ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าหนี้ โดย “ผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้” และ” ผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้” เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้  โดยผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทน

ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์ของกิจการที่เราถือได้เมื่อมีการเลิกกิจการ โดยแบ่งเป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น (ตราสารหนี้ในตลาดเงิน)

ตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้

  1. ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง
  2. ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย
  3. ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ OR จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป

ตราสารหนี้แบ่งตามสิทธิเรียกร้อง (เรียงจากสูงลงไปต่ำ) ดังนี้

  1. หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond)
  2. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Junior Bond)
  3. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
  4. หุ้นสามัญ (Common Stock)

ตราสารหนี้แบ่งตามหลักประกัน ดังนี้

  1. หุ้นกู้มีหลักประกัน (Secured Bond) มีสินทรัพย์ถาวรเป็นหลักประกันในการชำระหนี้
  2. หุ้นไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ วางไว้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้

ตราสารหนี้แบ่งตามชนิดสิทธิแฝง ดังนี้

  1. หุ้นกู้ไม่มีสิทธิแฝง (หุ้นกู้ปกติ)
  2. หุ้นกู้มีสิทธิแฝง
    • หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bond)
    • หุ้นกู้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกคืนก่อนครบกำหนด (Callable Bond)
    • หุ้นกู้ที่ผู้ถือมีสิทธิไถ่ถอนก่อนครบกำหนด (Puttable Bond)

ตราสารหนี้ระยะสั้น 

  • มีอายุไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี
  • มีสถาพคล่องสูง ขายคืนง่าย
  • ผู้ออกตราสารมีฐานะทางการเงินดี
  • มีความผันผวนไม่รุนแรง

ตัวอย่างตราสารหนี้ระยะสั้น

    • ตั๋วเงินคลัง
    • บัตรเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้
    • ตั๋วพาณิชย์ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ตั๋วแลกเงิน

ตราสารหนี้ระยะยาว

  • มีอายุมากกว่า 1 ปี
  • มีการระบะชื่อผู้ออก, ราคาตรา, วันครบกำหนดไถ่ถอน, อัตราดอกเบี้ย, งวดการจ่ายดอกเบี้ย

ตัวอย่างตราสารหนี้ระยะยาว

    • ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลเรียกว่า พันธบัตร มีความเสี่ยงต่ำเพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรรัฐบาล เช่น พันธบัตรเพื่อการลงทุน, พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม, พันธบัตรออมทรัพย์
    • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ มีแบบที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน
    • พันธบัตรภาครัฐอื่นๆ เช่น พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

ความเสี่ยงในการลงทุน

  • ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk) กรณีที่ผู้ออกตราสารนี้จะไม่จ่ายเงินคืนให้กับผู้ลงทุนตามกำหนดที่แจ้งไว้ (ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดย ออกโดยกระทรวงการคลัง มีความเสี่ยงประเภทนี้น้อยกว่าหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน)
  • ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)  ตราสารหนี้เป็นตราสารที่จ่ายดอกเบี้ยให้แน่นอน แต่ถ้าดอกเบี้ยของธนาคารเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารหนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยในทิศทางตรงกันข้าม
  • ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือไม่สามารถขายตราสารหนี้ในราคาและเวลาที่ต้องการได้

ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้

  1. กำไร/ขาดทุน จากการลงทุนในตราสารหนี้
  2. เงินที่ได้จากดอกเบี้ยรับ
  3. เงินได้จากส่วนลดหน้าตั๋ว

คำศัพย์เกี่ยวกับราคาตราสารหนี้

  • Premium Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ น้อยกว่า อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
    อัตราผลตอบแทนต้องการ (8%) < อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%)
  • Par Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
    อัตราผลตอบแทนต้องการ (10%) = อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%)
  • Discount Bond : อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ มากกว่า อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
    อัตราผลตอบแทนต้องการ (12%) > อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(10%)

ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ย

  • อัตราดอกเบี้ยในตลาด “เพิ่มขึ้น”
    • Price Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาตราสารหนี้) ลดลง
    • Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงในผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ) เพิ่มขึ้น
  • อัตราดอกเบี้ยในตลาด “ลดลง”
    • Price Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาตราสารหนี้) เพิ่มขึ้น
    • Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงในผลตอบแทนจากการลงทุนต่อ) ลดลง

5 เหตุผลที่ต้องลงทุนในตราสารหนี้

  1. ตราสารหนี้มีความเสี่ยงต่ำ
  2. ตราสารหนี้ได้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนและสม่ำเสมอ
  3. มีการกระจายความเสี่ยงได้มากกว่าลงทุนในหุ้นสามัญหรือฝากเงินธนาคาร
  4. สามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นได้ เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ
  5. เก็บเป็นเงินออมหรือมรดกให้ลูกหลานได้

ส่วนประกอบที่สำคัญในตราสารหนี้

  1. มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value) -> หน่วยละ 1,000 บาท
  2. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) -> อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.36 ต่อปี
  3. งวดการจ่ายดอกเบี้ย  (Coupon Frequency) -> ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน
  4. วันหมดอายุหรือวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Rate) -> ครบกำหนดไถ่ถอน พ.ศ. 2565
  5. ชื่อผู้ออก (Issuer) -> ธนาคารออมสิน
  6. ประเภทของตราสารหนี้ -> หุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ
  7. ข้อสัญญา (Convenants)

การลงทุนตราสารหนี้ทางตรง ผ่านตลาดรอง (TBX)

  1. เปิดบัญชีซื้อขายกับโบรกเกอร์
  2. ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์
    • ระบบ AOM : ไม่เกิน 10,000 หน่วย
      หรือ 10,000,000 บาท
    • ระบบ Trade Report : เกิน 10,000 หน่วย
      หรือ 10,000,000 บาทขึ้นไป
  3. โบรกเกอร์แจ้งยืนยันผลการสั่งซื้อขาย
  4. ชำระเงินและรับมอบหลักทรัพย์โดยค่าคอมมิชชั่นไม่เกิน 0.25% (ไม่รวม VAT)
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาด TBX
    • เวลาซื้อขาย :  ช่วงเช้า 10.00-12.30 น. ,ช่วงบ่าย  14.30 – 16.30 น.
    • หน่วยการซื้อขาย : 1 หน่วยการซื้อขายเท่ากับตราสารหนี้จํานวน 100 หน่วย
    • ช่วงราคา (spread) : 0.01 บาท
    • มูลค่าการซื้อขายต่อคําสั่งขั้นต่ำ : 100 หน่วย หรือ 100,000 บาทและทวีคูณ 100 หน่วย
    • การส่งมอบและการชําระราคา : T+2

จากที่อ่านรายละเอียดมาทั้งหมดนี้ หลายคนคงจะบอกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะมีทั้งคำศัพท์ ความเสี่ยง ผลตอบแทนและการคำนวณที่ต้องศึกษาเยอะไปหมด แต่ผมมีอีกช่องทางสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนหรืออมเงินในตราสารหนี้แนะนำ ที่สะดวกกว่า เข้าใจง่ายกว่า รวดเร็วกว่านั่นก็คือ การลงทุนใน “กองทุนรวมตราสารหนี้”

การลงทุนตราสารหนี้ทางอ้อม ผ่านกองทุนรวมตราสารหนี้

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากทำประกันชีวิตเพื่อเป็นมรดกไว้ให้คนที่รัก อยากทำประกันสะสมทรัพย์ไว้เพื่อออมเงินหรือลงทุน แต่ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัะย์แบบเดิมๆ อาจจะได้ผลตอบแทนไม่ตรงกับที่ต้องการ หรือสำหรับคนที่อยากลงทุนในตราสารหนี้เพราะอยากเป็นเจ้าของกิจการหรือการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากแต่ไม่ถนัดเรื่องการซื้อตราสารต่างๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร หรือหุ้นกู้ของเอกชน สามารถเลือกลงทุนได้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้เสนอขายและยังมีผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการให้ แต่ถ้าอยากได้ทั้งประกันชีวิตที่คุ้มครองและเราก็ยังสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้ได้ ขอแนะนำกองทุนรวมตราสารหนี้จากพอร์ตแบบประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิตดังนี้ครับ

  • กองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K Cash Management Fund : K-CASH)
  • กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส (K-FIXEDPLUS-A)
  • กองทุนเปิดเค เอเชีย แปซิฟิก บอนด์ (K-APB)
  • กองทุนเปิดเค หุ้นกู้ (K Corporate Bond Fund : K-CBOND)
  • กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM)

พอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ของแบบประกันชีวิตควบการลงทุน

  • ความเสี่ยงต่ำ : ลงทุนในตราสารหนี้ 80%
  • ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ : ลงทุนในตราสารหนี้ 70%
  • ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง : ลงทุนในตราสารหนี้ 60%
  • ความเสี่ยงสูง : ลงทุนในตราสารหนี้ 40%
  • ความเสี่ยงสูงมาก : ลงทุนในตราสารหนี้ 20%

หากสนใจกองทุนรวมตราสารหนี้ที่แนะนำในแบบประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิต ติดต่อได้ทางเพจหรือว่าไลน์ได้เลยครับ

รวมซีรีย์บทความการลงทุน

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713