กองทุนรวม คือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมากที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุนไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามประเภทของกองทุนและนโยบายของกองทุนนั้นๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารกองทุนให้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะนำมาปันผลให้กับผู้ที่ถือกน่วยลงทุนหรือผู้ที่ซื้อกองทุน (กองที่มีนโยบายปันผล) แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายปันผลก็จะสะสมกำไรไว้ทำให้เงินในกองทุนเพิ่มขึ้น

ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม

  • สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนน้อย
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องลงทุน
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ
  • มีมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ดูแลให้
  • มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายบริษัทหรือหลายประเภทสินทรัพย์

ประเภทกองทุนรวม

การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน โดยการแบ่งกองทุนรวมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้

แบ่งตามการไถ่ถอนคืน

    • กองทุนเปิด (Opened – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุโครงการไว้หรือไม่กำหนดก็ได้ เมื่อกองทุนมีการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ไปแล้ว ก็ยังสามารถซื้อได้อยู่  การขายกองทุนก็สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆ เช่น ก่อนเวลา 15.30 น. จะได้เงินเมื่อผ่านไป T+1 วัน
    • กองทุนปิด (Closed – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุไว้ ไม่สามารถซื้อระหว่างที่กองทุนยังดำเนินการอยู่ หรือว่าขายกองทุนก่อนครบกำหนดได้

แบ่งตามนโยบายการลงทุน

    • กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นหรือเงินฝากอายุไม่เกิน 1 ปี มีความเสี่ยง/ผลตอบแทนต่ำ และมีความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุนน้อย เช่น เงินฝาก, ตราสารหนี้ประเภท พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง
    • กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) : กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน
    • กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) : กองทุนที่กระจายการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามสัดส่วนของแต่ละกองทุน เช่นลงทุนในตราสารหนี้ 70% ลงทุนในตราสารทุน 30% ในตราสารหนี้ก็อาจจะกระจายลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ตามนโนบายของกองทุน เช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วเงินคลัง,หุ้นกู้
    • กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) : กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทุนเช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น  มีข้อดีคือกองที่ซื้อสามารถกระจายการลงทุนได้ในหุ้นหลายบริษัท ช่วยลดความเสี่ยงได้
    • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) : กองทุนที่นำเงินลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างประเทศหรือกองทุนในต่างประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตของเงินและสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น 
    • กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) : กองทุนที่นำเงินลงทุนไปลงทุนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นอีกที เช่นกองทุนรวมต่างประเทศ บลจ.อาจจะไม่ได้ลงทุนในสินทรัพย์โดยตรงแต่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เปิดขายอีกที
    • กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (Sector Fund) : กองทุนรวมที่ลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเพียงบางหมวด เช่น หมวดธนาคาร หมวดพลังงาน หมวดเทคโนโลยี 
    • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) : กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า อยากเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Funds)” 
    • กองทุนรวม ETF (Exchange Traded Fund) : กองทุนที่ซื้อขายหน่วยลงทุนได้เสมือนหุ้น โดยนโยบายการลงทุนจะใกล้เคียงดัชนีอ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ สามารถซื้อหรือขายได้ในราคาและเวลาที่ต้องการได้แบบ Real Time โดยไม่จำเป็นต้องรอ NAV ของกองทุน ณ สิ้นวันทำการเหมือนกองทุนประเภทอื่น​
    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : กองทุนส่งเสริมการออมไว้สำหรับยามเกษียณโดยใชัสิทธิลดหย่อนภาษีได้ และมีนโยบายการลงทุนที่หลากให้เลือกเช่น ตลาดเงิน ตราสารหนี้ ตราสารทุน
    • กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) : กองทุนที่เน้นการออมเพื่อลดหย่อนภาษี ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท ออกมาแทน LTF ที่ปิดไป

ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม

การลงทุนในกองทุนรวมจะต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อน (เฉพาะครั้งแรกที่ลงทุนเท่านั้น) โดยแบบประเมินความเสี่ยงจะบอกว่าเราเหมาะกับกองทุนรวมประเภทไหนและควรกระจายการลงทุนในกองทุนแต่ละประเภทสัดส่วนเท่าไหร่ มาดูว่ากองทุนประเภทต่างๆ มีความเสี่ยงระดับไหนกันบ้าง

  • ความเสี่ยงระดับ 1 : กองทุนรวมตลาดเงิน
  • ความเสี่ยงระดับ 2-4 : กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้
  • ความเสี่ยงระดับ 5 : กองทุนรวมผสม
  • ความเสี่ยงระดับ 6 : กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศและต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงระดับ 7 : กองทุนหมวดอุตสาหกรรม เช่น ธนาคาร พลังงาน เทคโนโลยี
  • ความเสี่ยงระดับ 8 : กองทุนรวมในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ น้ำมัน

ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน

การลงทุนในกองทุนรวมจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 2 แบบคือ

  • เงินปันผลจากการลงทุน เช่น กองทุนไหนมีกำไรการลงทุนก็จะมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน โดยจะต้องดูนโยบายการลงทุนด้วยว่ามีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ ถ้ามีการจ่ายเงินปันผลก็จะถูกหักภาษี 10%
  • กำไรจากการขายหน่วยลงทุน เช่น ซื้อกองทุนรวมมาในวันที่ 1 ราคา 10 บาท/หน่วย วันนี้มูลค่าหน่วยลงทุนราคา 15 บาทต่อหน่วย ถ้าเราขายก็จะได้กำไรจากส่วนต่างราคา 5 บาทต่อหน่วย แต่ถ้าวันนี้มูลค่าหน่วยลงทุนราคา 8 บาทต่อหน่วยแล้วเราขายก็จะขาดทุน

มูลค่าหน่วยลงทุน

NAV คือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน คำนวณจาก
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) = มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด + ผลตอบแทน + เงินสด – ค่าใช้จ่าย

เรามักจักเห็นมูลค่าของ NAV ต่อหน่วยของแต่ละกองทุน เช่นกองทุนนี้ NAV 10.1 บาทซึ่งคำนวณมาจาก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) หารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนนั่นเองครับ

โดยค่า NAV นี้จะบอกว่ากองทุนที่เราซื้อนั้นเติบโตหรือไม่ เช่น วันที่ซื้อกองทุนมูลค่า NAV ราคา 15 บาท/หน่วย แต่วันนี้มูลค่า NAV ราคา 20 บาท/หน่วย ซึ่งเพิ่มมา 5 บาทต่อหน่วย นั้นก็คือหน่วยลงทุนเติบโตขึ้น และถ้าเราขายก็จะได้กำไร หรือ วันที่ซื้อ NAV ราคา 15 บาท/หน่วย แต่วันนี้มูลค่า NAV ราคา 10 บาท/หน่วย ถ้าเราขายก็จะขาดทุน ซึ่ง NAV นอกจากจะใช้คำนวณว่าเรากองทุนเรามีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้ว ยังใช้เป็นราคาซื้อและขายของกองทุนอีกด้วย

ความเสี่ยงในการลงทุน

  • ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Credit Risk) กรณีที่ผู้ออกตราสารนี้จะไม่จ่ายเงินคืนให้กับผู้ลงทุนตามกำหนดที่แจ้งไว้ (ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดย ออกโดยกระทรวงการคลัง มีความเสี่ยงประเภทนี้น้อยกว่าหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน)
  • ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)  ตราสารหนี้เป็นตราสารที่จ่ายดอกเบี้ยให้แน่นอน แต่ถ้าดอกเบี้ยของธนาคารเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารหนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยในทิศทางตรงกันข้าม
  • ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือไม่สามารถขายตราสารหนี้ในราคาและเวลาที่ต้องการได้
  • ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดโดยรวม (Market Risk)​ คือความผันผวนของราคาหุ้นจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง
  • ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนกรณีเป็นการลงทุนต่างประเทศ (Foreign Exchange Risk) จะเกิดขึ้นกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เพราะเมื่อค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงก็ส่งผลให้ หลักทรัพย์ต่าง ๆ ลงทุนมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

กองทุนรวมในแบบประกันชีวิตควบการลงทุน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากทำประกันชีวิตเพื่อเป็นมรดกไว้ให้คนที่รัก อยากทำประกันสะสมทรัพย์ไว้เพื่อออมเงินหรือลงทุน แต่ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แบบเดิมๆ อาจจะได้ผลตอบแทนไม่ตรงกับที่ต้องการและอยากลงทุนในกองทุนรวมควบคู่ไปด้วย สามารถความคุ้มครองแบบใหม่ที่ได้ทั้งประกันชีวิตและการวางแผนการลงทุนในกองทุนรวม  จากแบบประกันชีวิตควบการลงทุนของเมืองไทยประกันชีวิต โดยมีกองทุนรวมทุกประเภทกว่า 50 กองทุน ดังนี้ครับ

กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้

    • กองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K Cash Management Fund : K-CASH)
    • กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส (K-FIXEDPLUS-A)
    • กองทุนเปิดเค เอเชีย แปซิฟิก บอนด์ (K-APB)
    • กองทุนเปิดเค หุ้นกู้ (K Corporate Bond Fund : K-CBOND)
    • กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลคอลเล็คทีฟสมาร์ทอินคัม (KF-CSINCOM)

กองทุนรวมผสม

    • กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ ชนิดยูนิตลิงค์
    • กองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม-A (K-GINCOME-A(A))
    • กองทุนเปิดเค ไลฟ์สไตล์ 2500 (K Lifestyle Fund 2500 : K-2500)
    • กองทุนเปิดเค ไลฟ์สไตล์ 2510 (K Lifestyle Fund 2510 : K-2510)
    • กองทุนเปิดเค ไลฟ์สไตล์ 2520 (K Lifestyle Fund 2520 : K-2520)
    • กองทุนเปิดเค ไลฟ์สไตล์ 2530 (K Lifestyle Fund 2530 : K-2530)
    • กองทุนเปิดเค สตราทีจิค โกลบอล มัลติ-แอสเซ็ท (K Strategic Global Multi-Asset Fund : K-SGM)
    • กองทุนเปิดเค ฟิต แอลโลเคชั่น S (K FIT Allocation S Fund : K-FITS)
    • กองทุนเปิดเค ฟิต แอลโลเคชั่น M (K FIT Allocation M Fund : K-FITM)
    • กองทุนเปิดเค ฟิต แอลโลเคชั่น L (K FIT Allocation L Fund :K-FITL)
    • กองทุนเปิดเค ฟิต แอลโลเคชั่น XL (K FIT Allocation XL Fund : K-FITXL)
    • กองทุนเปิดเค หุ้นทุนบริพัตร (K Flexible Equity Fund : K-FEQ)
    • กองทุนเปิดเค แพลน 2 (K-PLAN2)
    • กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเจริญทรัพย์ (KFSMUL)
    • กองทุนเปิดเค Property Infra Flexible (K-PROPI)
    • กองทุนเปิดเค แพลน 3 (K-PLAN3)

กองทุนรวมตราสารทุนในประเทศ

    • กองทุนเปิดทหารไทย SET50 (TMB50)
    • กองทุนเปิดเค สตาร์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า (K-STAR-A(A))
    • กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด สยาม ลีดเดอร์ส (Aberdeen Standard Siam Leaders Fund : ABSL)
    • กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด โกรท (Aberdeen Standard Growth Fund : ABG)
    • กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด สมอล แค็พ (Aberdeen Standard Small Cap Fund : ABSM)
    • กองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 (1AMSET50-RU)
    • กองทุนเปิดกรุงศรี หุ้นปันผล (Krungsri Dividend Stock Fund : KFSDIV)
    • กองทุนเปิดเค หุ้นปันผล (K Valued Stock Fund : K-Value)

กองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ

    • กองทุนเปิดเค ยูเอสเอ หุ้นทุน (K USA Equity Fund : K-USA-A(D)
    • กองทุนเปิดเค ยูโรเปียน หุ้นทุน (K European Equity Fund : K-EUROPE)
    • กองทุนเปิดเค ไชน่า หุ้นทุน-A ชนิดจ่ายเงินปันผล (K China Equity Fund-A(D) : K-CHINA-A(D))
    • กองทุนเปิดเค โกลบอล อิควิตี้ (K GLOBE: K-GLOBE)
    • กองทุนเปิดเค โกลบอล เฮลท์แคร์ หุ้นทุน (K Global Healthcare Equity Fund : K-GHEALTH)
    • กองทุนเปิดเค ญี่ปุ่น หุ้นทุน (K Japan Equity Fund : K-JP)
    • กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด เอเชีย แปซิฟิค เอคควิตี้ ฟันด์ (Aberdeen Standard Asia Pacific Equity Fund : ABAPAC)
    • กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้ ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม (PRINCIPAL GOPP-C)
    • กองทุนเปิดกรุงศรีไชน่าเอแชร์อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า (KFACHINA-A)
    • กองทุนเปิดเค ยูเอสเอ หุ้นทุน ชนิดสะสมมูลค่า (K-USA-A(A))
    • กองทุนเปิดทีเอ็มบี Global Infrastructure Equity (TMBGINFRA)
    • กองทุนเปิดเค อิควิตี้แอบโซลูทรีเทิร์น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (K-ART)
    • กองทุนเปิดวรรณ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ (ONE-UGG-RA)
    • กองทุนเปิด แอล เอช โกลบอล อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า (LHGEQ-A)
    • กองทุนเปิดทหารไทย Global Quality Growth (TMBGQG)

กองทุนรวมในสินทรัพย์ทางเลือก

    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ (ชนิดสะสมมูลค่า) (SCBGOLD)
    • กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม-ชนิดจ่ายปันผล (Principal Property Income Fund-Dividend Class : PRINCIPAL iPROP-D)
    • กองทุนเปิดทีเอ็มบี อีสท์สปริง พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ อินคัม พลัส เฟล็กซิเบิ้ล (TMBPIPF)
    • กองทุนเปิดทีเอ็มบี Global Property (TMBGPROP)
    • กองทุนเปิดเค โกลด์ (K Gold Fund : K-GOLD)

หากสนใจกองทุนรวมตราสารประเภทต่างๆที่แนะนำในแบบประกันชีวิตควบการลงทุนจากเมืองไทยประกันชีวิต ติดต่อได้ทางเพจหรือว่าไลน์ได้เลยครับ

รวมซีรีย์บทความการลงทุน

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713