เคยไหมครับทำงานมาทั้งปีไม่เคยเช็คเลยว่าภาษีที่เราเสียเท่าไหร่ รู้แค่ว่าเงินเดือนเข้า บริษัทหักไว้และได้เงินมาใช้ หรือแค่ตอนยื่นไม่เสียเพิ่มก็ดีใจแล้ว หลายคนยังไม่รู้ว่าเราที่สิทธิ์ที่จะได้ภาษีที่เราจ่ายคืนมา ถ้าเรารู้จักวางแผนและใช้สิทธิลดหย่อน ตามที่สรรพกรกำหนด

อยากจะเปรียบเทียบให้ทุกคนดูว่าถ้าเราไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเลย กับใช้สิทธิบางส่วนที่ได้เช่น ซื้อประกัน ซื้อกองทุน ภาษีที่เราเสียจะต่างกันแค่ไหนมาดูครับ

ลองมาคำนวณภาษีที่ต้องเสียต่อปีแบบง่ายๆกันนะครับ

  • คุณธร เงินเดือน 80,000 บาท รายได้ต่อปีรวม 960,000 บาท
  • มีค่าลดหย่อน 60,000 บาทและค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาทรวม 160,000 บาท
  • นำเงินที่จ่ายประกันสังคมปีละ 9,000 บาทมาลดหย่อนได้
  • ออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 96,000 บาท 10% ของเงินเดือน)
  • คุณธรจะเหลือเงินได้สุทธิ 695,000 บาทที่นำไปคำนวณภาษี

เงินได้จะแบ่งเป็นขั้นดังนี้

  • ขั้นที่ 1 – เงินได้ 150,000 บาทไม่เสียภาษี
  • ขั้นที่ 2 – เงินได้ 150,001-300,000 บาทเสียภาษี 5% คิดเป็นเงิน 7,500 บาท
  • ขั้นที่ 3 – เงินได้ 300,001-500,000 บาทเสียภาษี 10% คิดเป็นเงิน 20,000 บาท
  • ขั้นที่ 4 – เงินได้ 500,001-750,000 บาทเสียภาษี 15% แต่ในขั้นนี้มีเงินได้แค่ 195,000 บาทคิดเป็นเงิน 29,250 บาท
    กรณีคุณธร ไม่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนหรือซื้อประกันชีวิต/กองทุนเลย ภาษีรวมที่คุณธรต้องเสียภาษีทั้งหมด 56,750 (7,500+20,000+29,250) บาทเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นเงินที่เยอะมากๆ

มาดูกันอีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าคุณธร วางแผนภาษีโดยการหาตัวช่วยลดหย่อนอื่นๆเพิ่มเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ดังนี้

  • ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ 100,000 บาท
  • ซื้อประกันบำนาญ 100,000 บาท
    รวมสิทธิ์ลดหย่อน 200,000 บาท

คำนวณภาษีใหม่ได้ว่า

  • คุณธร เงินเดือน 80,000 บาท รายได้ต่อปีรวม 960,000 บาท
  • มีค่าลดหย่อน 60,000 บาทและค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาทรวม 160,000 บาท
  • นำเงินที่จ่ายประกันสังคมปีละ 9,000 บาทมาลดหย่อนได้
  • ออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 96,000 บาท
  • สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตและประกันบำนาญ 200,000 บาท
    คุณธรจะเหลือเงินได้สุทธิ 495,000 บาทที่นำไปคำนวณภาษี

เงินได้จะแบ่งเป็นขั้นดังนี้

  • ขั้นที่ 1 – เงินได้ 150,000 บาทไม่เสียภาษี
  • ขั้นที่ 2 – เงินได้ 150,001-300,000 บาทเสียภาษี 5% คิดเป็นเงิน 7,500 บาท
  • ขั้นที่ 3 – เงินได้ 300,001-500,000 บาทเสียภาษี 10% แต่ในขั้นนี้มีเงินได้แค่ 195,000 บาทคิดเป็นเงิน 19,500 บาท กรณีคุณธร ใช้สิทธิ์ลดหย่อนหรือซื้อประกันชีวิตและประกันบำนาญ ภาษีรวมที่คุณธรต้องเสียภาษีทั้งหมด 27,000 บาท ลดลงมากจาแบบที่ไม่ใช่สิทธิอะไรเลย และยังได้เก็บเงินอีกด้วย เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ 2 ต่อ

จากทั้ง 2 ตัวอย่างจะเห็นว่า ถ้าคุณธร ไม่ได้มีการวางแผนภาษีโดยการหาตัวช่วยอื่นๆมาลดหย่อนจะเสียภาษีต่อปีสูงถึง 56,750 บาท แต่ถ้ามีตัวช่วยพวกประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน SSF จะช่วยประหยัดภาษีไปได้อีกเหลือจ่ายปีละ 27,000 บาท ที่สำคัญกว่าการประหยัดภาษีคือการมีเงินออมที่เพิ่มขึ้นปีละ 200,000 บาทเลยทีเดียว

เห็นประโยชน์แบบนี้แล้วหวังว่าทุกคนจะมาเริ่มวางแผนลดหย่อนภาษีกัน เพื่อใช้สิทธิ์ของตัวเองที่ได้รับกันนะครับ เริ่มวางแผนเร็วก็จะได้เตรียมตัวทัน ถ้าไปเริ่มปลายปีอาจจะงานยุ่ง จนไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลก็ได้นะครับ

ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์