หลายคนคงรู้ว่าปัจจุบันนี้การฝากเงินไว้ในธนาคารอย่างเดียวอาจจะไม่ช่วยให้เงินงอกเงยแล้ว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากที่สำคัญน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วย ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 0.25-1.5% และ ดอกเบี้ยฝากประจำหรือบัญชีพิเศษอยู่ที่ประมาณ 2.0% แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าเงินเฟ้อในแต่ละปี นั่นแปลว่าถ้าเราฝากเงินทิ้งไว้ในธนาคารแม้จะได้ดอกเบี้ย แต่เงินก็มีมูลค่าลดลงอยู่ดี

วันนี้ผมจะมาแนะนำตราสารทางการเงินซึ่งเป็นช่องทางการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินไว้ในธนาคารให้เป็นไอเดียกับคนที่สนใจลงทุน ซึ่งตราสารทางการเงินคือการลงทุนรูปแบบหนึ่งประกอบด้วย ตราสารหนี้ ตราสารทุน กองทุนรวม ฯลฯ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่างกันและได้ผลตอบแทนต่างกันด้วย ก่อนที่เราเราจะลงทุนในตราสารแบบไหนอยากลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนะครับ

ตราสารหนี้

ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าของ โดยผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้และผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้ ตัวอย่างตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้

  1. ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง
  2. ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย
  3. ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ OR จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตราสารหนี้

__________________________

ตราสารทุนและหุ้นสามัญ

ตราสารที่ผู้ออกต้องการระดมทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ซื้อหรือผู้ถือ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วม กับกิจการนั้นๆ มีส่วนได้ ส่วนเสียเมื่อกิจการได้หรือเสียประโยชน์ และได้ผลตอบแทนเป็นเงินปันผลโดยเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อนละ  10%  ประกอบด้วย

  1. หุ้นสามัญ (Common Stock) ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อให้ประชาชนหรือคนทั่วไปมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ร่วมลงคะแนนเสียง โดยสิ่งที่ได้ตอบแทนเรียกว่าเงินปันผล
  2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) ออกโดยบริษัทเอกชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเหมือนหุ้นสามัญ แตกต่างกันตรงที่ถ้าบริษัทเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้เงินทุนคือก่อนผู้ที่ถือหุ้นสามัญและได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่
  3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) คือเอกสารการจองสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือตราสารอนุพันธ์ ในราคาตามใบจองสิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนด
  4. ใบคำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW) คือตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อ หรือขายหลักทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้น โดยใช้สิทธิตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยบริษัทผู้ออกเป็นผู้กำหนด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตราสารทุนและหุ้นสามัญ

กองทุนรวม

กองทุนรวม คือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมากๆ ที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุนไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามประเภทของกองทุนและนโยบายของกองทุนนั้นๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารกองทุนให้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะนำมาปันผลให้กับผู้ที่ถือกน่วยลงทุนหรือผู้ที่ซื้อกองทุน (กองที่มีนโยบายปันผล) แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายปันผลก็จะสะสมกำไรไว้ทำให้เงินในกองทุนเพิ่มขึ้น

การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน โดยการแบ่งกองทุนรวมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้

แบ่งตามการไถ่ถอนคืน

    • กองทุนเปิด (Opened – End Fund)
    • กองทุนปิด (Closed – End Fund)

แบ่งตามนโยบายการลงทุน

    • กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) :
    • กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) :
    • กองทุนรวมผสม (Mixed Fund)
    • กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund)
    • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund)
    • กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds)
    • กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (Fund of Funds)
    • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)
    • กองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund)
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
    • กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวม

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาตราสารประเภทต่างๆ มีใครที่เพิ่งรู้จักตราสารพวกนี้หรือใครที่ลงทุนในตราสารพวกนี้มาก่อนแล้วบ้าง ตอนนี้ผลตอบแทนเป็นยังไงกันบ้างครับ

รู้แบบนี้แล้วลองเปลี่ยนจากฝากเงินทิ้งไว้ในธนาคารมาเป็นลงทุนในตราสารต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ควรจะได้กันนะครับ เพราะตราสารประเภทต่างๆมีให้เลือกลงทุนเยอะมากที่สำคัญอย่าลืมทำแบบทดสอบก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน

รวมซีรีย์บทความการลงทุน

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713