ในทุกๆ ปีนอกจากเราทุกคนจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีการทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์และประกันแบบบำนาญแล้ว ยังมีสิทธิอื่นๆ ที่เราสามารถลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้อีก เช่น กองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มาดูความแตกต่างระหว่างกองทุนทั้ง 2 ประเภทกันเลย

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

  • SSF ย่อมาจากคำว่า Super Savings Fund ชื่อภาษาไทยคือ “กองทุนรวมเพื่อการออม” เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
  • ลงทุนได้หลายประเภทเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ซึ่งมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น หุ้นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทเอกชน หน่วยของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) หน่วยของกองทุนอสังหาริมทรัพย์(Property Fund) รวมถึงกองทุนต่างประเทศ
  • ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออม เพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท  เช่น
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
    • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
    • ประกันแบบบำนาญ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

  • RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fund ชื่อภาษาไทยคือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมเพื่อสนับสนุนให้คนไทยเก็บออมระยะยาวเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ คล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ของเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของข้าราชการ
  • ลงทุนได้หลากหลายตามความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนรับได้ มีความเสี่ยงตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนสูง เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน หุ้น สามารถสลับกองทุนได้ แต่ไม่สามารถขายหน่วยลงทุนได้ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ก็ต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย เช่น
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
    • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
    • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
    • ประกันแบบบำนาญ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure