สวัสดีนัก (อยาก) ลงทุนทุกคนครับ ตั้งแต่ที่ผมได้เล่าเรื่องกองทุน 2-3 กองที่ผมได้ลงไป ก็มีหลายๆ คนสอบถามเข้ามาคำถามส่วนใหญ่จะบอกว่าอยากลงทุนช่วยให้แนะนำว่า กองทุนไหนดี แต่…. การลงทุนไม่เหมือนเงินฝาก เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง กองทุนนึงเหมาะกับคนนึง แต่อาจะไม่เหมาะกับอีกคนนึง มันต้องดูปัจจัยหลายๆ ด้วยครับ เช่น เป้าหมายการลงทุน ความเสี่ยงที่รับได้ ผลตอบแทนที่ต้องการ ระยะเวลาที่ลงทุน ถึงจะบอกได้ว่ากองไหนจะเหมาะสม

สำหรับคนที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนในกองทุนรวมเลย ผมได้เขียนบทความซีรีย์การลงทุนรวบรวมไว้แล้วตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักว่ากองทุนรวมคืออะไร มีกี่ประเภท ความเสี่ยงแบบไหน ลงทุนยังไงดี ลอเข้าไปอ่านกันได้นะครับ

ปัญหาอีกอย่างหนึงที่เจอคือหลายคนอยากลงทุนแต่ยังไม่เข้ารู้ว่าจะจัดพอร์ตการลงทุนยังไงเพราะไม่มีผู้แนะนำการลงทุนให้คำปรึกษา ต้องซื้อกองทุนไหนบางที่ได้ผลตอบแทนดี เงินลงทุนไม่เยอะแต่อยากลงหลายกองจะทำยังไงถ้าเป็นประกันชีวิตควบการลงทุนของเมืองไทยประกันชีวิตนั้น เรามีพอร์ตสำเร็จรูปที่ทางผู้เชียวชาญได้จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกและมีกองทุนเด่นแนะนำอยู่แล้ว แต่ใครที่จะซื้อกองทุนเองข้างนอกยังไม่มีความรู้เรื่องการจัดพอร์ต บทความนี้มีคำตอบครับ

ลงทุนในกองทุนรวม

ปกติแล้วการลงทุนในกองทุนรวมเราเลือกได้เลยว่าต้องการลงทุนในประเภทกองทุนแบบไหนตามความเสี่ยงที่เรารับได้ (จากการทำแบบประเมินความเสี่ยง) เช่น ความเสี่ยงต่ำ 1-2 ก็อาจจะลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ แต่ไม่ใช้ว่าเราจะลงทุนในกองทุนรวมผสม กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมต่างประเทศไม่ได้นะครับ อาจจะลงทุนได้ในสัดส่วนที่น้อยลง หรือถ้าอยากลงทุนในต่างประเทศก็อาจจะแบ่งมาลงทุนแบบแหละครับเรียกว่าการจัดพอร์ต การจัดพอร์ตการลงทุนก็คือการกระจายการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ ตามความเสี่ยงที่เรารับได้นั่นเอง

ปัญหาการจัดพอร์ตการลงทุน

ถ้าเราเป็นลูกค้ารายย่อยมากๆๆๆ ไม่ได้มีเงินเยอะหลักแสน หลักล้านก็อาจจะไม่มีผู้แนะนำการลงทุนมาช่วยวางแผนการลงทุนและจัดพอร์ตให้ เราต้องจัดพอร์ตของตัวเองว่ากองทุนที่เราลงไปนั้นเป็นสัดส่วนเท่าไหร่แล้ว แต่ไม่ต้องกลัวเพราะในแอพของ บลจ. ต่างๆ ก็จะมีแนะนำให้ครับ เช่นของ บลจ.กสิกรจะมีบอกว่าพอร์ตแนะนำของเราควรมีสัดส่วนหลักทรัพย์เป็นเท่าไหร่ และตอนนี้เราลงไปตามสัดส่วนหรือไม่ และที่สำคัญปัญหาเรื่องการจัดพอร์ตการลงทุนของเราจะหมดไปเมื่อเราเลือกกองทุนรวม K-FIT

K-FIT คืออะไร

เมื่อเราลงทุนนอกจากจะต้องจัดพอร์ตหรือสัดส่วนการลงทุนตามความเสี่ยงแล้ว เรายังต้องมาเลือกกองทุนเอง เรียกว่าเป็นการทำงานสองรอบ แต่ K-FIT ช่วยให้เราลงทุนง่ายขึ้นเพราะมีให้เลือกถึง 4 แบบบบตามความฟิตหรือเป้าหมายผลตอบแทนว่าเราต้องการประมาณเท่าไหร่ เจ้า K-FIT แต่ละแบบก็จะจัดสัดส่วนลงทุนในกองทุนต่างๆ ให้อีกที แบ่งเป็น 4 กองดังนี้

K-FITS : ที่เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด (ต่อปี) 3% เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ประกอบด้วยกองทุนดังนี้

  • ตราสารหนี้ระยะสั้น 49%
  • ตราสารหนี้ระยะกลาง/ยาว 13%
  • หุ้นต่างประเทศ 13%
  • หุ้นไทย 12%
  • สินทรัพย์ทางเลือก 10%
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศ 3%

K-FITM : ที่เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ

อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด (ต่อปี) 5.5% เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วยกองทุนดังนี้

  • หุ้นต่างประเทศ 30%
  • หุ้นไทย 27%
  • ตราสารหนี้ระยะสั้น 25%
  • สินทรัพย์ทางเลือก 10%
  • ตราสารหนี้ระยะกลาง/ยาว 7%
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศ 1%

K-FITL : ที่เน้นการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด (ต่อปี) 7% เน้นการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก ประกอบด้วยกองทุนดังนี้

  • หุ้นต่างประเทศ 76%
  • สินทรัพย์ทางเลือก 8%
  • ตราสารหนี้ระยะกลาง/ยาว 5%
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศ 8%
  • ตราสารหนี้ระยะสั้น 2%
  • หุ้นไทย 1%

K-FITXL : ที่เน้นการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ

อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด (ต่อปี) 8.5% เน้นการลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ ประกอบด้วยกองทุนดังนี้

  • หุ้นต่างประเทศ 86%
  • สินทรัพย์ทางเลือก 5%
  • ตราสารหนี้ระยะกลาง/ยาว 3%
  • ตราสารหนี้ต่างประเทศ 3%
  • ตราสารหนี้ระยะสั้น 2%
  • หุ้นไทย 1%

K-FIT บริหารการลงทุน 2 ชั้น

ปกติการลงทุนในกองทุนรวมที่เรามักจะเห็นจากนโยบายการลงทุน มีอยู่หลักๆ 2 แบบคือ
กองทุนนั้นซื้อหลักทรัพย์หรือลงทุนโดยตรงซึ่งแต่ละกองทุนก็จะมีนโยบาบการลงทุนตามประเภท เช่น กองทุนรวมตราสารทุน K-Value นำเงินไปซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โดยตรงเช่น หุ้นของ ปตท. หรือ หุ้นของ AIS หุ้นของ SCG กองทุนรวมตราสารหนี้ K-CBOND ก็จะลงทุน พันธบัตร เงินฝาก หรือหุ้นกู้ แต่ละกองก็จะมีผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการให้

อีกแบบคือกองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วยลงทุนอีกที (Fund of Fund) กองทุนรวมประเภทนี้ที่เราเจอบ่อยเช่นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เช่น K-CHINA จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่ลงทุนในจีน ไม่ได้ไปซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์โดยตรง K-CHINA หรือกองทุนรวม K-EUROP จะซื้อหน่วยลงทุนของ ALLIANZ EUROPE EQUITY GROWTH FUND. CLASS AT-EUR () ไม่ได้ไปซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนโดยตรง โดยมีผู้จัดการกองทุนดูแลให้และกองทุนที่ไปลงทุนก็มีผู้จัดการกองทุนดูแลให้อีกที

สำหรับกองทุนรวม K-FIT ถือว่าพิเศษมาก เพราะเป็นการลงทุนแบบ 2 ชั้นนั้นก็คือ กองทุนรวม K-FIT คล้ายกับกองทุนรวมต่างประเทศ แต่ละกองมีผู้จัดการกองทุนดูแลอยู่และไปเลือกซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นอีกตามที่สรุปด้านบน ซึ่งแต่ละกองทุนก็มีผู้จัดการกองทุนรวมดูและอยู่แล้ว ทำให้มั่นเรืองของการบริหารจัดการที่มากขึ้นเพราะผ่านการคัดแล้วรอบแรกและคัดอีกรอบใน K-FIT

รายละเอียดกองทุนรวม K-FIT

K-FIT ตอบโจทย์อะไรบ้าง

  • ไม่ต้องจัดพอร์ตให้เสียเวลาเพราะว่ากองทุนรวม K-FIT ได้จัดมาให้เลือกแล้วถึง 4 แบบซื้อครั้งแรกลงทุนยาวๆ ไปได้เลยหรืออยากเปลี่ยนกองทุนก็สับเปลี่ยนได้
  • มีให้เลือกหลายแบบตามความฟิต (ผลตอบแทนที่ต้องการ) ของเราได้ เช่น ฟิตมาก/รับความเสี่ยงได้สูงอยากได้ผลตอบแทนสูงก็เลือก K-FITXL ถ้าฟิตน้อย/รับความเสี่ยงได้น้อยเลือก K-FITS ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
  • จะเห็นว่ากองทุนรวม K-FIT จะลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ อีกที แต่กระจายการลงทุนตามสัดส่วนทำให้การลงทุนครั้งเดียวสามารถลงได้หลายกองเช่น หลายกอง ตราสารหนี้ หุ้นไทย (K-VALUE), หุ้นต่างประเทศ น้ำมันหรือทองคำ
  • ปรับพอร์ตการลงทุนให้อัตโนมัติตามสภาวะตลาด

คำเตือนสำหรับมือใหม่

  • กองทุนรวมไม่ใช่เงินฝากไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ทันที การถอนมีระยะเวลาตามนโยบายของกองทุนซึ่งจะมีบอกไว้ใน หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet)
  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นอย่าลืมทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนเลือกกองทุนที่จะลงทุน
  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต