินเก็บเลยจะเหลือเวลาเก็บเงินเพียงแค่ 20 ปีจะต้องเก็บปีละ 106,762 บาทหรือประมาณเดือนละ 8,896 บาทเลยทีเดียว ถ้าพอมีเงินเก็บแล้วก็ลองหักลบดูนะครับ แต่ถ้าวันนี้อายุคุณเพิ่มเป็น 45 ปีระยะเวลาการทำงานและเก็บเงินจะน้อยลงเหลือแค่ 15 ปีแสดงว่าจะต้องเก็บเงินต่อเดือนมากขึ้นไปอีก

ตัวอย่างการวางแผนเงินให้พอใช้หลังเกษียณ

ผมใช้โปรแกรม FNA หรือ Financial Needs Analysis ของเมืองไทยประกันชีวิตในการคำนวณและวางแผนเงินสำหรับเป้าหมายเกษียณว่าจะต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ โปรแกรมนี้ไม่ได้มีแค่วางแผนเกษียณแต่ยังมีวางแผนเป้าหมายอื่นๆ อีก เช่น แผนปกป้องคนที่คุณรัก, แผนออมเงินตามเป้าหมาย, แผนคุ้มครองการศึกษา, แผนลดหย่อนภาษี, แผนมรดก  ในบทความนี้ลองมาดูว่าถ้าเราวางแผนการเงินสำหรับเป้าหมายเกษียณจะต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่ตามตัวอย่างครับ

ตัวอย่าง 1 เริ่มออมเงินตอนอายุ 30 ปี

  • A อายุ 30 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี คาดว่าอายุยืนไปจนถึง 85 ปี
  • A จะมีระยะเวลาออมเงิน/ลงทุนก่อนเกษียณ 30 ปี และจำนวนเงินที่ใช้ช่วงเกษียณ 25 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี
  • หลังเกษียณ A วางแผนว่าจะใช้เงิน 15,000 บาทต่อเดือน
  • ดังนั้นจำนวนเงินที่ A ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณที่ได้จากการทำ FNA เท่ากับ 10,922,682 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 3% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 30,340 บาท  (เงินเฟ้อเท่ากับผลตอบแทน)
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 5% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 22,436 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 8% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 13,700 บาท

ตัวอย่าง 2 เริ่มออมเงินตอนอายุ 35 ปี

  • A อายุ 35 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี คาดว่าอายุยืนไปจนถึง 85 ปี
  • A จะมีระยะเวลาออมเงิน/ลงทุนก่อนเกษียณ 25 ปี และจำนวนเงินที่ใช้ช่วงเกษียณ 25 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี
  • หลังเกษียณ A วางแผนว่าจะใช้เงิน 15,000 บาทต่อเดือน
  • ดังนั้นจำนวนเงินที่ A ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณที่ได้จากการทำ FNA เท่ากับ 9,422,001 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 3% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 31,406 บาท (เงินเฟ้อเท่ากับผลตอบแทน)
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 5% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 24,513 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 8% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 16,451 บาท

ตัวอย่าง 3 เริ่มออมเงินตอนอายุ 40 ปี

  • A อายุ 40 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี คาดว่าอายุยืนไปจนถึง 85 ปี
  • A จะมีระยะเวลาออมเงิน/ลงทุนก่อนเกษียณ 20 ปี และจำนวนเงินที่ใช้ช่วงเกษียณ 25 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี
  • หลังเกษียณ A วางแผนว่าจะใช้เงิน 15,000 บาทต่อเดือน
  • ดังนั้นจำนวนเงินที่ A ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณที่ได้จากการทำ FNA เท่ากับ 8,127,501 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 3% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 33,864 บาท (เงินเฟ้อเท่ากับผลตอบแทน)
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 5% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 27,875 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 8% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 20,483 บาท

ตัวอย่าง 4 เริ่มออมเงินตอนอายุ 45 ปี

  • A อายุ 45 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี คาดว่าอายุยืนไปจนถึง 85 ปี
  • A จะมีระยะเวลาออมเงิน/ลงทุนก่อนเกษียณ 15 ปี และจำนวนเงินที่ใช้ช่วงเกษียณ 25 ปี อัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี
  • หลังเกษียณ A วางแผนว่าจะใช้เงิน 15,000 บาทต่อเดือน
  • ดังนั้นจำนวนเงินที่ A ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณที่ได้จากการทำ FNA เท่ากับ 7,010,854 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 3% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 38,949 บาท (เงินเฟ้อเท่ากับผลตอบแทน)
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 5% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 33,783 บาท
  • ถ้าต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายให้พอกับความต้องการ โดยลงทุนในอัตราผลตอบแทน 8% จะต้องออมเพิ่มอีกเดือนละ 27,074 บาท

สรุปว่า

1. ถ้าเราไม่เริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ มัวแต่คิดว่าเหลือเวลาอีกนาน เดี่ยวอายุ 40 ปียังทัน ก็จะเหมือนกับตัวอย่างที่อาจจะต้องเก็บแต่ละเดือนมากกว่าคนอายุ 30 ปีและอาจจะต้องลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงเพื่อให้ยอดเก็บแต่ละเดือนน้อยลง
2. ตัวอย่างนี้ผมคำนวณการออมเงินโดยไม่ได้คิดผลตอบแทนและการลงทุนหรือผลตอบแทน 3% ที่เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ ฉะนั้นถ้าเรารู้จักเก็บออมแล้วยังต้องรู้เรื่องลงทุนด้วย เมื่อเรานำเงินที่ออมได้ไปลงทุนที่มีผลตอบแทนที่ยิ่งสูงกว่าเงินเฟ้อตามตัวอย่างผลตอบแทน 5% และ 8% ก็จะทำให้เงินที่เราต้องออมน้อยลงครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713