วันนี้อยากมาเล่ารายละเอียดการเลือกทำประกันบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณ กับกองทุนรวม rmf พร้อมกับเอาไปลดหย่อนภาษี จากคำถามที่ลูกค้าถามทาในเพจว่าจะเลือกแบบไหนดี แบบไหนเหมาะสมและคิดว่าคงจะมีอีกหลายท่านที่กำลังเปรียบเทียบอยู่กว่าแบบไหนถึงจะเหมาะ อู๋ขอเรียกประกันบำนาญและกองทุนรวม RMF ว่าเป็นสินค้านะครับ แต่เป็นสินค้าในหมวดการเงิน มาดูกันครับ
- สิ่งแรกที่ต้องรู้เลยก็เรื่องลดหย่อนภาษี คือทั้ง 2 ตัวลดหย่อนอยู่ในหมวดเดียวกัน ซึ่งหมวดนี้จะมีหลายอย่างด้วยกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กบข.,กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันบำนาญ ฯลฯ ซึ่งในหมวดนี้รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท
- มาเจาะลึกกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญกัน
ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ตัวจะลดหย่อนรวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาทแต่เค้าก็มีเงื่อนไขในแต่ละตัวอีก กองทุนรวม RMF ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี, ประกันบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้นจะต้องดูให้ดีด้วยถึงแม้ประกันบำนาญจะลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาทแต่มีกำหนดว่าห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีด้วย - เลือกอะไรดีระหว่างกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญ
สินค้าทุกตัวทั้ง 2 ตัวมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกันถ้าจะให้แนะนำว่าแบบไหนเหมาะกับใครก็อาจจะต้องดูความต้องการของแต่ละคนด้วยครับ เพราะแต่ละคนก็จะชอบไม่เหมือนกัน- กองทุนรวม RMF
- จุดเด่นคือนอกจากลดหย่อนภาษีได้แล้วยังมีโอกาสที่เงินของเราจะเพิ่มมากขึ้นจากการลงทุน ซึ่งกองทุนก็มีให้เลือกหลากหลายแบบทั้งลงทุนในหุ้น ตราสารนี้ ตลาดเงิน(เงินฝาก) ฯลฯ
- จุดด้อยก็คือ ผลตอบแทนทั้งไม่ได้การันตี อาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์หรือติดลบก็ได้ เมื่ออายุ 55 ปีหรือ60 ปีครบกำหนดขายกองทุนต้องดูว่าตอนนั้นการลงทุนเป็ายังไง กองทุนเติบโตได้กำไรหรือว่าติดลบขาดทุนอยู่
- ผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่า 10% ต่อปี หรือถ้าเป็นกองทุนที่ความเสี่ยงต่ำลงมาเช่น ตราสารหนี้ก็อาจจะได้ประมาณ 3-5% ต่อปี
- กรณีเสียชีวิตระหว่างที่ยังถือกองทุนอยู่ กองทุนก็จะถูกขายคืน (อาจจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ดูกัน ณ ตอนนั้น) และให้กับผู้รับประโยชน์ที่ระบุไว้หรือทายาท
- หากใครรับความเสี่ยงได้ ชอบลงทุน กองทุนรวม RMF ก็น่าสนใจครับ
- สรุปแบบสั้น จุดเด่นคือ ลดหย่อนภาษี+โอกาสได้เงินเพิ่มจากการเติบโตของกองทุน
- ประกันบำนาญ
- จุดเด่นคือการันตีผลตอบแทนที่แน่นอนว่าหลังเกษียณในแต่ละปีจะได้บำนาญเท่าไหร่ไม่ต้องมานั่งลุ้นและยังมีความคุ้มครองให้กรณีตาย ผู้รับประโยชน์ที่ระบุไว้ก็จะได้เงินประกันทั้งหมดไป ตามสัดส่วนที่ผู้ทำประกันจัดสรรให้
- จุดด้อย ผลตอบแทนไม่ได้สูงกว่าบางแบบอาจจะน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ จะเรียกวิธีการคำนวณว่า IRR เฉลี่ยประมาณ 2.5-3%
- กรณีเสียชีวิตระหว่างที่จ่ายเบี้ยประกันในแต่ละปี หรือจ่ายเบี้ยครบแล้วแต่สัญญายังทำงานอยู่ก็ยังมีความคุ้มครองด้วย หากหากเสียชีวิตก่อนรับบำนาญ คนที่ระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์ก็จะได้เงินก้อนนี้ไป บางแผนอาจจะเบี้ยประกันไม่สูงมาก แต่ได้เป็นทุนประกันหลักล้าน
- หากใครรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือไมชอบลุ้น ประกันกันบำนาญก็น่าสนใจครับ
- สรุปแบบสั้น จุดเด่นคือ ลดหย่อนภาษี + มีเงินก้อนหลักล้านให้คนข้างหลังกรณีตายก่อนรับบำนาญ
- กองทุนรวม RMF
- สำหรับส่วนตัวอู๋เองกังวลเรื่องทั้งเรื่องไม่มีบำนาญหลังเกษียญและเป็นห่วงพ่อแม่ เพราะเป็นลูกคนเดียวเป็นเสาหลักของที่บ้านที่บ้าน รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด กลัวว่าถ้าเราเป็นอะไรไปก่อน พ่อกับแม่จะไม่มีเงิน เลยเลือกทำเป็นประกับบำนาญและได้ความคุ้มครองเงินเป็นเงินก้อนด้วย ส่วนหนึ่งก็กระจายไปในกองทุนรวม RMF เพราะอยากให้เงินนั้นมากขึ้นจากการลงทุน
นอกจากเรื่องสินค้าที่ตัวเองชอบและตรงกับความต้องการแล้ว ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะออมหรือลงทุนก็เป็นสิ่งจำเป็น ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีและขอคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก็ได้ อีกหนึ่งอย่างคือการการจายการออมและการลงทุนก็เป็นอีกวิธีช่วงลดความเสี่ยงครับ เช่นความเสียงเรื่องผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของเงินจะได้น้อยกว่าเงินเฟ้อ ความเสี่ยงของชีวิตและทรัพย์สิน