ช่วงนี้เพื่อนๆ ที่ทำงานฟรีแลนซ์หรือพนักงานบริษัท ทักเข้ามาขอคำแนะนำในการวางแผนการออมเงินเยอะขึ้นกว่า พอได้สอบถามก็รู้ว่าที่ทำงานไม่ได้มีสวัสดิการการออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ จึงอยากหาตัวช่วยในการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ แต่ก่อนนะไปเลือกแผนการออม มาทำความรู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันก่อนดีกว่า
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร?
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนของบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม ให้พนักงานได้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณเรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งพนักงานเลือกสมัครหรือไม่เลือกสมัครก็ได้ แต่ถ้าเลือกสมัครก็จะมีสัดส่วนเงินสะสมให้เลือกว่าจะให้หักเงินจากเงินเดือนกี่เปอร์เซ็นต์ บริษัทหรือนายจ้างก็จะสมทบให้เท่ากับที่เราหักหรือมากกว่าเรียกว่า “เงินสมทบ”
เงินก้อนที่หักไปไม่ได้ทิ้งไว้เฉยๆ แต่จะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) คอยบริหารเงินให้ เพื่อนๆที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสังเกตว่าตอนสมัครจะมีให้เราเลือกสัดส่วนการลงทุนตามแผนที่บริษัทจัดให้ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปสูง ส่วนเงินสมทบจากบริษัทหรือนายจ้างก็สมทบให้ก็จะลงทุนตามแบบที่เราเลือกเช่นกัน ในทุกๆ เดือนหรือทุก 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับบริษัท) ก็จะมีเอกสารสรุปผลการดำเนินการของกองทุนมาให้ว่าผลตอบแทนของเงินที่เราสะสมเป็นยังไงบ้าง และผลตอบแทนของเงินสมทบจากบริษัทเป็นยังไงบ้าง (ถ้าใครจำไม่ได้ว่าเลือกแผนไหนก็ลองติดต่อฝ่ายบุคคลเพื่อดูความเสี่ยงที่เราทำไว้เพื่อผรับให้เหมาะสมใหม่ได้นะ)
ผมว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการลงทุนที่ได้เงินมาอีกเกือบเท่าตัวเพราะเราสะสมเงินไปจำนวนหนึ่งและบริษัทหรือนายจ้างก็สมทบให้อีกเท่าหนึง ซึ่งไม่มีการลงทุนแบบไหนที่ได้ผลตอบแทนแบบนี้อีกแล้ว นอกจากนี้ยังได้ผลตอบแทนจากเงินที่ถูกหักไปของเราที่เติบโตขึ้นอีกด้วย
มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดียังไง?
จุดประสงค์หลักของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือสวัสดิการที่บริษัทมีให้กับพนักงานเพื่อเป็นการออมไว้สำหรับเกษียณแต่ก็ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกเช่น
- ทำให้เรามีวินัยในการออม
เพราะบริษัทจะตัดเงินเดือนของเราเป็นเงินสะสมตามที่เราระบุไว้ก่อนที่จะโอนเงินเข้าบัญชีของเรา เป็นการสร้างวินัยในการออมเพราะเราได้ออมก่อนใช้ ถ้าหากให้เราเลือกออมเงินหรือนำไปลงทุนเองก็อาจจะออมบ้างไม่ออมบ้างได้ - ใช้ลดหย่อนภาษีได้
เงินสะสมที่ถูกหักทุกเดือนนอกจากจะได้เป็นการออม ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนและยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงของเงินที่ถูกหักไปด้วย - ได้เงินสมทบจากบริษัท
นอกจากเงินสะสมที่หักจากเงินเดือนเราทุกเดือนแล้วยังได้เงินสมทบจากบริษัทอีกด้วย ถ้าสมมติว่าเราให้หักเงินสะสมเดือนละ 1,500 บาททุกเดือนใน 1 ปีเราจะมีเงินออม 18,000 บาทและยังได้เงินสมทบจากบริษัทอีกตั้ง 18,000 บาทและอาจจะได้ผลตอบแทนจากการลุงทนอีกด้วย
เราจะได้เงินกองทุนคืนเมื่อใด
หลายคนที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคิดว่าจะต้องรอรับเงินคืนตอนเกษียญอย่างเดียวหรือไม่ คำตอบคือ…ไม่เสมอไป เพราะเราสามารถขายกองทุนหรือขอรับเงินสะสมคืนในกรณีอื่นๆได้ เช่น
- ลาออกจากงานหรือออกจากการเป็นสมาชิก
สำหรับการนำเงินออกมาจากกองทุน การขายกองทุน การลาออกจากสมาชิกกองทุน (ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทเรียก) หรือการลาออก ทางสรรพกรแจ้งว่าจะต้องนำมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อคิดภาษีในปีนั้นๆ ด้วย ส่วนเงินสมทบทุนจะได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท เช่นบางบริษัทจะให้เงินสมทบ 100% เมื่อเป็นสมาชิกครบ 5 ปี ถ้าน้อยกว่า 5 ปีก็ไม่ได้ บางบริษัทจะให้เงินสมทบ 100% ตั้งแต่ปีแรก บางบริษัทให้ 20% เมื่อทำงาน 1-5 ปี - เสียชีวิต
ถ้าเกิดเสียชีวิตระหว่างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทก็จะทำเรื่องขายคืนหน่วยลงทุนที่มีและผู้ที่เราระบุเป็นผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้เงินก้อนนั้นไป บางท่านอาจจะเป็นสมากชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานมานานแล้วจนลืมไปว่าวันแรกที่สมัครกรอกชื่อใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ ลองกลับไปเช็คให้ดีอีกครั้งนะครับ
และสามารถโอนย้ายกองทุน เมื่อเราเปลี่ยนที่ทำงานไปสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำงานใหม่ได้ หรืออาจจะโอนไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แต่ต้องศึกษาให้ดีเพราะอาจมีเงื่อนไขเรื่องภาษีมาด้วย
ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออมแบบไหนดี
อย่างที่เล่าไปข้างต้นว่าบางบริษัทไม่ได้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานหรืออาชีพฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้มีสวัสดิการบริษัท อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเก็บเงินยังไงไว้ใช้หลังเกษียญดี บางบริษัทไม่ได้มีสวัสดิกการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แต่ให้เงินเดือนพนักงานสูงเพื่อให้ไปหาช่องทางการออมเอง โดยมีช่องทางการออมอื่นๆ เช่น
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพื่อบำนาญ
สร้างสวัสดิการเพื่อรับเงินบำนาญแบบรายเดือนหรือรายปี
ตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจคือประกันแบบบำนาญที่ช่วยวางแผนการออมเงินให้มีเงินไว้ใช้หลังเกษียณโดยสามารถวางแผนการออมได้ทั้งแบบระยะสั้นหรือระยะยาว สามารถกำหนดเป้าหมายของเงินที่จะรับคืนได้ตั้งแต่วันนี้ว่าอยากได้เงินมาใช้เป็นรายปีหรือรายเดือน เดือนละเท่าไหร่ดี ดูรายละเอียดแผนออมเงินได้ที่นี่
===============
“ดูแลเงินของคุณอย่างมืออาชีพ”
ประสบการณ์ให้คำปรึกษามากว่า 1,000 เคสและลูกค้ากว่า 300 คน
เดชาธร ยะนันท์ (อู๋), ที่ปรึกษาประกันชีวิตและการเงิน
คุณวุฒิที่ปรึกษาการเงินและตัวแทนประกันชีวิตมาตรฐานสากล (MDRT) ปี 2022
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713