ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสารให้พร้อม
- บัตรประชาชน (เพื่อดูเลขหลังบัตร)
- เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (ทวิ 50) ทุกช่องทางรายได้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
- จำนวนภาษีที่ถูกหักไว้ของแต่ละช่องทางรายได้
- รายการลดหย่อนส่วนตัว เช่น คู่สมรส, บิดา มารดา, ผู้พิการ, ค่าคลอดบุตร
- เอกสารค่าลดหย่อน เช่น เบี้ยประกัน, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวม (SSF/RMF) อื่นๆ
ขอแนะนำว่าให้ทำตาราง Excel และนำรายได้ทั้งหมด และค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ไปเติมก่อนเพราะบางท่านอาจจะมีหลายได้หลายแหล่ง ในแบบฟอร์มกรอกรายได้ของสรรพากรจะให้กรอกรายได้รวม ถ้าเป็นตัวเลขที่ไม่ลงตัว เช่น บริษัทแรกรายได้ 567,890 บริษัทที่ 2 มีรายได้ 123,000 บาท ถ้ากดบวกเองในเครื่องคิดเลขอาจจะกดผิดได้
สำหรับค่าลดหย่อนก็ให้รวมด้วยเหมือนกัน เช่น บางท่านอาจจะมีประกันชีวิตหลายเล่มก็ต้องนำมารวมกันเป็นยอดเดียว เพราะฉะนั้นเติมตัวเลขใน Excel และรวมค่าออกมาจะชัวร์กว่า
ขั้นตอนที่ 2 ยืนยันตัวตนและตรวจสอบข้อมูล
- หลังจากที่เตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เข้าไปเว็บไซต์ของ สรรพากร เลือก “ยื่นออนไลน์” หน้าเว็บจะแสดงระบบ E-FILING เพื่อให้กรอกข้อมูล เลือก “ยื่นแบบออนไลน์”
- กรอกข้อมูลเข้าใช้งาน โดยหมายเลขผู้ใช้คือ “เลขประจำตัวประชาชน” และรหัสผ่าน ถ้าจำระหัสผ่านไม่ได้ให้กด “ลืมรหัสผ่าน”
- ยืนยันตัวตนอีกรอบโดยกด “ขอรหัส OTP” ระบบจะส่งไปเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้กับสรรพากร
- เลือกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอาชีพของเรา โดยตัวอย่างนี้จะเป็นการยื่นแบบ “ภ.ง.ด. 90/91” เป็นการยื่นภาษีของคนที่ทำงานมีรายได้ประจำจากเงินเดือน 40(1) และ คนที่มีรายได้จากค่าคอมมิชชั่น 40(2)
- หลังจากเลือกยื่นแบบแล้วจะมีให้กรอก “Laser ID หลังบัตรประชาชน”
- ถ้าเรากรอก Laser ID และ “ตรวจสอบข้อมูล” ระบบจะถึงข้อมูลบางส่วนมาให้ เช่น เบี้ยประกันที่บริษัทประกันส่งให้สรรพากร หรือ เงินบริจาค
- ถ้าเราเลือก “ไม่ต้องการ” จะเป็นการกรอกข้อมูลเอง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความถูกต้องของผู้ยื่นภาษี
- ตรวจสอบ ชื่อ-สกุล ที่อยู่ของผู้ยื่น
- เลือกสถานภาพผู้ยื่นภาษีว่าต้องการยื่นร่วมกับคู่สมรสหรือว่ายื่นแยก
ขั้นตอนที่ 4 กรอกข้อมูลเงินได้
- กรอกข้อมูลเงินได้แต่ละประเภทที่ได้รับในปี 2564 โดยเลือกประเภทเงินได้ที่ตรงกับรายได้องตัวเองโดยมี 8 ประเภท (ดูรายละเอียดประเภทเงินได้)
ขั้นตอนที่ 5 กรอกค่าลดหย่อน
- เติมรายการลดหย่อนที่เรามีโดยจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม
- กลุ่ม 1 ค่าลดลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- กลุ่ม 2 ค่าลดหย่อน/ ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน
- กลุ่ม 3 ค่าลดหย่อน/ ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายของรัฐ
- กลุ่ม 4 เงินบริจาค
ขั้นตอนที่ 6 ตรวจสอบข้อมูล
- หลังจากที่กรอกข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้วระบบจะคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเงินภาษีที่บริษัทหักไว้เกินคืนมา ให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง
- สามารถเลือกจ่ายภาษีแบบผ่อนชำระได้ โดยจะผ่อนได้สูงสุด 3 เดือน ระบบจะคำนวณให้เลยว่าต้องจ่ายครั้งละเท่าไหร่ ทุกวันที่ไหนบ้าง
ขั้นตอนที่ 7 ยืนยันการยื่นแบบ
- ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการยืนยันการยื่นแบบจะออกมาเป็นเอกสาร “แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90” ตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันการยื่นแบบ
- ตรวจสอบรายละเอียดและจ่ายภาษีงวดแรกในช่องทางที่เราสะดวกได้เลยโดยจ่ายช้าสุดวันที่ “8 เมษายน 2565”
- ถ้ายังไม่สะดวกจ่ายภาษีตอนนี้สามารถกลับมาจ่านทีหลังได้โดยเข้าระบบเหมือนขั้นตอน 1-2 และเลือกเมนู “ชำระภาษี”
- หากต้องการดูเอกสาร “แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90” สามารถเข้ามาดูอีกครั้งได้โดยเข้าระบบเหมือนขั้นตอน 1-2 และเลือกเมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ”
วางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกันสะสมทรัพย์และสุขภาพ
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมสั้น จบไว (เมืองไทย เอ็กตร้า เซฟวิ่ง 15/5)
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมยาว ไม่ต้องหาแผนลดหย่อนบ่อยๆ มีเงินคืนทุกปี (เมืองไทยซุปเปอร์เซฟเวอร์ 25/16)
- ประกันลดหย่อนภาษี ออมหลักแสน ผลตอบแทนหลักล้าน (เมืองไทย รีไทร์เมนท์ พลัส 60)
- ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ได้ค่ารักษาเหมาจ่าย 5 ล้านบาทต่อครั้ง