ก่อนที่ทุกคนจะเริ่มลงทุนอยากให้มารู้จัก 3 ข้อต่อไปนี้ซึ่งเป็น 3 ข้อที่มีความสำคัญและสัมพันธ์กันถ้าเรารู้และนำไปประยุกต์ใช้และวางแผนการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง รับรองว่าการออมเงินให้ถึงเป้าที่ตั้งใจไว้ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
1.รู้จักการเก็บเงินและการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
การลงทุน/เก็บเงินในสินทรัพย์ต่างๆ นั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ฝากเงิน ประกันชีวิต สลากออมสิน/ธกส. พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ น้ำมัน คริปโต ซึ่งการลงทุนในแต่ละแบบก็ล้วนให้ผลตอบแทนที่ต่างกันและมีความเสี่ยงที่ต่างกันด้วย การฝากเงินไว้ในธนาคารอาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่สูง และคนที่เลือกทางนี้ก็เพราะรับความเสี่ยงสูงมากไม่ได้ สบายใจกว่าเมื่อเห็นเงินต้นยังคงอยู่
บางคนเลือกลงทุนในหุ้นเพราะต้องการผลตอบแทนที่สูงซึ่งก็ต้องยอมรับในความผันผวนที่สูงขึ้น อาจจะมีขึ้นมีลง ถ้าเป็นการลงทุนในระยะยาวหรือกระจายการลงทุน มีความรู้เรื่องการลงทุนที่ดีก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากๆ
มีสำนวนหนึ่งบอกไว้ว่า “การมีตะกร้าใส่ไข่ใบเดียว เมื่อตะกร้าตก ไข่ก็แตกหมด เช่นเดียวกับเงิน ถ้าเก็บเงินไว้ที่เดียวทั้งหมดก็มีความเสี่ยงเช่นกัน การฝากไว้กับธนาคารเกินความจำเป็นก็มีความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น หรือนำเงินไปลงทุนในหุ้นทั้งหมดก็เสี่ยงต่อความผันผวน การกระจายเงินไว้ในหลากหลายสินทรัพย์จึงเป็นการทางเลือกหนึ่งในการกระจายความเสี่ยง”
การลงทุนหรือเก็บเงินนั้นจึงมีให้เลือกหลากหลายตามความชอบ/ความเสี่ยง/ความรู้ ที่เราถนัดไม่มีผิดมีถูก
ทั้งนี้ก็ต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เรามีความรู้และเชื่อมั่นด้วย ไม่ใช่เห็นว่า สินทรัพย์นั้นผลตอบแทนสูงมากแต่เราไม่มีความรู้เลย พอเอาเงินไปลงทุนก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ กลัวเงินต้นหาย
2. รู้จักเป้าหมายการลงทุน
เป้าหมายการลงทุนหรือเก็บเงิน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
- เป้าหมายระยะสั้น เช่น 3-5 ปีเราจะใช้เงินก้อนนี้สำหรับทำอะไร เช่น เรียนต่อ ไปเที่ยวต่างประเทศ ดาวน์รถ ซื้อคอนโด/บ้าน ค่าเทอมลูก เป้าหมายระยะสั้นจึงควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะต้องรีบนำเงินนี้ออกมาใช้ พอถึงเวลาต้องใช้เงินตอนนั้น เงินต้นก็ยังอยู่ครบและยังมีผลตอบแทนเล็กๆน้อยๆ เพิ่มมาด้วย เช่น บัญชีสะสมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงหรือประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นที่บางบริษัทเปิดขายบางช่วง
- เป้าหมายระยะกลาง 10 ปี เราจะใช้เงินก้อนนี้สำหรับทำอะไร เช่น อาจจะเป็นซื้อบ้านหลังใหม่ คนที่เพิ่งจบก็อาจจะใช้เงินก้อนนี้สำหรับซื้อคอนโดห้องแรกในช่วงอายุ 30 ต้นๆ หรือเป้าหมายอื่นๆที่ต่างกันของแต่ละคน สินทรัพย์ที่ลงทุนได้ก็ควรให้ผลตอบแทนสูงขึ้น (มีความผันผวนสูงขึ้น) เช่น หุ้น กองทุนรวม หรืออาจจะเป็นประกันสะสมทรัพย์ระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่มีการการันตีเงินต้นและบริษัทนำไปลงทุนมีโอกาสได้เงินปันผลเมื่อครบสัญญาด้วย
- เป้าหมายระยะยาว อาจจะเป็นหลังเกษียณหรือในอีก 20 ปีข้างหน้าในช่วงที่หยุดทำงานแล้วแต่ยังต้องใช้เงินอยู่ แน่นอนว่ารายจ่ายเรายังต้องเดินต่อไป การลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แม้ว่าในช่วงระว่างทางจะผันผวน อาาจะได้กำไรสูงหรือติดลบบ้าง เราก็ยังถือต่อได้เพราะไม่รีบนำมาใช้ และที่สำคัญควรเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่เอาออกมาใช้ยาก เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF หรือประกันบำนาญ เพราะ ถ้าเอาไว้ในที่เอาออกมาใช้ง่าย อาจจะเผอเอาไม่ใช้จนหมด จนออมไม่ถึงเป้าตอนเกษียณ
สุดท้ายแล้ว แม้จะมีเป้าหมายทางการเงินทั้ง 3 แบบแล้ว ไม่จำเป็นว่าเราจำต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่ง แต่สามารถทำได้ทั้ง 3 แบบเลย แค่ดูว่าเป้าหมายที่เราจะทำสิ่งนั้นๆ อยู่ในระยะไหน และที่สำคัญคือการการจายการลงทุนด้วย เหมือนที่ได้เขียนไว้ด้านบนเรื่อง เก็บไข่ไง้ในตะกร้าใบเดียว และการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เราชอบและมีความรู้ ไม่ใช่เห็นว่าสินทรัพย์นั้นได้ผลตอบแทนสูงก็เอาเงินไปลง แล้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ
3. รู้จักผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยง
ในหลักทรัพย์ที่เปิดขาย ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรของรัฐบาล หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นกู้บริษัทเอกชน บลาๆ ต่างก็ให้ผลตอบแทนต่างกันและมีความเสี่ยงต่างกันด้วย ทุกคนจะเห็นว่า การฝากเงินไว้ในธนาคาร เงินต้นเรายังอยู่ครบ แต่ผลตอบแทนไม่ได้สูงเลย อัตราดอกเบี้ยก็ประมาณ 0.25% ฝากประจำก็ประมาณ 1-2%
พันธบัตรรัฐบาล ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะรัฐบาลมีโอกาสมีนัดชำระหนี้น้อย รัฐบาลยังมีรายได้แน่นอนจากการจัดเก็บภาษี เมื่อรัฐบาล ออกพันธบัตรมา ผลตอบแทนก็ไม่ได้สูงมาก ตัวอย่างพันธบัตรรัฐบาลที่ขายช่วงเดือนกรกฎาคมที้ผ่านมาจ่ายผลตอลแทจเป็นดอกเบี้ย ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี ปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 1.70% ต่อปี ปีที่ 3 อัตราดอกเบี้ย 1.90% ต่อปี
หุ้นกู้ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อรวบรวมเงินทุนไปขยายธุรกิจ แน่นอนว่าบริษัทเอกชนทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่า จึงต้องให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล (ถ้าให้ผลตอบแทนเท่ากับพันธบัตรรัฐบาลแต่ความความเสี่ยงสูงกว่าก็ไม่มีใครอยากไปลงทุนใช่ไหมละครับ) ผลตอบแทนก็จะเป็นดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 3-5% ต่อปีขึ้นอยู่กับบริษัท
นอกจากหุ้นกู้จะเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเช่น เงินฝากและพันธบัตรแล้ว ยังมีการเปรียบเทียบกับหุ้นกู้กันได้อีกด้วย เช่น เอาหุ้นกู้ บริษัท A เทียกับบริษัท B ในส่วนของผลตอบแทนแล้วบางคนยังเทียบความน่าเชื่อถือด้วย เรียกว่า อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ จะมีระบุในเอกสารเสนอขายเลย อันนี้ขอไม่อธิบายเพราะมันเยอะ ลองไปหาอ่านได้ครับ
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงใกล้เคียงกับเงินฝาก โดยมี คปภ. ดูแลและควบคุมอีกที มีการกำหนดว่าสามารถนำเบี้ยประกันที่รับมาไปลงทุนได้กี่เปอร์เซ็นต์และต้องเหลือไว้เป็นทุนสำรองกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีการการันตีผลตอบแทนแน่นอนตามตารางเหมาะกับการเก็บเงินในช่วงที่ดอกเบี้ยมีความผันผวน ขึ้นๆ ลงๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่กำลังเริ่มลงทุน หรือคนที่กำลังหาความรู้เพิ่มเติมนะครับ ทั้ง 3 ข้อข้างบน ไม่ว่าจะเป็นประเภทสินทรัพย์ต่างๆ เป้าหมาย 3 ระยะอัตราผลตอบแทนมันสัมพันธ์กันหมด
ที่สำคัญเวลาคนมาถามว่ามีประกันแผนไหนดีไหม หรือกองทุนไหนเด็ดๆรึป่าว อู๋ไม่เคยส่งแผนให้เลย เพราะอย่างที่เล่าไปข้างบน ดีในแบบแต่ละคนไม่เหมือนกัน เป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องได้รู้เป้าหมายก่อนว่าอยากทำไปเพื่ออะไรจะได้แนะนำให้ถูกและเหมาะสม
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713