หลายคนคงมีปัญหากับบริหารเงินที่ได้มาด้วยเหตุผลที่ว่ามันมักจะใช้หมดก่อนสิ้นเดือน
ตัวผมก็เช่นกันเคยทดลองทำหลายวิธีทั้งการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแต่วันมัน
สิ้นเดือนก็มาสรุปดูว่ามีใช้จ่ายไปกับค่าอะไรบ้าง รายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกได้
พอเริ่มต้นเดือนใหม่จะได้ลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้นออกไป แต่ไม่นานก็ลืมและเผลอใช้เงินเหมือนเดิม
จนได้มาเจอหนังสือ “ไม่ชอบประหยัด ไม่ถนัดตัวเลข ก็รวยได้” เขียนโดย อัย อิจิอิ
หัวห้อ “จดสิ่งที่จะทำกับจำนวนเงินไว้คู่กัน” คุณอัยอิจิอิ ได้อธิบายว่า
สมุดที่ใช้จด สิ่งที่ทำและจดจำนวนเงินที่ใช้ทำกิจกรรมนั้นๆ ไว้คู่กันด้วย
โดยไม่จำเป็นต้องจดตัวเลขที่ถูกต้อง แต่ให้จดจำนวนคร่าวๆ
ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนว่าสัปดาห์นี้จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
เมื่อมีค่าใช้จ่ายใหม่เข้ามาจะทำให้เราควบคุมและเตือนตัวเองว่า สัปดาห์นี้มีรายจ่ายมากพอแล้ว
การจดสองอย่างนี้พร้อมกันช่วยให้ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะเห็นว่ารายจ่ายมีอะไรบ้างมีของชิ้นไหนที่อยากได้บ้าง
หากเกินงบประมาณที่มีให้เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำหรือของที่จะซื้อ
และตัดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปก่อนหรือเลื่อนไปเดือนหน้า
เมื่อผมลองนำวิธีนี้มาใช้โดยนำปฏิทินตั้งโต๊ะมาเพิ่มอีก 1 อัน
อันเก่าใช้จดกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวันที่ผ่านมาเพื่อจะได้กลับมาดูว่าวันไหนทำอะไรไปบ้าง
ส่วนอันใหม่ใช้จดกิจกรรมที่วางแผนจะทำพร้อมกับเงินที่จะใช้และของที่จะซื้อ
เช่น ต้องไปปาตี้กับเพื่อนวันศุกร์พร้อมกับเงินที่คิดว่าจะใช้
หรือจะไปซื้อของที่ซูปเปอร์มาเก็ตวันไหนตั้งงบประมาณไว้ที่เท่าไหร่
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ตต้องจ่ายวันไหนบ้างเป็นเงินเท่าไหร่
เราจะเห็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง
ส่วนค่าใช้จ่ายรองที่ตามมาก็ลองเช็คเงินที่เหลือว่าเพอหรือไม่
ถ้าไม่จำเป็นจะได้เลื่อนออกไปก่อน หากมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินเช่น ปาตี้รอบสอง
หรือการซื้อเสื้อผ้า ของใช้ที่ไม่จำเป็นจะได้เตือนตัวเองได้ว่างบประมาณตอนนี้พอหรือไม่
ลองนำวิธีนี้ไปใช้จนเป็นนิสัยดูนะครับแล้วจะเห็นว่าแต่ละเดือนเราจะมีเงินพอใช้แน่นอน