วางแผนซื้อประกันลดหย่อนภาษีกับอู๋และเมืองไทยประกันชีวิต มีแผนไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูกันแบบไหนเหมาะกับเรา ปัจจุบันการออมเงินในประกันชีวิตหรือการซื้อประกันชีวิตสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ มี 3 แบบดังนี้ ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์, ประกันสุขภาพ, ประกันแบบบำนาญ
ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์
หลายคนสับสนว่าประกันชีวิตแบบไหนบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ คำตอบคือ ประกันชีวิตทั้งแบบตลอดชีพที่คุ้มครองยาวๆ ไปจนถึงอายุ 80 ปีหรือ 99 ปี หรือประกันชีวิตที่หลายคนเรียกว่าประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ลดหย่อนด้วยประกันสุขภาพได้ทั้งเงินภาษีคืนและได้ความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วย ซ่าได้ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่ว่าถ้ารวมกับประกันชีวิตแล้วต้องไปเกิน 100,000 บาท แต่ถ้าซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ก็เอาไปลดหย่อนได้อีก สูงสุด 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ครบ 100,000 บาท จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพไปรวมเพื่อลดหย่อนได้
- เบี้ยประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ 75,000 บาท + เบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท รวมกันแล้วครบ 100,000 บาทพอดี
- เบี้ยประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ 80,000 บาท + เบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท จะสามารถนำประกันสุขภาพไปใช้ลดหย่อนถาษีได้เพียง 20,000 บามเท่านั้น เพราะเมื่อรวมกันจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ 70,000 บาท + เบี้ยประกันสุขภาพ 30,000 บาท จะสามารถนำประกันสุขภาพไปใช้ลดหย่อนถาษีได้เพียง 25,000 บามเท่านั้น แม้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท แต่เบี้ยประกันสุขภาพใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทเท่านั้น
- เบี้ยประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ 60,000 บาท + เบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท จะสามารถนำประกันสุขภาพไปใช้ลดหย่อนถาษีได้เพียง 25,000 บามเท่านั้น เพราะเมื่อรวมกันแล้วยังไม่เกิน 100,000 บาท
ที่สำคัญเบี้ยประกันสุขภาพที่ใช้ลดหย่อนภาษีอยากให้ทุกคนมองว่าเป็นสิทธิเพิ่มพิเศษ แต่ใจความสำคัญของการทำประกันสุขภาพเพื่อโอนความเสี่ยงที่เราจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเมื่อไม่สบาย อุ่นใจเมื่อต้องไปโรงพยาบาลนะครับ
ประกันแบบบำนาญ
เบี้ยประกันแบบบำนาญสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื